SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์หนี้ไทยตอนนี้ยังน่าเป็นห่วง ล่าสุด ttb แชร์ข้อมูลช่วง 8 เดือนแรก หนี้รถที่ถูกปรับโครงสร้างหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัว เพราะธนาคารกลัวไหลไปเป็นหนี้เสีย ส่วนหนี้บ้านก็ไม่แพ้กัน มีหน้าใหม่ที่เริ่มไปต่อไม่ไหว ต้องเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้

วันนี้ (28 ส.ค. 2567) ‘พี่เอ๋อ-ฐากร ปิยะพันธ์’ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารทหารไทยธนชาต (ttb) เล่าว่า สถานการณ์หนี้ตอนนี้ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เริ่มเห็นเทรนด์ที่เพิ่มขึ้น ที่น่ากลัวคือไม่ใช่แค่กลุ่มเปราะบาง (คนที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท) แต่กลุ่มที่มีรายได้ 30,000-50,000 บาท ก็ต้องดูแลใกล้ชิด

ส่วนเทรนด์หนี้เสีย (NPL) แน่นอนว่าในกลุ่มเปราะบางเห็นการขยับขึ้นมาสักระยะหนึ่งแล้ว ในกลุ่มรายได้ 30,000-50,000 บาทก็มีบ้าง ถึงไม่ได้พุ่งขนาดนั้น แต่ก็เป็นสัญญาณที่ขยับขึ้นเหมือนกัน เป็นผลมาจากเศรษฐกิจไทย

ที่พอจะช่วยได้ คือ จับกลุ่มดูแลลูกค้าอย่างใกล้ชิด เน้นการเจรจากับลูกค้า และการปรับโครงสร้างหนี้ให้ลูกค้า กลุ่มที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ รถ กับ บ้าน สอดคล้องกับข้อมูลของเครดิตบูโรที่หนี้กลุ่มนี้มันบวมขึ้นมา

โดยเฉพาะหนี้รถ ให้เป็นเบอร์ 1 ที่น่ากังวลที่สุด ถึงจะไม่ได้มีปริมาณเยอะที่สุด หรือ NPL ไม่ได้สูงที่สุดก็ตาม แต่การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (Debt Restructuring: DR) กลับเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากต้นปีมีเข้ามาจัดโครงสร้างฯ เดือนละ 5,000-6,000 ราย ตอนนี้เพิ่มเป็น 11,000-12,000 ราย (ช่วง 4-5 เดือนที่ผ่านมา)

‘เยอะ เยอะเลย เยอะเลย เยอะแบบมีนัยสำคัญ (Significant) จากปกติทำเดือนละ 5,000-6,000 ตอนนี้ 11,000-12,000 เท่าตัว อันนี้คือ DR คือก่อนเป็น NPL ถ้าการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled Debt Restructuring: TDR) อันนี้ทำหลัง NPL ซึ่งอย่างหลัง โอกาสที่ลูกค้าจะทำมันน้อย’

ส่วนจะไหลกลายเป็น NPL หรือไม่ พี่เอ๋อ ตอบว่า ถ้ายิ่งจัดโครงสร้างฯ ได้เยอะ ก็ยิ่งพยุงให้หนี้ไม่ไหลลงเป็น NPL ก็เหลือแต่รอดูจังหวะว่า ลูกค้าจะพลิกตัวกลับมาได้หรือเปล่า เพราะเห็นผลแล้วว่า ถ้ายิ่งทำการจัดโครงสร้างฯ ได้ โอกาสรอดของลูกค้าในระยะยาวก็ยิ่งสูง

แน่นอนว่า ก็ต้องมีคนที่ไม่ไหว ไหลลงไปเป็น NPL แต่ถ้าเราทำได้ทันจังหวะก่อนที่ลูกค้าจะไหลลงไป คือถ้าลูกค้ายังหน่วงๆ อยู่ แล้วแบงก์เข้าไปช่วยก่อนเป็น NPL ได้ โอกาสที่ลูกค้าจะทรงตัวได้และพลิกฟื้นกลับมามันสูงกว่าเยอะ เพราะถ้าไหลลงไปเป็น NPL โอกาสในการที่จะฟื้นจะค่อนข้างยากแล้ว

ที่นี้ ปัญหาคือ ไม่ใช่ว่าลูกค้าทุกคนจะอยากทำ แต่แบงก์อยากให้ลูกค้าทำ เพราะทำแล้วได้ผลที่ดีกว่า ก็อยากสนับสนุนทุกคนให้ทำ แต่ที่ยากคือ ส่วนหนึ่งกลัวติดเครดิตบูโร ไม่อยากให้ขึ้นในเครดิตบูโรว่าปรับโครงสร้างหนี้ กลัวว่าจะติดปัญหาถ้าต้องไปทำธุรกรรมอื่นๆ

ส่วนหนี้บ้าน ที่เห็นเทรนด์ทรงตัวไม่ค่อยเพิ่มขึ้น (เดือนละ 2,000-3,000 ราย) เพราะปรับโครงสร้างฯ มาแล้วตั้งแต่ช่วงโควิด-19 อยู่ในมาตรการช่วยเหลืออยู่แล้ว ส่วนคนที่เข้ามาใหม่ เป็นกลุ่มที่ยังไม่เคยเจอโควิด-19 มาก่อน แต่เริ่มไม่ไหวแล้ว

ต่อจากนี้สถานการณ์หนี้ไทยจะเป็นยังไง คงต้องติดตามกันต่อไป…

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า