SHARE

คัดลอกแล้ว

อัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ ขอออกหมายจับ ‘มิน อ่อง หล่าย’ ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร ทูเดย์สรุปจบในโพสต์เดียว 

เป็นประเด็นใหญ่ที่กำลังถูกจับตา เมื่อ คาริม ข่าน หัวหน้าอัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ยื่นคำร้องต่อผู้พิพากษา ให้ออกหมายจับ พลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา จากกรณีเนรเทศและกดขี่ข่มเหงชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในเมียนมา ทำให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 700,000 คน ต้องลี้ภัยไปบังกลาเทศ  

เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2017 แต่อัยการต้องใช้เวลาเกือบ 5 ปี ในการสอบสวนเรื่องนี้ เนื่องจากมีอุปสรรคจากสถานการณ์ภายในเมียนมา ที่ตกอยู่ในความวุ่นวายตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อปี 2021

หัวหน้าอัยการให้เหตุผลในการขอออกหมายจับ มิน อ่อง หล่าย ว่าหลังทำการสืบสวนอย่างครอบคลุม อิสระ และเป็นกลาง พบเหตุผลสมควรเชื่อได้ว่า ผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมาความผิดทางอาญาในการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ

ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการขอหมายจับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเมียนมา และจะมีการขอออกหมายจับเพิ่มเติมอีกในภายหลัง

โดยอัยการยืนยันว่า มีสิทธิเปิดการสอบสวนเรื่องนี้ และดำเนินคดีอย่างเป็นทางการ แม้เมียนมาจะไม่ได้เป็นสมาชิก ICC แต่จากการตัดสินของผู้พิพากษาเมื่อปี 2018 และ 2019 ชี้ว่า ศาลมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมข้ามพรมแดนที่ถูกกล่าวหา ซึ่งบางส่วนเกิดขึ้นในบังกลาเทศที่เป็นสมาชิกของ ICC 

กระบวนการที่จะเกิดขึ้นต่อมา ก็คือผู้พิพากษา 3 คนของ ICC จะพิจารณาตัดสินว่า ความผิดตามคำร้อง มีน้ำหนักมากพอที่จะดำเนินคดีหรือไม่ ซึ่งตามปกติ การพิจารณาไม่มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจน แต่จากกรณีที่ผ่านมาๆ คาดว่าอาจใช้เวลาประมาณ 3 เดือนในการตัดสินใจ 

ผลที่ตามมาหากมีการออกหมายจับ จะทำให้ มิน อ่อง หล่าย ตกเป็นผู้ต้องหาของ ICC มีสิทธิ์ถูกจับกุมหากปรากฏตัวในดินแดนของรัฐภาคี 124 ประเทศ ที่ให้สัตยาบันรับรองเขตอำนาจศาล 

ดังนั้น ในทางเทคนิค แม้เมียนมาจะไม่ใช่ชาติสมาชิก ICC แต่จะส่งผลให้เขาเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในเขตอำนาจศาลได้ยากขึ้น 

กรณีนี้คล้ายคลึงกับกรณีของ เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ที่ถูก ICC ออกหมายจับ พร้อมกับ รัฐมนตรีกลาโหม โยอาฟ กัลแลนต์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 

หมายจับของ ICC ไม่ได้ส่งผลอะไร ขณะที่พวกเขาอยู่ในอิสราเอล เพราะอิสราเอลก็ไม่ได้อยู่ในเขตอำนาจศาล แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ พวกเขาต้องคิดหนักหากจะเสี่ยงเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ ที่เป็นสมาชิก ICC

โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี 2002 จนถึงปัจจุบัน ICC ดำเนินคดีอาญาระหว่างประเทศมาแล้ว 32 คดี มีการออกหมายจับบุคคลต่างๆ มาแล้ว 59 ราย 

แต่มีเพียง 21 รายที่มามอบตัวกับศาล นอกนั้นอีก 30 ราย ยังคงหลบหนี หรือจะพูดว่าหลบหนีก็ไม่เชิง เพราะพวกเขาอยู่ในดินแดนที่อยู่นอกเขตอำนาจศาล และยังคงเพิกเฉย 

ขณะที่ 7 รายถูกยกเลิกหมายจับไปแล้วเนื่องจากเสียชีวิต 

ความเคลื่อนไหวล่าสุดของอัยการ ICC  ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพิจารณาคดีต่อผู้นำรัฐบาลทหารเมียนมา ขณะเดียวกันก็ยังคงมีอีกหลายคดีที่ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวน รวมถึงคดีที่เกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม จากการใช้ความรุนแรงปราบปรามผู้เห็นต่าง ตั้งแต่เกิดรัฐประหาร ซึ่งมีการประมาณการณ์ว่า มีพลเรือนถูกสังหารไปแล้วหลายพันคน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า