SHARE

คัดลอกแล้ว

ความเจ็บป่วยของคนเราแม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมดาคนมนุษย์ ต้องมีเจ็บ มีป่วยกันบ้าง แต่เมื่อป่วยแล้ว….ยังต้องทำงานต่อ หรือยอมที่จะทำงานเพื่อไม่ให้งานล้นมือจนเกินไป อันนี้ถือว่าปกติหรือไม่?

แน่นอนว่า ถ้าถามปากเปล่าแบบนี้ใครๆ ก็ต้องตอบว่า “ไม่ปกติ” แต่รู้หรือไม่ว่า ณ ปัจจุบันมีคนกลุ่มใหญ่ที่รู้ทั้งรู้ว่ากำลังป่วย ร่างกายไม่ไหว หรือสภาพจิตใจไม่ได้ แต่ก็เลือกที่จะฝืนนั่งทำงานต่อ ไม่ลา ไม่หยุดพัก เพราะไม่อยากให้คนอื่นหรือเพื่อนร่วมงานรู้สึกว่าไม่โปรเฟสชั่นนัล

ส่วนหนึ่งเพราะรู้สึก ‘เกรงใจ’ และ ‘ไม่กล้า’ ลาหยุด เพราะอาจทำให้เพื่อนร่วมงานลำบาก หรือหัวหน้างานไม่พอใจได้

 

[ ภาวะ Presenteeism = ป่วยแค่ไหนก็ยังอยากทำงาน ]

ทั้งหมดที่เรากล่าวข้างบนเบื้องต้นเป็นภาวะ หรือ สภาวะที่มีคำจำกัดความเรียกว่า ‘Presenteeism’ คือสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมทำงาน ไม่ว่าจะเป็นทางร่างกายหรือจิตใจ แต่คนๆ นั้นยังฝืนที่จะทำงาน ทั้งที่รู้ว่าประสิทธิภาพในการทำงานไม่เหมือนเดิม

เหตุผลที่ซ่อนอยู่ของพวกเขาเหล่านั้น มีอยู่หลายปัจจัยแต่ส่วนใหญ่จะเป็นเหตุผลใกล้เคียงกัน เช่น เพราะไม่อยากให้งานล้นมือจนเคลียร์งานไม่ทัน, รู้สึกผิดต่อเพื่อนร่วมงาน หรือคนในทีม, เกรงใจหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน จนไปถึงมุมมองที่คิดว่า การลาหยุด ลาป่วย เป็นพฤติกรรมของคนที่ไม่มืออาชีพทำงาน และไม่ต้องการให้คนอื่นคิดแบบนี้

การวิเคราะห์จาก Harvard Business Review มองว่า ‘วัฒนธรรมการทำงาน’ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พนักงานมีความเชื่อ และความรู้สึกแบบนั้น ซึ่งองค์กรสมัยใหม่แม้ว่าจะให้ความสำคัญกับ Work-Life Balance หรือการทำงานที่ยืดหยุ่นขึ้น แต่ mindset เหล่านี้ไม่ได้ถูกเปลี่ยนแปลงไป

 

[ ป่วยแต่ยังทำงาน ความเสียหายมากกว่า ‘หยุดงาน’ ]

ถ้าย้อนไปในอดีต ‘การขาดงาน’ นั่นหมายถึงการสูญเสียรายได้ เพราะผลพวงจากการผลิตต่างๆ อาจลดลงจากปริมาณเดิมได้ แต่สำหรับสมัยนี้มันไม่ได้เป็นแบบนั้นแล้ว แต่หลายองค์กรยังมีมุมมองที่เป็นแบบนั้น

Harvard Business Review ระบุว่า จำนวนพนักงานที่ทำงานในขณะที่เจ็บป่วย ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ซึ่งในภาพรวมความสูญเสียที่เกิดขึ้นพบว่า มีมากกว่าจำนวนพนักงาน ‘หยุดงาน’ เพราะเจ็บป่วยเสียอีก

ค่าใช้จ่ายสำหรับองค์กรที่มีพนักงาน ‘ฝืนทำงาน’ จากความเจ็บป่วย สูงกว่าค่าใช้จ่ายในการขาดงานเกือบ 10 เท่า ส่วนหนึ่งเพราะว่าผลงานจากการทำงานนั้นๆ จะมีประสิทธิภาพต่ำกว่าที่เคยได้รับ นั่นอาจหมายถึงการทำงานซ้ำซ้อน จากการแก้งาน หรือภาพลักษณ์องค์กรที่เสียหายจากกลุ่มคนเหล่านี้

ถึงแม้ว่าจะไม่มีวิธีการประเมินค่าการขาดงานอย่างเป็นทางการ หรือเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับ แต่มีประมาณการว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะสูญเสียผลผลิตมากถึง 150,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี

โดยปัญหาของพนักงานที่มาทำงานแต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ แน่นอนว่าผลงานของแต่ละคนจะลดลงทั้งปริมาณและประสิทธิภาพ ความสูญเสียประมาณ 1 ใน 3 หรือมากกว่านั้น

ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สดใส ค่าใช้จ่ายจากสิ่งเหล่านี้กลายเป็น ‘ความสิ้นเปลือง’ ของรายจ่ายในองค์กร ซึ่งเป็นต้นทุนที่บริษัทหรือองค์กรอาจไม่ได้คาดคิดไว้ด้วยซ้ำ

ขณะเดียวกัน พนักงานที่ป่วยกายหรือใจจะยิ่ง ‘ปกปิด’ อาการป่วยของตน เพราะคิดว่าสถานการณ์แบบนี้ปัจจัยความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้เสมอ นั่นหมายถึงอาการป่วย หรือการทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ องค์กรอาจจะมองว่าเป็น ‘จุดอ่อน’ ของพนักงานคนนั้นได้ จนนำมาสู่ ‘การเลิกจ้าง’

ผลการศึกษาของ Harvard Business Review สะท้อนความน่ากังวลอีกเรื่องหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กรบางแห่งที่สร้างความหวังจากงาน และปลูกฝังความคิดว่า ‘งานสำคัญกว่าความเป็นอยู่ที่ดี’

ดังนั้น วัฒนธรรมการทำงานที่ toxic เหล่านี้กดดันให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ด้วยทรัพยากรที่มีจำกัด โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกทางร่างกายหรือจิตใจของพวกเขา จนกระทั่งเกิดภาวะ ‘หมดไฟ’ โรคของคนรุ่นใหม่ยุคนี้

นอกจากนี้ รายงานจาก CIPD (The Chartered Institute of Personnel and Development ) เปิดเผยว่า พนักงานที่มีภาวะ Presenteeism มีโอกาสที่จะลางานหลังจากนั้นเพราะความเครียดสะสมที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ พวกเขายังมีความเสี่ยงที่จะมีปัญหาทางสุขภาพจิตมากกว่าพนักงานคนอื่นถึง 2 เท่า เพราะสภาวะความไม่สมดุลระหว่างร่างกายและงานที่ถือในมือ

ทั้งนี้ ในแง่ของค่าใช้จ่าย ‘แฝง’ ที่บริษัทหรือองค์กรอาจลืมคิดไป วารสารของสมาคมการแพทย์อเมริกัน เปิดเผยถึงเม็ดเงินที่ต้องจ่ายกับ ‘ภาวะซึมเศร้า’ ซึ่งเกิดขึ้นในกลุ่มพนักงานในสหรัฐฯ ว่าต้องใช้เงินถึง 35,000 ล้านเหรียญต่อปีจากหลายๆ ภาวะที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงานที่ประสิทธิภาพลดลง

เช่น ความเจ็บปวดทางร่างกาย, โรคข้ออักเสบ, ปวดหัว, ปวดหลัง, ออฟฟิศซินโดรม ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านั้นอาจสูงขึ้นมากกว่า 47,000 ล้านเหรียญต่อปี

ดังนั้น ผลกระทบระยะยาวที่บริษัทต้องรับมือจากภาวะ Presenteeism เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักมากกว่านี้ รวมถึงกลุ่มพนักงานที่ฝืนทำงานโดยไม่สนใจร่างกายและจิตใจด้วย

 

อ้างอิง:

https://hbr.org/2004/10/presenteeism-at-work-but-out-of-it

https://www.investopedia.com/terms/p/presenteeism.asp

https://www.forbes.com/sites/carolinecastrillon/2023/11/05/why-presenteeism-isnt-necessarily-detrimental-and-how-to-manage-it/

https://ooca.co/blog/presenteeism/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า