SHARE

คัดลอกแล้ว

เรื่องของ Subway กลายเป็นหนึ่งในไวรัลที่คนในโซเชียลมีเดียพูดถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในวันที่ 3 พ.ย.2567 และต้องยอมรับว่า มีหลายคนที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าตอนนี้ Subway มีสาขาที่เปิดร้านในสถานะ ‘ร้านแฟรนไชส์’ เพียง 51 แห่ง จากที่เมื่อก่อนมีมากกว่า 150 สาขา

กว่า 20 ปีของ Subway ในตลาดไทย เรียกว่าอาจจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเทียบกับตลาดในอเมริกา ซึ่งเหตุการณ์ล่าสุดอาจยิ่งทำให้ภาพลักษณ์ของ Subway ไร้ความน่าเชื่อถือมากขึ้น

หลังจากที่เพจ Subway Thailand ออกมาโพสต์เตือนผู้บริโภค เกี่ยวกับสาขาทั้งหมดที่ได้รับสิทธิ์แฟรนไชส์ของ Subway อย่างถูกต้อง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 51 แห่ง พร้อมรายชื่อสาขาที่ให้บริการ

หลังจากที่ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับ ‘คุณภาพอาหาร’ ในหลายๆ เรื่อง อย่างเช่น

  • วัตถุดิบขาด
  • กระดาษห่อไม่มีพิมพ์ลาย Subway
  • กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร
  • ขนมปังที่ใช้ ไม่ใช่ของ Subway 

ทั้งได้แนะนำว่า “หากลูกค้าประสงค์ที่จะสั่งหรือซื้อ Subway สามารถสังเกตหน้าร้าน จะต้องมีเลขที่ร้านและเครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise จะเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิ์โดยถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้ง อโวคาโด, มะกอก และอื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของ Subway”

แต่ที่น่าสนใจคือ ในประกาศล่าสุดนั้นได้เปิดเผยรายชื่อ 105 สาขาที่ ‘สิ้นสุดการเป็นผู้รับแฟรนไชส์’ ซึ่งมีหลายๆ สาขาที่บางคนเคยใช้บริการและไม่เคยรู้ว่า เป็นสาขาที่แอบอ้างใช้ชื่อ Subway ต่อทั้งที่ไม่ได้รับสิทธิ์แล้ว

โดยเป็นร้านสาขาที่ถูกยกเลิกสิทธิ์แฟรนไชส์ไปตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2567

สิ่งที่ผู้คนต่างตั้งคำถามในโลกโซเชียลเกี่ยวกับ Subway ผ่านการคอมเมนต์แสดงความคิดเห็น และช่องทางโซเชียลมีเดียอื่นๆ เช่น X, TikTok และ Facebook เช่น

“ทำไมร้านสาขาที่ยังเปิดให้บริการและเป็นร้านแฟรนไชส์ของ Subway น้อยกว่าร้านที่ถูกยกเลิกไป?” และบางส่วนตั้งคำถามว่า “ทำไม Subway ไม่เคยมีประกาศอัพเดทเกี่ยวกับร้านสาขาที่ให้บริการแบบถูกต้องชัดเจน?”

หลายคนกังวลว่า สาขาของ Subway ที่น้อยลงเรื่อยๆ จากครั้งแรกๆ ที่เคยตั้งเป้าว่าจะเปิดให้บริการมากถึง 1,000 สาขาทั่วประเทศไทย ในอนาคตมีแนวโน้มที่ Subway จะถอนตัวออกจากตลาดไทยหรือไม่?

 

[ Subway เปลี่ยนมือบริหารภายใต้บริษัทที่ 2 ]

ที่ผ่านมา Subway มีความเคลื่อนไหวในเชิงธุรกิจมาตลอด ตั้งแต่การขยายสาขา ไปจนถึง การเปลี่ยนมือบริหาร จากที่ครั้งแรกในปี 2019 Subway อยู่ภายใต้การบริหารของ อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป’ ของธนากร ธนวริทธิ์ ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์มาสเตอร์แฟรนไชส์แต่เพียงผู้เดียว

โดย Subway ในยุคแรกนั้น ‘อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป’ เคยตั้งเป้าหมายที่จะขึ้นเป็น Top 3 ในธุรกิจร้าน QSR (ร้านอาหารบริการด่วน) ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 47,700 ล้านบาท และตั้งใจมีสาขาในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าแตะ 1,000 สาขา

จนกระทั่งเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม 2567 GL’ บริษัทย่อยในเครือของ PTG (พีทีจี เอ็นเนอยี) ได้ออกมาเคลื่อนไหวว่าได้ลงทุน 35 ล้านบาท เพื่อซื้อสิทธิ์แฟรนไชส์ Subway แต่เพียงผู้เดียวในไทย

แน่นอนว่าดราม่าที่เกิดขึ้น PTG กำลังเร่งดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมาย แต่ที่น่าหนักใจกว่าคงเป็นการสร้างภาพลักษณ์, ความเชื่อใจ และการสร้างแบรนด์ดิ้ง เพราะตอนนี้ Subway ในประเทศที่ได้รับความนิยมสูงสุดยังคงเป็น สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ หาก Subway ภายใต้การบริหารใหม่นี้ได้พยายามถอดบทเรียนตลอด 20 ปี ก็น่าจะมีอะไรสนุกๆ จากแบรนด์นี้ให้เห็นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า