SHARE

คัดลอกแล้ว

โรคฝีดาษวานร (MPox) หรือฝีดาษลิง เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในสัตว์ฟันแทะบนทวีปแอฟริกา แพร่เชื้อในสัตว์ด้วยกัน และแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนได้ พบโรคครั้งแรกจากลิงในห้องทดลอง จึงเรียกว่าฝีดาษลิง หรือฝีดาษวานร แต่ลิงไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของโรคแต่อย่างใด

โรคฝีดาษวานร พบได้ที่ไหน

โรคฝีดาษวานร พบมากในประเทศแถบแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตก ได้แก่ แคเมอรูน สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คองโก กาบอง ไลบีเรีย ไนจีเรีย และเซียร์ราลีโอน ในปี 2022 เริ่มมีการพบผู้ป่วยในทวีปอเมริกาเหนือ และยุโรปด้วยเช่นกัน โดยการพบผู้ป่วยในประเทศนอกเขตแอฟริกา เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล สิงคโปร์ และสหราชอาณาจักร มักเกิดจากการเดินทางระหว่างประเทศหรือการนำเข้าสัตว์ที่ติดเชื้อ

ล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา มีการระบาดของฝีดาษวานรเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในประเทศคองโก และแพร่กระจายสู่ประเทศใกล้เคียง องค์การอนามัยโลกจึงประกาศโรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขโลก ตั้งแต่วันที่ 14 ส.ค. เป็นต้นมา ตั้งแต่ต้นปี 2567 ที่ผ่านมา พบผู้ป่วยมากถึง 17,000 คน และมีผู้เสียชีวิตกว่า 500 คนใน 13 ประเทศในทวีปแอฟริกา

โรคฝีดาษวานร อันตรายแค่ไหน มีสายพันธุอะไรบ้าง

องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า ฝีดาษวานรไม่ใช่โรคใหม่แต่อย่างใด แต่เป็นโรคที่เคยระบาดมามากกว่า 20 ปี ฝีดาษวานรเกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus เช่นเดียวกับไวรัสอีกหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสที่ทำให้เกิดฝีดาษในคนหรือไข้ทรพิษ (variola virus) ไวรัสที่นำมาผลิตวัคซีนป้องกันฝีดาษในคน (vaccinia virus) และฝีดาษวัว (cowpox virus) เชื้อไวรัสฝีดาษลิงพบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น รวมทั้งคนก็สามารถติดโรคได้

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ระบุว่า ไวรัสฝีดาษวานรแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลัก คือ เคลดวัน Clade I, เคลดทูเอ Clade IIa, และเคลดทูบี Clade IIb สำหรับสายพันธุ์ย่อย C.1 (สายพันธุ์ที่พบส่วนใหญ่ในประเทศไทย) ถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์อื่น เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เคลดวัน (Clade I) ที่มีการระบาดอยู่ในทวีปแอฟริกา โดยเคลดวัน Clade I มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 10 ในขณะที่เคลดทู (Clade II) ทั้งเคลดทูเอ (Clade IIa) และ เคลดทูบี (Clade IIb) ซึ่งรวมถึง C.1 มีอัตราการเสียชีวิตต่ำกว่าเพียงร้อยละ 1

โดยทั่วไปสายพันธุ์เคลดทู Clade II รวมถึงสายพันธุ์ย่อย C.1 ที่พบส่วนใหญ่ในไทย มีลักษณะการแพร่เชื้อที่ไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันปกติ

โรคฝีดาษวานร ติดเชื้อกันได้อย่างไร

  1. สัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือจากการถูกสัตว์ที่มีเชื้อกัดข่วน 
  2. ประกอบอาหารจากเนื้อสัตว์ป่า หรือกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ 
  3. ติดทางอ้อมจากการสัมผัสที่นอนของสัตว์ป่วย
  4. การแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ

อาการของโรคฝีดาษวานร

เมื่อคนรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจะมีระยะฟักตัวประมาณ 7-14 วัน อาจนานถึง 21 วัน โดยอาการเริ่มแรกจะมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ต่อมน้ำเหลืองโต หนาวสั่น อ่อนเพลีย จากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะมีผื่นขึ้นบริเวณแขนขา และอาจจะเกิดบนหน้าและลำตัวได้ด้วย ผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในระยะสุดท้ายตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา บางรายอาจมีอาการท้องเสีย อาเจียน เจ็บคอ ไอ หอบเหนื่อยร่วมด้วย

อาการป่วยจะกินเวลาประมาณ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้ โดยอาการรุนแรงมักพบในกลุ่มเด็ก รวมถึงบางรายที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือมีโรคประจำตัวอาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้อาการรุนแรงอันตรายถึงชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคฝีดาษวานร

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับเลือด สารคัดหลั่ง หรือตุ่มหนองของสัตว์ที่ติดเชื้อหรือสัตว์ป่า 
  2. หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกไม่เพียงพอ
  3. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์เมื่อสัมผัสกับสัตว์หรือคนที่ติดเชื้อ หรือเดินทางเข้าไปในป่า
  4. ไม่นำสัตว์ป่ามาเลี้ยงหรือนำเข้าสัตว์จากต่างประเทศโดยไม่มีการ คัดกรองโรค
  5. กรณีมีการเดินทางกลับจากประเทศที่เป็นเขตติดโรค ต้องทำการคัดกรองและเฝ้าระวังอาการจนครบ 21 วัน หากมีอาการเจ็บป่วยให้รีบไปพบแพทย์ทันที และทำการแยกกักเพื่อมิให้ผู้ป่วยมีการแพร่กระจายเชื้อ
  6. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงได้ 85%

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าที่จะกวาดล้างไข้ทรพิษได้นั้น ในไทยมีการฉีดวัคซีนหรือที่เรียกว่าการ “ปลูกฝี” ซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งสองโรคนี้ได้ คนที่เกิดหลังปี 2523 จะไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนไข้ทรพิษมาก่อน จึงเป็นกลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคฝีดาษลิงมากกว่าประชากรกลุ่มอื่นๆ

 

อ้างอิง:

cnn.com

nbcnews.com

ddc.moph.go.th

dmsc.moph.go.th

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า