SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานอีเวนต์ใหญ่อย่าง Devcon SEA 2024 หรือ Devcon 7 ช่วงวันที่ 12-15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ถือเป็นงานรวมตัวชุมชนนักพัฒนาคริปโตเคอร์เรนซี่ระดับโลก โดยเฉพาะของเหรียญ Ethereum 

งาน Devcon เริ่มจัดมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2014 เริ่มแรกยังเป็นเพียงการประชุมระหว่างนักพัฒนาเครือข่าย Ethereum เพื่ออัปเดตความเป็นไป และกำหนดทิศทางการพัฒนาเครือข่าย Ethereum 

[ Ethereum ไม่ใช่แค่คริปโต แต่เปรียบเหมือนคอมพิวเตอร์ของโลก ] 

หลังจากวันที่เครือข่าย Ethereum ได้เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคม ปี 2015 ชุมชนนักพัฒนาของ Ethereum ก็เติบโตอย่างไม่หยุดหย่อน เพราะ Ethereum นั้น ไม่ใช่เพียงเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี ให้ผู้คนได้ใช้ซื้อขายเก็งกำไร หรือนำไปฝากไว้เพื่อรับผลตอบแทนเท่านั้น 

แต่ Ethereum เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ที่ใครๆ ก็สามารถเข้ามาสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ได้ ตามเจตจำนงของผู้ก่อตั้งอย่าง ‘Vitalik Buterin’ ที่ตั้งใจจะให้ Ethereum นั้นเป็น “คอมพิวเตอร์ของโลก” ที่ไม่ว่านักพัฒนาจะอยู่มุมใดของโลก ก็สามารถร่วมกันสร้าง พัฒนา และรันแอปพลิเคชันของตัวเอง หรือ Dapp บนเครือข่าย Ethereum ได้ 

ทำให้เครือข่าย Ethereum เป็นบ่อเกิดของโครงการระดับโลกชื่อดังมากมายในโลกคริปโตเคอร์เรนซี เช่น 

        • เหรียญ BNB ของ Binance กระดานเทรดคริปโตเคอร์เรนซีที่ใหญ่ที่สุดในโลก 
        • สองเหรียญ Stablecoin ที่คงมูลค่า 1:1 กับดอลลาร์สหรัฐ อย่าง USDT และ USDC 
        • Uniswap แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลแบบกระจายศูนย์ หรือ DEX เจ้าใหญ่ และโครงการอีกมากมายนับไม่ถ้วน

ด้วยเหตุนี้เอง ทั้งจำนวนนักพัฒนาและผู้ฟังที่เข้าร่วมงาน Devcon จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละครั้งที่จัดงาน

โดยในงาน Devcon SEA 2024 ที่จัดที่ไทยครั้งนี้ มี Session ที่ครอบคลุมหลากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น การกำหนดทิศทางเครือข่าย, ความปลอดภัย รวมถึงอัปเดต Use Case ต่างๆ ที่น่าสนใจของ Ethereum ด้วย

TODAY Bizview ได้เข้าไปฟัง หนึ่งใน Session ที่น่าสนใจอย่าง “Debunking Myths about Building out of SEA” ซึ่งเป็นการแชร์มุมมองของเหล่านักพัฒนา Dapp จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

[ ในสายตาโลก อาเซียนชอบถูกมองว่าไม่สร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ]

‘Matthew Tan’ ผู้ก่อตั้ง Etherscan แพลตฟอร์มตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย Ethereum ชาวมาเลเซียแชร์ให้ฟังว่า นักพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะถูกมองว่า ไม่สามารถสร้างสรรค์ แอปพลิเคชันหรือเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นไปแข่งขันในระดับโลกได้ ซึ่งนั่นก็เป็นหนึ่งในแรงจูงใจที่ทำให้เขาเริ่มสร้างและดั้นด้นพัฒนา Etherscan มาตลอด 10 ปีที่ผ่านมา 

นอกจากนี้เขายังมองว่า การเข้ามาของ Web3 ที่เป็นอินเทอร์เน็ตแบบกระจายศูนย์ ได้ทำให้การแข่งขันของนักพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนักพัฒนาในประเทศพัฒนาแล้ว มีความเสมอภาคกันมากขึ้น เพราะสามารถเข้าถึงแหล่งทุน ข้อมูล และผู้ใช้งานได้เหมือนกัน จากการเชื่อมโยงกันอย่างไร้ตัวกลางของ Web3 นั่นเอง  

ส่วน ‘TN Lee’ ผู้ร่วมก่อตั้ง และ CEO ของ Pendle แพลตฟอร์ม DeFi ที่มีจุดเด่นในด้านการล็อกผลตอบแทนเล่าว่า อันที่จริงแล้วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความได้เปรียบจากทรัพยากรมนุษย์ที่มหาศาล เพราะแม้จะขอเพียงแค่คนที่เก่งที่สุด 1% ก็ถือว่ามีคนให้เลือกตั้งมากมายแล้ว จากจำนวนประชากรเกือบ 700 ล้านคน ซึ่งถ้าเข้าถึงพวกเขาเหล่านั้นได้ การจะสร้างสรรค์แพลตฟอร์มให้ไปไกลระดับโลกก็ไม่ใช่เรื่องยาก

พอถึงตรงนี้ ‘Loi Luu’ ผู้ก่อตั้ง Kyber Network แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนโทเคนระหว่างเครือข่ายเวียดนาม ก็ได้เสริมด้วยว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้นักพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความได้เปรียบก็คือ เรื่องของค่าครองชีพ และค่าแรงที่ค่อนข้างถูกกว่า

เพราะการพัฒนาโปรเจคต์แต่ละครั้ง อาจจะต้องเผาเงินเป็นเวลา 1 ถึง 2 ปี ก่อนจะเริ่มมีรายได้ ซึ่งการจะเอาตัวรอดด้วยค่าครองชีพในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ หรือฮานอย ก็น่าจะง่ายกว่าในประเทศอื่นๆ ส่วนค่าแรงที่ยังค่อนข้างถูก ก็ทำให้การพัฒนาโปรเจต์มีต้นทุนที่ถูกกว่าประเทศอื่น ๆ แต่ก็แลกมากับการที่ผู้ร่วมพัฒนา มักจะถูกดึงตัวไปทำโปรเจกต์อื่น ด้วยค่าแรงที่สูงกว่า

จะเห็นได้ว่า นักพัฒนาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประสบความสำเร็จ ที่นั่งอยู่ตรงนี้ ต่างก็เป็นนักพัฒนาแพลตฟอร์ม DeFi หรือแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคริปโทเคอร์เรนซี ซึ่งถ้าจะหาเหตุผลว่าทำไม ธุรกิจแพลตฟอร์มประเภทนี้ ส่วนใหญ่ถึงมีจุดเริ่มต้นความสำเร็จ จากภูมิภาคนี้ 

‘Matthew’ ก็ได้ให้บริบทของทางประเทศมาเลเซียว่า ด้วยความที่กฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีค่อนข้างเข้มงวด ทำให้เขาเลือกที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มตรวจสอบธุรกรรมอย่าง Etherscan มากกว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม DeFi ที่มีเรื่องการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเลี่ยงประเด็นทางด้านกฎหมาย 

ในขณะที่ฝั่งประเทศสิงคโปร์นั้น ‘TN Lee’ ก็ได้ให้ความเห็นว่า ด้วยความที่สิงคโปร์เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินที่สำคัญของโลก ทำให้เขาและนักพัฒนาคนอื่นๆ สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ง่าย และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบการเงินต่างๆ ที่ดี นั่นจึงทำให้เขาสามารถเริ่มพัฒนาโปรเจคต์ พร้อมทั้งมีไอเดียในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย 

ด้าน ‘Loi Luu’ กล่าวว่า นักพัฒนาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักจะขายโมเดลธุรกิจใหม่ๆ ให้กับนักลงทุนไม่ค่อยเก่งนัก อีกทั้งการเข้าถึงเงินทุนที่ค่อนข้างจำกัด ในหลายๆ ประเทศ ทำให้การเลือกทำโปรเจกต์ ที่มีโมเดลรายได้แน่นอนตั้งแต่แรก เช่น แพลตฟอร์ม DeFi หรือแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลกว่า 

จากทั้งหมดนี้เองจะเห็นได้ว่า แม้ที่ผ่านมาจะเป็นเรื่องยากที่ แพลตฟอร์มจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะออกไปสู่เวทีโลก แต่การมาถึงของบล็อกเชน และ Web3 ก็ทำให้การเข้าถึงผู้ใช้งานทั่วโลก ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เหมือนอย่างที่ Etherscan, Pendle และ Kyber Network จากประเทศเพื่อนบ้านของเราได้ทำสำเร็จไปแล้ว

ซึ่งถ้าหากนักพัฒนาของประเทศไทย ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจัง ก็น่าคิดเหมือนกันว่างาน Devcon ในอนาคตที่มีโอกาสเวียนกลับมาจัดในประเทศไทยอีกรอบนี้ อาจจะมีนักพัฒนาจากประเทศไทย ได้ขึ้นไปเป็นสปีคเกอร์ พร้อมบอกเล่าความสำเร็จในระดับโลกของตัวเองได้เหมือนกัน.. 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า