SHARE

คัดลอกแล้ว

‘โดนัลด์ ทรัมป์’ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ เป็นคนที่ประกาศเสมอว่าเขาไม่เชื่อเรื่องโลกร้อน และมีรายงานข่าวออกมาว่าคณะทำงานของเขากำลังเตรียมคำสั่งและประกาศเกี่ยวกับการที่สหรัฐอเมริกาจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีสที่ทุกประเทศสมาชิกจะร่วมมือกันช่วยลดอุณหภูมิโลก

ทั้งที่ตอนนี้มีรายงานออกมายืนยันแล้วว่า อากาศแปรปรวนสุดขั้วทำเศรษฐกิจโลกสูญเสียมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ภายใน 10 ปี และรายงานยังชี้ว่า สหรัฐอเมริกานั้นอ่วมสุดในทางเศรษฐกิจที่ต้องสูญเงินไปมากถึง 9.34 แสนล้านดอลลาร์

โครงการติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโคเปอร์นิคัส (Copernicus Climate Change Service: C3S) ของสหภาพยุโรป รายงานว่าปี 2567 จะเป็นปีที่โลกมีอุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่มีการบันทึกสถิติ และเป็นระดับอุณภูมิโลกที่สูงกว่าในปี 2566 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มตระหนักว่าอุณหภูมิโลกใกล้เขตอันตราย

ประเด็นภาวะอากาศแปรปรวนเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่ทำให้แต่ละประเทศต้องมาประชุมหาทางรับมือกันทุกปี โดยปีนี้กำลังมีการประชุม COP29 (การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29) ที่เปิดประชุมอย่างเป็นทางการแล้วที่ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

เวทีที่มีผู้นำจากประเทศต่างๆ รวมตัวกันเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว

ในการประชุมนี้มีการเปิดเผยรายงานถึงเศรษฐกิจโลกที่สูญเสียจากปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนจากเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดจากสภาพอากาศสุดขั้วทำให้เศรษฐกิจโลกสูญเสียมากกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ในช่วง 10 ปีมานี้ และสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงที่สุด

โดยในรายงานได้ประมาณการความเสียหายรวมของโลกในช่วงปี 2557-2566 ว่า เทียบเท่าวิกฤตการณ์การเงินโลกในปี 2551 เลยทีเดียว นั่นทำให้ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจำเป็นต้องตอบสนองด้วยความรวดเร็วและเด็ดขาด

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ตรวจสอบเหตุการณ์เกือบ 4,000 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง 10 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คน 1.6 พันล้านคน และความเสียหายของเศรษฐกิจโลกก็พุ่งสูงขึ้นเร็วในช่วงเวลาไม่กี่ปี เฉพาะปี 2565-2566 พบว่าตัวเลขความเสียหายมากถึง 4.5 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบกับ 8 ปีก่อนหน้า

เฉพาะสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวพบว่าได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากภาวะโลกแปรปรวนทางอากาศ มากถึง 934,700 ล้านดอลลาร์ รองลงมา คือ จีนที่ 267,900 ล้านดอลลาร์ และอินเดีย 112,000 ล้านดอลลาร์

รายงานยังพบว่าเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากไปอีก หากเจอภัยพิบัติจากสภาพอากาศเลวร้ายเพียงครั้งเดียวก็มักจะสร้างต้นทุนทางเศรษฐกิจที่สูงกว่าจีดีพีประจำปีของประเทศ

ในรายงานสรุปชัดว่า ข้อมูลที่ได้รวบรวมมาตลอด 10 ปี สรุปให้เห็นว่าโลกสูญเสียทางเศรษฐกิจมากแค่ไหนจากสภาพอากาศแปรปรวน แสดงให้เห็นชัดเจนว่าปัญหานี้ไม่ใช่ปัญหาในอนาคต แต่ส่งผลจริงต่อเศรษฐกิจปัจจุบัน

อย่างไรก็ตามตอนนี้สหรัฐอเมริกาที่เพิ่งได้ผู้นำประเทศคนใหม่ถูกจับตาอย่างมากถึงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เพราะมีข่าวว่านอกจาก โดนัลด์ ทรัมป์ อาจจะถอนตัวจากข้อตกลงปารีสฉบับปี 2558 ซึ่งเป็นข้อตกลงความร่วมมือสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ก็ยังมีข่าวว่า จะมีการสั่งให้ลดขนาดอนุสรณ์สถานแห่งชาติบางแห่งเพื่อให้สามารถทำการขุดเจาะและทำเหมืองได้มากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่สวนทางกับกลุ่มที่รณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมที่พยายามจะให้หลายประเทศลดการใช้พลังงานดั้งเดิมอย่างฟอสซิลให้มากขึ้น

สามารถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ Economic cost of extreme weather report

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า