SHARE

คัดลอกแล้ว

ปีนี้การประกาศรางวัลโนเบลสาขาเคมีและฟิสิกส์ ผู้ที่ได้รับรางวัลเป็นกลุ่มคนทำงานบุกเบิกในวงการ AI ที่มีความเชื่อมโยงกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Google ทั้งที่ยังทำงานกับบริษัท และที่เคยเป็นอดีต

ประเด็นนี้กระตุ้นให้เกิดการถกเถียงกันว่า ระหว่างการศึกษาวิจัยในเชิงภาควิชาการกับการเป็นผู้นำวิจัยของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ ซึ่งอยู่ในภาคธุรกิจสร้างรายได้ กับรางวัลโนเบล อะไรคือจุดพอดี

นอกจากนี้สถาบันการศึกษาแบบดั้งเดิมไม่อาจนิ่งเฉยและต้องดิ้นรนเพื่อแข่งขันกับ Big Tech ในการวิจัย AI แล้วหรือไม่

อีกทั้งยังมีคนที่วิจารณ์ว่า แม้ผลงานของผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลจะมีคุณค่าในวงการ แต่หากพิจารณาจุดยืนและคอนเซ็ปต์ของรางวัลโนเบลแล้ว มันตรงจุดหรือไม่

หรือจริงๆ ควรมีที่ทางให้กับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ได้รับการยอมรับบนเวทีรางวัลโนเบลเช่นกัน

ในปีนี้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์และเคมี ได้ถูกมอบให้กับผู้คนในวงการ AI

โดยในสาขาฟิสิกส์ได้มอบรางวัลให้กับ ศาสตราจารย์เจฟฟรีย์ ฮินตัน และศาสตราจารย์จอห์น ฮอปฟีลด์ ที่บุกเบิกและพัฒนาการเรียนรู้ของสมองกล Machine Learning ซึ่งเป็นพื้นฐานให้กับการพัฒนา AI ระดับโลก

ส่วนโนเบลสาขาเคมี ผู้ได้รับรางวัล คือ เดวิด เบเคอร์ เดมิส ฮาซาบิส และจอห์น จัมพ์เปอร์ จากผลงานการพัฒนาแบบจำลอง AI เพื่อใช้ทำนายโครงสร้างที่ซับซ้อนของโปรตีนทั้งหมด 200 ล้านชนิด และประสบความสำเร็จในการสร้างโปรตีนชนิดใหม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักวิทย์ทำมาตลอด 50 ปีอย่างยากลำบาก

ที่ถูกตั้งข้อสังเกต คือ เดมิส ฮาซาบิส เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ซึ่งเป็นหน่วยงาน AI ของ Google ส่วนจอห์น จัมพ์เปอร์ ผู้ได้รับรางวัลอีกคนก็เป็นเพื่อนร่วมงานที่เดียวกัน

ขณะที่เจฟฟรีย์ ฮินตัน ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์เคยเป็นอดีตนักวิจัยของ Google แม้ความจริงที่ว่าเขาลาออกจาก Google เมื่อปีที่แล้ว และเป็นคนที่ออกมาประกาศชัดถึงผลกระทบจาก AI ต่อมนุษย์ก็ตาม

มีดราม่ากระตุ้นให้เกิดการถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้ว่า กลุ่มคนที่ได้รางวัลโนเบลมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่กำลังเผชิญปัญหาการถูกตรวจสอบประเด็นผูกขาดจากกระทรวงยุติธรรมของสหรัฐฯ อย่าง Google ซึ่งตอนนี้หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐที่รับผิดชอบป้องกันการผูกขาด กำลังกดดันให้ Google แยกบริษัท และอาจส่งผลให้บริษัทต้องขายธุรกิจบางส่วนออกไป เช่น บราวเซอร์ Chrome และระบบปฏิบัติการ Android

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตไปอีกว่า รางวัลที่สะท้อนถึงการวิจัยทางวิชาการเชิงลึก กำลังถูกขยับไปสู่งานวิจัยของบริษัทเทคโนโลยี ที่เป็นการวิจัยเพื่อต่อยอดสร้างนวัตกรรมและนำไปสู่การสร้างรายได้

เป็นคำถามต่อมาว่า ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์นี้จะได้รับการยอมรับแค่ไหนและอย่างไรบนเวทีโนเบล

อย่างไรก็ตาม หากมองอย่างเป็นธรรม ก่อนหน้านี้ เจฟฟรีย์ ฮินตัน ผู้ชนะโนเบลสาขาฟิสิกส์ได้ลาออกจาก Google เมื่อปีที่แล้ว และปัจจุบันมาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยในประเทศแคนาดา เขาเคยแสดงความเสียใจเกี่ยวกับผลงานของเขา และสาเหตุการลาออกจาก Google เพื่อที่เขาจะได้พูดคุยสื่อสารถึงประเด็นที่เขากังวลถึงอันตรายของ AI ได้อย่างเปิดเผย และเตือนมนุษยชาติว่าคอมพิวเตอร์อาจฉลาดกว่ามนุษย์เร็วกว่าที่คาดไว้มาก

ซึ่งถ้าดูจากรากที่มาของรางวัลโนเบลเอง ก็มีจุดร่วมคล้ายกันบางอย่าง เพราะ อัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมต์ ก็รู้สึกเสียใจจากการที่ระเบิดที่เขาคิดค้นถูกนำไปใช้ในการคร่าชีวิตมนุษย์ เขาจึงมอบทรัพย์สินจำนวนมากมาให้เป็นเงินทุนในรางวัลโนเบล

นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และที่ปรึกษาด้าน AI ประจำองค์การสหประชาชาติ เวนดี้ ฮอลล์ ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า แม้ผลงานของผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีและฟิสิิกส์สมควรได้รับการยอมรับ แต่การที่ไม่มีรางวัลโนเบลสาขาคณิตศาสตร์หรือวิทยาการคอมพิวเตอร์ทำให้ผลรางวัลบิดเบือนไป

“คณะกรรมการรางวัลโนเบลไม่อยากพลาดกับประเด็น AI ดังนั้นการผลักดันให้โนเบลกับ เจฟฟรีย์ ฮินตัน ในสาขาฟิกส์ถือว่าสร้างสรรค์ แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่ายังมีประเด็นน่าสงสัยว่าว่าแม้ผลงานนี้จะสมควรได้รับรางวัลโนเบลในแง่ของผลงานวิทยาศาสตร์ แล้วมีวิธีอื่นที่จะให้รางวัลได้หรือไม่”

ขณะที่ก็ยังมีนักวิชาการบางคนตั้งข้อสงสัยว่า ผลงานที่ได้รับรางวัลเข้าข่ายกับเรื่องฟิสิกส์หรือไม่ จริงอยู่ว่าแม้จะมีแรงบันดาลใจจากฟิสิกส์ แต่ผู้ได้รับรางวัลนี้ไม่ได้พัฒนาทฤษฎีใหม่ในสาขาฟิสิกส์หรือแก้ไขปัญหาฟิสิกส์ที่เป็นประเด็นค้างคามานาน

ทีนี้หากไปดูนิยามรางวัลโนเบลได้กำหนดความสำเร็จที่จะได้รับรางวัล ในด้านการแพทย์ ฟิสิกส์ เคมี วรรณกรรม และสันติภาพ ซึ่งเขียนไว้ในพินัยกรรมของอัลเฟรด โนเบล ซึ่งเสียชีวิตใน พ.ศ.2438 ส่วนรางวัลด้านเศรษฐศาสตร์ถูกเพิ่มเข้ามาที่หลังตอน พ.ศ.2511

ดราม่าที่เกิดขึ้นถูกตีความไปถึงว่า เมื่อพิจารณาว่าปีนี้รูปแบบรางวัล (สาขาฟิสิกส์และเคมี) มอบให้กับคนที่มีความเชื่อมโยงกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ทำรายได้มหาศาลมีทุนรอนมาให้ทำการศึกษาวิจัย จนสามารถแซงหน้าสถาบันการศึกษาแบบเดิมๆ จากการเผยแพร่ผลงานวิจัย AI ที่ก้าวล้ำ

มีการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนี้อีก โดยบางมุมมองอาจเห็นว่าการมอบรางวัลโนเบลปีนี้ ตอกย้ำว่าการแข่งขันในแวดวงวิชาการแบบดั้งเดิมนั้นยากขึ้นมาก เมื่อผลงานจากบริษัทเทคโนโลยีก็ก้าวหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ ดังน้ันจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องลงทุนในงานวิจัยมากขึ้น เพราะเชื่อว่าโดยจุดมุ่งหมายแล้วบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการเรียนรู้เชิงลึก แต่อยู่บนพื้นฐานศึกษาวิจัยเพื่อนำมาต่อยอดสร้างรายได้ทำเงินมากกว่า และบ้างก็เห็นว่ามีนวัตกรรมใหม่ๆอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นวิทยาศาสตร์เลย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า