Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘เงินเฟ้อ ของแพง น้ำท่วม ไฟไหม้ป่า’ ล้วนเป็นผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจาก ‘ภาวะโลกร้อน’ ทั้งสิ้น ความรุนแรงของมันได้กลายเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงถึงขนาดที่ผู้นำประเทศทั่วโลกตื่นตัวและพากันออกข้อบังคับเพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือ อุณหภูมิของโลกจะไม่เพิ่มขึ้นไปมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส

ประเทศไหนทำอะไรบ้าง? เริ่มกันที่ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโลก อย่าง ‘จีน’ กำลังลงทุนเรื่องพลังงานหมุนเวียนถึง 360,000 เหรียญสหรัฐ ด้านสหรัฐอเมริกาในฐานะผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อันดับที่ 2 ของโลก ออกนโยบาย Clean Competition Act (CCA) ซึ่งจะเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าที่มีกระบวนการผลิตที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณสูง โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน เอทานอล กรดอะดิพิก ซีเมนต์ กระจก อลูมิเนียม เหล็กและเหล็กกล้า รวมถึงกระดาษและเยื่อกระดาษ ซึ่งนี้จะบังคับใช้ในปี 2024

ฟากสหภาพยุโรป ก็ออกมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon border Adjustment Mechanism: CBAM) โดยกำหนดให้ธุรกิจ 7 กลุ่ม ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ เช่น สกรู และน็อตที่ทำจากเหล็ก รวมถึงสินค้าที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (Indirect Emissions) จำเป็นต้องรายงานการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสินค้าคาร์บอนสูงเข้ามายังสหภาพยุโรป จะเริ่มบังคับใช้เต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 2026

ประเทศไทยก็ใช่ว่าจะไม่ตื่นตัว เห็นว่ากำลังผลักดันพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ. โลกร้อน ที่จะสนับสนุนให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี ค.ศ. 2040

หาก พ.ร.บ. ฉบับนี้บังคับใช้ ภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวน 14 อุตสาหกรรมอาจต้องเผชิญกับต้นทุนในการวัด Carbon Footprint ระบบขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และระบบภาษีคาร์บอน

แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้วทรี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize

ท่ามกลางความท้าทายที่ธุรกิจในประเทศไทยกำลังจะต้องเริ่มจริงจับกับการจัดการ Carbon Footprint ซึ่งเป็นการวัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปลดปล่อยออกมาทั้งทางตรงและทางอ้อมจากองค์กร บุคคล ผลิตภัณฑ์หรือบริการ แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท คาร์บอนไวซ์ จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize กลับมองเห็นโอกาสที่ซ่อนอยู่ใน Pain Point ของธุรกิจในไทยที่ต้องการสร้างการเติบโตทางธุรกิจโดยที่ Carbon Footprint ไม่โตตาม

เกิดเป็น Carbonwize (คาร์บอนไวซ์) สตาร์ทอัพฝีมือคนไทยผู้พัฒนาแพลตฟอร์มประเมิน Carbon Footprint ในรูปแบบ One-stop service ให้บริการการจัดการ Carbon Footprint ครบวงจร ตั้งแต่การบริการให้คำปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม บริการแพลทฟอร์มจัดการก๊าซเรือนกระจก และบริการจัดหาผู้ทวนสอบในระดับประเทศและอินเตอร์เนชันแนล

แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้วทรี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize

เปิดโลก Carbon Footprint

ถ้าไม่ใช่การตัดสินใจเปิดโอกาสให้ตัวเองไปเรียนต่อปริญญาโทด้านธุรกิจที่ประเทศสิงคโปร์ เธอคงไม่ได้เห็นโลกอีกใบที่จริงจังและให้ความสำคัญกับเรื่อง ‘ความยั่งยืน’

“แทบไม่เชื่อว่าที่สิงคโปร์เรื่องความยั่งยืนเป็นเรื่องที่เขาพูดกันเป็นปกติ เหมือนมันเป็นวิถีชีวิตของพวกเขาไปแล้ว เขาทำเรื่องนี้กันมานานถึงขั้นมีแผนในการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน 10 ปี ค.ศ. 2021-2030 (Singapore Green Plan หรือ SGP) ในขณะที่ประเทศไทยแทบไม่ได้ยินใครพูดเรื่องนี้เลย ทั้งที่ภาวะโลกร้อนเป็นเรื่องของทุกคน เลยมองว่า น่าจะเป็นเรื่องที่ใหม่สำหรับประเทศไทย มันควรจะมีเครื่องมือสักอย่างที่ทำให้เรื่องของคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นสำหรับคนทั่วไป จึงเริ่มค้นคว้าว่าการทำ Carbon Footprint ทำอย่างไร ทำไมคนถึงยังไม่ค่อยทำกัน”

เธอบอกว่าตอนเริ่มธุรกิจในปี 2565 ประเทศไทยยังไม่มีแพลตฟอร์มประเมิน Carbon Footprint ในขณะที่ฝั่งยุโรปแพลตฟอร์มลักษณะนี้มียูนิคอร์นเกิดขึ้นแล้ว

ทำไมธุรกิจให้ความสำคัญกับ Carbon Footprint

นัชชา อธิบายว่า Carbon Footprint คือปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเป็นฐานหลักในการคำนวณ หากธุรกิจไหนวัดแล้วมีปริมาณการปล่อยคาร์บอนมาก หมายความว่า องค์กรนั้นกำลังสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและมีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนมากขึ้น

เธอบอกว่าแย่กว่าการไม่รู้ว่า Carbon Footprint คืออะไร  แต่คือการที่ธุรกิจไม่เข้าใจว่าภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อธุรกิจเขาอย่างไร

“มันอาจต้องคุยลงลึกไปในแต่ละธุรกิจว่ามันส่งผลกระทบต่อเขาอย่างไรบ้าง ถือเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากของเราเช่นกัน อย่างธุรกิจส่งออก เรื่องข้อกำหนดกฎหมายมันจะบีบให้เขาทำเรื่อง Carbon Footprint จริงจัง ไม่เช่นนั้นก็โดนภาษีแพงกว่าหรือไม่ก็ตัดโอกาสส่งออกไปยังประเทศเหล่านั้น”

“วันนี้คุณอาจจะคิดว่าธุรกิจไม่ได้ส่งออกต่างประเทศ แต่ต่อไปในอนาคตเรื่องของการจัดซื้อ จัดจ้าง จะไม่ได้แข่งขันกันที่ราคาอย่างเดียว เทียบการส่งออกข้าวระหว่างประเทศไทยกับเวียดนาม ตอนนี้เวียดนามเขาไม่ได้แข่งราคากับประเทศไทยแล้ว แต่เขาแข่งกันที่ Low Carbon Rice ราคาเขาได้ และคาร์บอนต่ำกว่าด้วย มันกลายเป็นเรื่องของศักยภาพการแข่งขันทางธุรกิจ”

“ต่อจากนี้ไปทุกอย่างจะถูกวัดกันที่ Carbon Footprint เช่น โรงงานผลิตน้ำดื่ม คุณผลิตขวดน้ำสองขวดจำนวนกรัมเท่ากัน แต่จะชี้ขาดที่ว่า Carbon Footprint เจ้าไหนน้อยกว่า อย่างเรามีลูกค้าโรงแรม ต่อไปนี้เขาจะเลือกสั่งสบู่ แชมพู และสินค้าสำหรับให้บริการลูกค้าของโรงแรมเป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิก เพราะ Carbon Footprint น้อยกว่าตั้งแต่ต้นน้ำ เมื่อมาใช้ในโรงแรมก็ไม่ทำลายน้ำ เทรนด์ของผู้บริโภคก็พร้อมที่จะสนับสนุนธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เท่ากับว่าธุรกิจไหนที่ไม่ปรับเปลี่ยนหาโปรดักส์ที่เป็นออแกนิก ก็จะมีโอกาสถูกแย่งมาร์เก็ตแชร์”

“อีกประเด็นที่อยากให้คิดคือ ถ้าวันหนึ่งคุณวางแผนเป็น Net Zero แต่คุณยังไม่รู้ว่าธุรกิจปล่อย Carbon Footprint เท่าไร เพราะระหว่าง 50,000 ตัน กับ 100,000 ตัน การวางกลยุทธ์เพื่อลด Carbon Footprint ต่างกันอย่างสิ้นเชิง ไม่ใช่แค่กลยุทธ์แต่ยังทำให้รู้ด้วยว่าต้นทุนในการจะไปให้ถึงเป้าหมายคือเท่าไร ระยะเวลาที่จะทำได้จริง และจะเอาเงินส่วนนั้นมาจากตรงไหน หรือจะหาเพื่อนร่วมทางเป็นใคร”

“Carbon Footprint ควรเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การธุรกิจ ทำอย่างไรให้ธุรกิจเติบโตโดยไม่ทำให้ Carbon Footprint โตตาม มันจะกลายเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดเลยว่าธุรกิจคุณจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ยิ่งถ้ามองจากมุมของนักลงทุน นี่คือส่วนสำคัญ ที่นักลงทุนมอง เขาไม่ได้ดูเรื่องการเงินอย่างเดียวแล้วแต่ดูเรื่องความยั่งยืนของธุรกิจด้วย

แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้วทรี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize

Carbonwize แพลตฟอร์มประเมิน Carbon Footprint ที่จะช่วยธุรกิจบรรลุเป้าหมาย Net Zero

“จริงๆ การทำ Carbon Footprint มันคล้ายกับการทำสรุปงบประมาณการเงินประจำปี” นัชชา กล่าว พร้อมบอกถึงจุดเด่นของแพลตฟอร์มประเมิน Carbon Footprint ของ Carbonwize ว่าไม่เพียงช่วยติดตามและจัดทำรายงานตามมาตรฐานด้วยระบบอัตโนมัติ แต่ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ได้อีกด้วย

จุดเด่นของแพลตฟอร์มเราอยู่ที่ Magic Template เป็นการนำสูตรการคำนวน Carbon Footprint มาใส่ในแพลตฟอร์ม ช่วยลดความซับซ้อนของสารพัดขั้นตอนยุ่งยากในการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งองค์กร ทำให้การเก็บข้อมูล Carbon Footprint เป็นระบบ และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับโลก”

“เกิดจากการศึกษาของทีมว่ากลุ่มอุตสาหกรรมไหนจะมีอะไรบ้างที่ปล่อยออกมาเป็น Carbon Footprint และจะต้องรีพอร์ตเรื่องอะไรบ้าง ทำออกมาเป็นเช็กลิสต์ให้สามารถเก็บข้อมูลได้ง่าย เช่น เสิร์ชว่า Carbon Footprint ของน้ำเสีย Carbon Footprint ไฟฟ้า Carbon Footprint คอมพิวเตอร์ ก็จะเจอสูตรการคำนวนในแพลตฟอร์มเลย เมื่อกรอกข้อมูลที่เราได้มาระบบก็จะคำนวนออกมาให้อัตโนมัติออกมาเป็น Carbon Footprint”

นัชชา ยังบอกด้วยว่า แพลตฟอร์มประเมิน Carbon Footprint ถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับธุรกิจที่เริ่มต้นทำเรื่อง Carbon Footprint ทำให้ประสบการณ์การประเมิน Carbon Footprint ทำได้ง่ายๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญ

“เรามีทีมให้คำปรึกษากับบริษัทที่อยากวางแผนลด Carbon Footprint ทุกวันนี้พอพูดเรื่องกรีน มันจับต้องไม่ได้ ไม่สามารถเขียนเป็นนโยบายได้ แต่ระบบของเราสามารถคำนวน Carbon Footprint และชี้ชัดได้ว่าสัดส่วนไหนในการดำเนินธุรกิจสร้าง Carbon Footprint มากที่สุด ข้อมูลเหล่านั้นสามารถนำไปวิเคราะห์และปรับเปลี่ยนนโยบายใหม่ๆ ได้ เช่น การเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟลดค่าใช้จ่ายระยะยาวอย่างไรและลด Carbon Footprint ได้เท่าไร สุดท้ายแล้วรายงานด้านความยั่งยืนที่มีข้อมูลครบถ้วนยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในและนอกองค์กรอีกด้วย”

“การที่แพลตฟอร์มของเราช่วยคำนวน Carbon Footprint ให้กับองค์กรได้ มันเหมือนเป็นการจุดประกายเล็กๆ ที่ทำให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของเรื่องนี้” นัชชา กล่าว

แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้วทรี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize

ธุรกิจที่ควรต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้!

นัชชา เล่าว่าตอนเริ่มต้นธุรกิจ เธอวิ่งหากลุ่มธุรกิจที่มีแนวโน้วโดยกฎหมายบังคับก่อน ได้แก่ กลุ่มส่งออกที่ต้องค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งออกไปยุโรป และอีกกลุ่มคือกลุ่มที่เป็นบริษัทจดทะเบียน เพราะมีทาง กลต. บังคับอยู่

“แต่ถ้าถามตอนนี้มองว่าทุกธุรกิจควรจะเริ่มต้นทันที เพราะถึงจะไม่ได้เป็นโรงงานอุตสาหกรรม และไม่ได้ปล่อย Carbon Footprint เยอะเท่ากับภาคการผลิต แต่ในทุกขั้นตอนการทำงานในบริษัท การใช้น้ำ ใช้ไฟ ล้วนเป็นกิจกรรมที่ปล่อย Carbon Footprint ถ้าเราไม่เริ่มทำอะไรสักอย่างสุดท้ายแล้วตัวเราเองนั่นแหละที่จะต้องเป็นผู้รับผลกระทบ ทุกวันนี้ค่าน้ำมันแพงขึ้น ค่าครองชีพแพงขึ้น เงินเฟ้อสูง นั่นเป็นผลกระทบจากภาวะโลกร้อนทั้งนั้น”

เมื่อถามว่าอยากเห็นอุตสาหกรรมไหนทำเรื่องนี้จริงจัง เธอบอกว่า ‘ภาคการเกษตร’

“ส่วนตัวมองว่าภาคการเกษตรส่งผลกระทบหลายส่วน เพราะ GDP ของไทยยังมาจากการส่งออกสินค้าเกษตร ถ้าวันหนึ่งเวียดนามปลูกข้าวโดยปล่อย Carbon Footprint ต่ำกว่า และส่งออกได้มากกว่า แต่ไทยยังเหมือนเดิมเราจะสู้เขาไม่ได้เลย ถ้าจะเริ่มลงมือต้องเริ่มตั้งตอนนี้เพราะตอนนี้เรายังไม่รู้เลยว่า Carbon Footprint ภาคการเกษตรของไทยเท่าไร เมื่อรู้แล้วถึงจะวางแผนได้ว่าจะเริ่มปรับจากตรงไหนก่อนและเอาเทคโนโลยีอะไรมาใช้ได้บ้าง”

“แต่ก็เข้าใจว่าในมุมของคนทำธุรกิจ อะไรก็ตามที่ฟังดูเหมือนเป็นค่าใช้จ่ายที่มองไม่เห็นความคุ้มทุนก็จะผลักมันไว้หลังสุด ถึงแม้เทรนด์ต่างๆ มันชี้ว่าเรื่องความยั่งยืนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่วันนี้เรายังไม่โดนเฆี่ยน ยังไม่โดนบังคับ ไม่มีกฎหมายออกมาเอาผิดว่าถ้าไม่ทำจะโดนค่าปรับ หรือจะถูกถอดออกจากตลาด กลายเป็นแค่ตระหนักรู้แต่ไม่ลงมือทำ”

แนท-นัชชา เลิศหัตถศิลป์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บิ้วทรี เทคโนโลยี จำกัด ผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Carbonwize

เป้าหมายต่อไปของ Carbonwize

“ถือว่าไปได้สวย” นัชชาตอบ เมื่อเราถามถึงทิศทางการเติบโตของ Carbonwize ในวันนี้ “เราเริ่ม Pilot ในเวียดนามและมาเลเซีย ตั้งเป้าขยายไปสู่ตลาดในภูมิภาคมากขึ้น ส่วนเรื่องตัวเลขการเติบโตก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะมีผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของเรา 1,000 บริษัท ภายในปี 2025 และภายในปี 2030 เราอยากให้ทุกบริษัทในประเทศสามารถคำนวน Carbon Footprint ได้แล้ว”

“ส่วนเรื่องของระบบหลังบ้าน ระบบการคำนวน Carbon Footprint เป็นเพียงขาหนึ่งของความยั่งยืน เราต้องการขยายโปรดักส์ให้ครอบคลุมส่วนอื่นๆ ได้มากขึ้นให้ครอบคลุมมาตรฐานสากล เรามองว่าในอนาคตแต่ละประเทศอาจจะมีมาตรฐานของตัวเอง  เราก็จะเอามาตรฐานต่างๆ เข้ามาในระบบ ถ้าจะส่งออกไปประเทศไหนก็สามารถคำนวนเป็นรายงานให้กับประเทศนั้นๆ ได้”

ปัจจุบัน Carbonwize สามารถระดมทุนระดับ Seed ถือว่าไปได้สวยด้วยอายุธุรกิจเพียง 2 ปี นัชชาบอกว่า ตั้งเป้าภายในปี 2026 น่าจะเข้าระดุมทุนระดับ Series A ได้ไม่ยาก  

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า