SHARE

คัดลอกแล้ว

ปีนี้ (2567) TODAY Bizview มีโอกาสเข้าร่วมงาน Singapore FinTech Festival 2024 ณ ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 6-8 พ.ย.ที่ผ่านมา

ภายในงานมีผู้ประกอบการฟินเทคเล็ก-ใหญ่ มาเปิดบูธแนะนำสินค้าและบริการกัน นอกจากนี้ ยังมีเวทีต่างๆ ที่มาแชร์ความรู้ อินไซต์ใหม่ๆ และความเป็นไปของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีการเงินอีกด้วย

บูธแรกที่เราแวะ คือบูธของ Ant Group ฟินเทคเจ้าใหญ่สัญชาติจีน ซึ่งรอบนี้ Ant ก็จัดเต็ม โดยยกกันมาทั้งเครือ ไม่ว่าจะเป็น Alipay+, antom, WORLDFIRST, ANEXT BANK และ bettr

แน่นอนว่าตัวที่เด่นที่สุดคือ Alipay+ แพลตฟอร์มการชำระเงินดิจิทัลข้ามพรมแดนที่พัฒนาโดย Ant Group ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Alibaba Group

แพลตฟอร์มนี้ออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-wallet) และบริการชำระเงินมือถือจากหลายประเทศ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ e-wallet ของตนในการชำระเงินในต่างประเทศได้อย่างสะดวกสบาย

สำหรับร้านค้า Alipay+ ช่วยให้สามารถรับชำระเงินจากลูกค้าต่างชาติที่ใช้ e-wallet ต่างๆ ได้โดยง่าย เช่น ลูกค้าจากฮ่องกงสามารถชำระเงินผ่าน AlipayHK ลูกค้าจากเกาหลีใต้ผ่าน Kakao Pay

และลูกค้าจากมาเลเซียผ่าน Touch ‘n Go eWallet การรองรับการชำระเงินที่หลากหลายนี้ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายและขยายฐานลูกค้าให้กับร้านค้า

นอกจากนี้ Alipay+ ยังมีโซลูชันที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจให้กับร้านค้า โดยเชื่อมโยงแพลตฟอร์มและช่องทางการตลาดต่างๆ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงลูกค้าและตอบสนองพฤติกรรมการซื้อขายที่เปลี่ยนแปลงไป

[ สาเหตุที่สแกนจ่าย QR Code ยังโตได้ ]

อินไซต์นี้เราได้มาจาก ‘อะกิฮิโตะ ซาโต้’ (Akihiko Sato) Deputy Division Head, Finance Business Strategy Division, Finance Business Group, PayPay Corporation เจ้าตลาดที่ทำเรื่องสแกนจ่าย QR Code ในญี่ปุ่น ในช่วง Media Roundtable รอบแรก

ซาโต้ซังแชร์ว่า การใช้จ่ายด้วย QR Code ยังสามารถแข่งขันในตลาดได้ ถ้าเทียบกับการแตะจ่าย (Touch to Pay) เช่น บัตรเครดิต ที่เราคิดว่ามันน่าจะสะดวกกว่า เพราะแค่แตะจ่าย ไม่ต้องหยิบโทรศัพท์ออกมา ไม่ต้องเข้าแอปฯ ไม่ต้องยื่นมือถือไปสแกนจ่ายอีก หลายขั้นตอน

แต่จริงๆ แล้ว คนส่วนมาก โดยเฉพาะเพศหญิง มักจะสะดวกในการล้วงสมาร์ตโฟนออกมา มากกว่าการล้วงกระเป๋าสตางค์ออกมาจากกระเป๋า หรือในหลายๆ ครั้ง คนก็มักจะถือสมาร์ตโฟนไว้ในมืออยู่แล้วด้วยซ้ำ เพราะอย่างที่ทราบว่า มือถือกลายเป็นปัจจัยที่ 5 ของเราไปแล้ว

แต่ถึงอย่างนั้น การใช้จ่ายด้วย QR Code ก็ยังมีข้อจำกัดในการเติบโตอยู่ ไม่ใช่ไม่มี ยกตัวอย่างเช่น คนจากชาติตะวันตก ที่ส่วนใหญ่จะไม่คุ้นเคยกับการใช้จ่ายด้วย QR Code แม้จะเดินทางมาเที่ยวในเอเชียก็ตาม ก็ไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามอยู่ดี เพราะบ้านเขาคุ้นเคยกับการแตะจ่ายบัตรเครดิตมากกว่า

[ ฟินเทคกับ ESG เกี่ยวข้องกันอย่างไร ]

เซสชันสุดท้ายของวันแรก เป็นเซสชันที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) ซึ่งตอนแรกเราไม่เข้าใจว่าฟินเทคกับ ESG มันเชื่อมโยงกันยังไง แต่ที่จริงแล้ว วงการฟินเทคมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ESG มากกว่าที่เราคิด

ยกตัวอย่างเช่น สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) ที่ก็ลดการผลิตธนบัตรได้มหาศาล หรือการนำเทคโนโลยีมาช่วยให้การเงินเข้าถึง (Inclusive) กลุ่มคนที่เดิมเคยเข้าไม่ถึงบริการทางการเงิน (Underbanked) ข้อนี้ก็ถือเป็นความยั่งยืนอย่างหนึ่งเช่นกัน

‘นาเดีย โอเมอร์’ (Nadia Omer) Chief Executive Officer, AirAsia MOVE แชร์ใน Media Roundtable รอบที่ 2 ว่า ความยั่งยืนไม่จำเป็นต้องแพงเสมอไป ยกตัวอย่างเช่น AirAsia เป็นสายการบินแรกที่ทำเว็บไซต์ของตัวเอง ผลคือ นอกจากค่าตั๋วจะถูกลง (เพราะตัดตัวกลางออกไป) ยังเพิ่มสัดส่วนผู้โดยสารหญิงขึ้นมาอีกด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ การดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มีรายได้ปานกลางเข้ามายังประเทศท่องเที่ยว เช่น ประเทศไทย เมื่อนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้ามา เขามักจะใช้จ่ายกับโรงแรม 2 หรือ 3 ดาว ที่ไม่ใช่เครือโรงแรมขนาดใหญ่ แต่เป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มักจะใช้จ่ายกับ Street Food มากกว่านักท่องเที่ยวระดับบน ซึ่งจำนวนครัวเรือนที่เข้าถึงเศรษฐกิจแบบนี้มีมากกว่า AirAsia สนับสนุนให้ลูกค้าเที่ยวในท้องถิ่น กินอาหารท้องถิ้น และซื้อของในท้องถิ่น แทนที่จะบริโภคของที่บรรจุมาในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งมาพร้อมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

Singapore FinTech Festival

[ หยุดไล่ตามจีดีพี โฟกัสที่ผู้คนมากขึ้น ]

วันถัดมา TODAY Bizview มีโอกาสฟัง ‘ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในหัวข้อ Thailand’s Digital Finance Journey: Lessons for ASEAN Others โดยมีการแชร์ว่า

เราควรหยุดวิ่งไล่ตามจีดีพี เพราะจีดีพีมันเป็นจุดจบโดยตัวมันเอง และเราควรให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ที่ดีของครัวเรือนให้มากกว่า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญองค์ประกอบหนึ่งของความเป็นอยู่ที่ดีของครัวเรือน คือ การเข้าถึงบริการทางการเงิน (Financial Inclusion)

ผู้ว่าฯ เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่แข็งแกร่งและเชื่อมโยงกัน เพื่อส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงและยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพ ความเท่าเทียม ความมั่นคง และการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน

รวมถึงการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ เช่น สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) พร้อมทั้งการแก้ไขปัญหาความท้าทายด้านความปลอดภัยไซเบอร์และการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส

หนึ่งในประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือความจำเป็นในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินให้มีความทันสมัยและเชื่อมโยงกันมากขึ้น การพัฒนาระบบการชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีต้นทุนต่ำ จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงินได้มากขึ้น

นอกจากนี้ การสร้างฐานข้อมูลกลางเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้าจะช่วยให้สถาบันการเงินสามารถประเมินความเสี่ยงและอนุมัติสินเชื่อได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือการสร้างสมดุลระหว่างเป้าหมายทางเศรษฐกิจกับเป้าหมายทางสังคม ผู้กำกับดูแลต้องออกแบบนโยบายที่ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจในขณะเดียวกันก็ต้องให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงบริการทางการเงินของประชาชนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่มีรายได้น้อย

การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีได้นำมาซึ่งทั้งโอกาสและความท้าทายสำหรับระบบการเงิน เทคโนโลยีบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัลมีศักยภาพในการปฏิวัติวงการการเงิน

แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความเสถียรของระบบการเงิน ผู้กำกับดูแลต้องมีบทบาทสำคัญในการกำกับดูแลเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้เพื่อให้แน่ใจว่าจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม

ในส่วนของการทำงานร่วมกันในระดับภูมิภาคและระดับโลก ผู้เข้าร่วมการสนทนาเห็นพ้องกันว่าการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาระบบการเงินที่เชื่อมโยงกันและมีประสิทธิภาพ การกำหนดมาตรฐานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนข้อมูลจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินข้ามพรมแดน

สรุปได้ว่า การพัฒนาระบบการเงินให้มีความทันสมัยและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลเป็นเรื่องที่ท้าทายแต่ก็เป็นโอกาสสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้กำกับดูแล ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบการเงินที่โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และเป็นธรรม

[ ความยั่งยืนสำคัญกับเศรษฐกิจในระยะยาว ]

วันสุดท้าย น่าเสียดายที่ไฟลท์บินของเราบอร์ดช่วง 5 โมง ทำให้มีเวลาฟังแค่เซสชันเดียว คือ The CSOs’ dialogue: How FIs are stepping up to finance the region’s transition รวบรวมความเห็นจาก CSO (Chief Sustainability Officer) จากบรรษัทใหญ่ต่างๆ

หนึ่งในประเด็นหลักที่ถูกหยิบยกขึ้นมาคือความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงภาคเศรษฐกิจจริง ไม่เพียงแต่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับองค์กร แต่ยังรวมถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและการดำเนินงานของธุรกิจต่างๆ ให้สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงภาคพลังงานก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ถูกกล่าวถึง เนื่องจากภาคพลังงานเป็นต้นเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ทุกคนเห็นพ้องกันว่าการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่ก็ยังเผชิญกับอุปสรรคหลายประการ เช่น การขาดแคลนเงินทุน และความเสี่ยงในการลงทุน

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือการระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งยังคงเป็นความท้าทายสำคัญ เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงและผลตอบแทนจากการลงทุนในโครงการเหล่านี้ การสร้างความเชื่อมั่นและการให้ข้อมูลที่โปร่งใสจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามามีส่วนร่วม

การทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ เป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาสังคมต้องร่วมมือกันในการกำหนดนโยบาย ส่งเสริมการลงทุน และสร้างความตระหนักรู้ให้กับสังคม

สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่ก็เป็นโอกาสสำคัญสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว การสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้ให้บรรลุผลสำเร็จ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า