SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญนอกจากเรื่องหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นและการจัดเก็บรายได้ที่หดตัวลง โดยเฉพาะในภาษีน้ำมันและภาษีจากสินค้ายาสูบแล้ว ยังมีอีกประเด็นที่ควรให้ความสนใจคือการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI)

หากย้อนไปดูในปี 2564 จะพบว่าปีนี้เป็นปีที่เริ่มมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกลับเข้ามาหลังจากปรับลดลงในปี 2563 ไปอยู่ที่ 49,513 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.75 ล้านล้านบาท 

ส่วนในปี 2564 มีมูลค่าอยู่ที่ 65,282 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 2.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.85% จากปีก่อนหน้า และสูงขึ้นอีกเล็กน้อยในปี 2565 ที่ 67,446 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 2.43 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.31% จากปีก่อนหน้า 

ขณะที่ในปี 2566 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในไทยอยู่ที่ 55,692 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.93 ล้านล้านบาท ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือลดลงกว่า 17%

ประเทศที่มีการเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุดในปีที่ผ่านมา คือ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน และมาเลเซีย

ส่วนอุตสาหกรรมที่ได้รับการลงทุนมากที่สุด คือ การผลิต กิจกรรมทางการเงินและการประกันภัย กิจกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ การผลิตอาหาร การขายส่งและการขายปลีก รวมถึงการซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์

[ FDI คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ ]

หลายคนอาจสงสัยว่าประเด็นนี้มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างไร ก็คงต้องอธิบายว่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศถือเป็นปัจจัยสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก 

โดยการลงทุนนี้นำมาซึ่งการถ่ายโอนเทคโนโลยีการสร้างงานและการพัฒนาทักษะของแรงงานไทย รวมถึงยังมีผลต่อการกระจายรายได้และการเติบโตทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ เมื่อมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามา ยังส่งผลดีให้กับประเทศไทยในอีกหลายๆ ด้าน เช่น

1) ช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาในภาคการผลิตและบริการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับอุตสาหกรรม

 2) ช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์และพลังงาน รวมถึงปรับปรุงกฎหมายเพื่อเพิ่มความสะดวกในการดำเนินธุรกิจและดึงดูดการลงทุน และ

3) ช่วยส่งเสริมการศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะของแรงงานไทยให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดการลงทุนสมัยใหม่ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้และเพิ่มโอกาสการจ้างงาน

[ เมื่อ FDI ลดลง เศรษฐกิจก็ถดถอยตาม ] 

อย่างที่เราพอจะเข้าใจในเบื้องต้นแล้วว่าการลงทุนโดยจากประเทศสำคัญตรงที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของประเทศในหลายๆ ด้าน ทั้งเงินทุนและทรัพยากร การจ้างงานที่จะเพิ่มขึ้น รวมไปถึงการนำมาซึ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับประเทศ

ในทางตรงกันข้ามหากไม่มีการลงทุนจากต่างประเทศ เงินทุนทรัพยากรก็จะขาด การจ้างงานก็จะลดลง ประเทศก็จะล้าหลังเพราะไม่มีการสนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งก็ส่งผลไปถึงภาพรวมเศรษฐกิจที่จะโตช้าลง

เปรียบเทียบให้เห็นภาพมากขึ้น อาจจะอธิบายง่ายๆ ว่าประเทศไทยเป็นเหมือนบริษัทแห่งหนึ่งที่ก็ต้องการเงินลงทุนจากนักลงทุนภายนอก เพื่อไปลงทุนไปขยายธุรกิจในส่วนต่างๆ ซึ่งหากไม่มีเงินลงทุนเข้ามาลำพังเงินของตัวเองที่มีก็อาจจะไม่เพียงพอที่จะสร้างการเติบโตใหม่ๆ 

ดังนั้น การที่ได้เงินลงทุนจากต่างประเทศจึงสำคัญเพราะถ้าไม่มีเงินก็ไม่มีการลงทุนไม่มีการเติบโต เศรษฐกิจก็จะย่ำอยู่กับที่หรือเติบโตในลักษณะเดิมๆ 

[ เศรษฐกิจไม่โต คนรวยยากขึ้น คนจนยิ่งลำบาก ]

เมื่อการลดลงของเงินลงทุน FDI ส่งผลให้เศรษฐกิจไม่ค่อยเติบโต แน่นอนว่าผลกระทบที่จะตามมาคือผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชากรภายในประเทศ เพราะเศรษฐกิจที่โตช้าลงจะส่งผลต่อรายได้และความมั่นคงของประชากรโดยตรง

เนื่องจากเงินลงทุน FDI มักมาพร้อมกับการก่อตั้งโรงงานหรือธุรกิจใหม่ ซึ่งสร้างงานในท้องถิ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่หาก FDI ลดลง โอกาสในการสร้างงานใหม่ๆ ก็จะลดลง ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยของคนลดลง และทำให้การกระจายความมั่งคั่งช้าลง

นอกจากนี้ บริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนก็ต้องมีการจ่ายภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ และรัฐบาลสามารถนำไปใช้พัฒนาประเทศต่อได้ เช่น โครงสร้างพื้นฐานหรือสวัสดิการสังคม ซึ่งหาก FDI ลดลงรัฐบาลจะมีรายได้ลดลง ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและกระทบไปถึงคุณภาพของประชากรในระยะยาวด้วย

สรุปก็คือ ประเทศที่มีการลงทุนจากต่างประเทศ หรือ FDI เข้ามาเศรษฐกิจก็จะเติบโตเมื่อประเทศมีรายได้อย่างสม่ำเสมอจะส่งผลให้คนในประเทศมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือร่ำรวย ตรงกันข้ามหากไม่มีเงินลงทุนเข้ามาเศรษฐกิจไม่โต คุณภาพชีวิตของคนในประเทศก็จะไม่ดีนั่นเอง

[ อยากให้เศรษฐกิจบูม ต้องดึง FDI กลับมา ] 

สำหรับในภูมิภาคเอเชียประเทศที่ได้รับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากที่สุดในปัจจุบัน คือ สิงคโปร์ที่ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเงินและเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน โดยในปี 2566 มีมูลค่า FDI ประมาณ 2.14 แสนล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 5.67 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเงิน การประกันภัยและบริการดิจิทัล

ซึ่งสิงคโปร์ถือว่าเป็นประเทศตัวอย่างที่แสดงให้ถึงความโดดเด่นด้านนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากภาครัฐบาล มีโครงสร้างพื้นฐานและตลาดแรงงานที่ตอบโจทย์นักลงทุนทำให้ยังคงดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้มากในภูมิภาคเอเชีย

ดังนั้น ถ้าอยากให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด สำหรับรัฐบาลชุดใหม่นี่เป็นโจทย์ใหญ่ที่ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าประเด็นอื่นๆ เพราะหากทำให้ประเทศไทยกลับมาเป็นจุดสนใจของนักลงทุนได้อีกครั้งและมีเงินลงทุนกลับเข้ามาทำให้เศรษฐกิจของไทยฟื้นตัวได้ก็จะส่งผลให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นไปด้วย 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า