SHARE

คัดลอกแล้ว

สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นคู่ขนานกับโศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียน คือการต่อต้านภาพ AI ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเร้าอารมณ์ความสูญเสียในโลกออนไลน์

นี่คือปรากฏการณ์ที่นักวิชาการด้านจิตวิทยามองว่า เป็นการเติบโตของสังคมไทย ที่เรียนรู้จากความเจ็บปวดที่ผ่านมา พร้อมชี้ว่า การสร้างภาพที่แม้จะดูสวยงาม และอาจเกิดจากความปรารถนาดี อาจส่งผลกระทบทางจิตใจต่อผู้สูญเสียโดยไม่รู้ตัว

[ผู้สูญเสียยังไม่พร้อมจินตนาการภาพเชิงบวกแบบนั้น]

ผศ.ดร.ทิพย์นภา หวนสุริยา อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นกับสำนักข่าวทูเดย์ มองว่า เข้าใจความรู้สึกของผู้คนที่สะเทือนใจและอยากจะแสดงออก หรืออยากปลอบประโลม แต่การสร้างภาพประกอบขึ้นมา เช่นภาพเด็กยิ้ม หรือขึ้นสวรรค์ อาจส่งผลเสียต่อครอบครัวผู้สูญเสีย

อ.ทิพย์นภาอธิบายว่า ในช่วงแรก ไม่มีทางที่อารมณ์ของครอบครัวที่สูญเสียจะเป็นบวก แต่จะเต็มไปด้วยความเจ็บปวด หรือความโกรธ ขัดแย้งกับภาพที่ต้องการสื่อสารในเชิงบวก

“ภาพที่นำเสนอในทางบวก อาจทำให้เขารู้สึกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องเบาไปหรือเปล่า เขายังมีความรู้สึกไม่พร้อมที่จะจินตนาการว่าลูกไปแล้ว”

อ.ทิพย์นภาตั้งข้อสังเกตว่า ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเรื่อยๆ ซึ่งจากกรณีนี้ก็จะเห็นได้ว่า ถ้าเป็นสมัยก่อนคงจะไม่มีภาพแบบนี้เกิดขึ้น แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีส่วนช่วยสร้างภาพออกมาได้ง่าย ซึ่งจะเป็นเครื่องมือใหม่ที่คนนำมาใช้ได้

แต่การใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็อาจต้องมาพร้อมกับวิจารณญาณและการพิจารณาอย่างรอบคอบด้วย อ.เพ็ญนภายกตัวอย่างว่า ในกรณีนี้คนที่ทำงานด้านกราฟฟิกเป็นฝ่ายออกมาเตือนเองว่า บางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้ภาพประกอบก็ได้

“เหตุการณ์นี้ก็น่าจะได้เรียนรู้เหมือนกันว่า เรามีเครื่องมือใหม่ที่มันช่วยทำให้เราสื่อสารได้มากขึ้น แต่ในบางกรณีมันอาจไม่จำเป็น เราต้อง sensitive กับความรู้สึกของผู้ประสบภัย-ผู้ประสบเหตุให้มากขึ้น แม้เราจะมีความประสงค์ดีก็ตาม”

[สังคมไทยเติบโตขึ้น]

ในฐานะนักวิชาการด้านจิตวิทยา อ.ทิพย์นภา มองสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ของไทย โดยเฉพาะการต่อต้านภาพใช้ภาพ AI ในกรณีนี้อย่างจริงจังว่า นี่สะท้อนถึงการเติบโตมากขึ้นในการใช้โซเชียลมีเดียของคนไทย

โดยถ้าย้อนเรื่องนี้กลับไปก็อาจมีพัฒนาการมาตั้งแต่การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนที่เลือกใช้คำพาดหัวข่าวที่ระมัดระวัง และไม่กระทบกระเทือนจิตใจ

ขณะเดียวกันคนที่ใช้โซเชียลมีเดียก็น่าจะได้เห็นคำเตือนจากภาคส่วนต่างๆ เช่น กรมสุขภาพจิต ว่าอะไรควรทำหรือไม่ควรทำ ซึ่งก็ถือเป็นการเติบโตไปด้วยกัน และน่าจะค่อยๆ ตื่นตัวในการอยู่ในโลกออนไลน์มากขึ้น

หลังเกิดเหตุโศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนไม่นาน กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โพสต์เฟซบุ๊กขอความร่วมมือ เขียนข้อความไว้อาลัยอย่างเหมาะสม โดยหลีกเลี่ยงการวาดภาพประกอบขึ้นมาใหม่ หรือสร้างภาพจาก AI ที่จะเร้าอารมณ์ของผู้ที่กำลังโศกเศร้า

ท้ายที่สุด อ.ทิพย์นภาแนะนำว่า ผู้ที่ติดตามข่าวหรือผู้ใช้โซเชียลมีเดีย อย่าลืมดูแลจิตใจตัวเอง ถ้าเริ่มรู้สึกไม่ไหว ให้หยุดติดตามและไปทำอย่างอื่นก่อน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า