SHARE

คัดลอกแล้ว

ปีหน้าสิ่งที่เราต้องเจอไม่ใช่แค่ ‘ความเสี่ยง’ แต่คือ ‘ความไม่แน่นอน’ ซึ่งเป็นอะไรที่ควบคุมและระบุได้ยากว่าผลข้างเคียงที่ตามมาจะเป็นยังไง

ความไม่แน่นอนที่ต้องเจอในปี 2568 คือ

1.การแยกส่วนทางภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geoeconomic Fragmentation) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งก็ยังดูไม่ออกว่าจะรุนแรงแค่ไหน แต่ก็เห็นภาพที่ชัดเจนว่าโลกมีการแยกส่วนทางภูมิศาสตร์เกิดขึ้นจริง

2.นโยบายเศรษฐกิจประเทศหลักที่จะส่งผลต่อตลาดการเงินและเศรษฐกิจโลก ซึ่งสิ่งที่เห็นคือเศรษฐกิจของประเทศหลักและนโยบายการเงินยังไม่ไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจแต่ละประเทศที่ฟื้นตัวไม่เท่ากัน

3.Market & Pricing of risk คือการรับรู้ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในตลาดยังไม่มากพอ

ตัวอย่างผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยในช่วงที่ผ่านจากความไม่แน่นอน ได้แก่

1.มูลค่าสินค้าที่นำเข้าจากจีนมากเกินไป ทำให้ภาคการผลิตของไทยไม่โต แม้ว่าอุปสงค์จะมีเยอะก็ตาม

2.สินเชื่อเข่าซื้อและราคารถยนต์มือสองในไทยหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่ประเทศไทยจำเป็นต้องมีคือ Resiliecy ที่ไม่ใช่แค่เสถียรภาพแต่คือความทนทาน ความยืดหยุ่น และการปรับตัวที่ดี หรือล้มแล้วลุกได้เร็ว

ธนาคารแห่งประเทศไทยทำอะไรบ้างเพื่อให้เศรษฐกิจไทยมี Resiliecy?

1.ดำเนินนโยบายแบบยืดหยุ่นรองรับได้หลายสถานการณ์ หรือเรียกว่า Robust Policy

2. สร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน (Buffer) ตัวอย่างสิ่งที่ธปท.ทำคือ

– แก้หนี้ครัวเรือนอย่างยั่งยืน โดย 9 เดือนแรกปี 2567 ปรับโครงสร้างหนี้แล้ว 6.1 ล้านบัญชี มูลค่า 2.1 ล้านล้านบาท

– จัดการภัยทุจริตทางการเงิน ตั้งแต่ ส.ค.- ต.ค. 2567 ระงับบัญชีม้าไปแล้ว 1.4 ล้านบัญชี หรือ 1.17 แสนรายชื่อ

3. สนับสนุนการสร้างโอกาสจากกระแสโลกใหม่ (digital & transition) สิ่งที่ทำคือ

-สนับสนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมกับโครงการ financing the transition ที่เปิดตัวไปเมื่อส.ค.ที่ผ่านมา

-วางรากฐานการเงินดิจิทัลภายใต้ 3 Open
1. QR payment จะเชื่อมกับเกาหลีใต้และอินเดียในปี 2568
2. ตั้งกลไกค้ำประกันเครดิตที่ยืดหยุ่นขึ้น
3. Virtual bank ประกาศผลการคัดเลือกกลางปี 2568 และเริ่มดำเนินการปี 2569

‘การดำเนินนโยบายจำเป็นต้องมี Resiliecy ที่ทำควบคู่กันไปกับเรื่องอื่นๆ ด้วย เพราะแค่ดอกเบี้ยอย่างเดียวไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ไขได้ทุกอย่าง’

หัวข้อ : Thailand’s Monetary and Financial Policy : Building Resiliency for an Uncertain World นโยบายการเงินนำประเทศรับมือบริบทโลกใหม่ โดย ‘ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย

ภายใต้งานสัมมนา Thailand Next Move 2025 : “Resiliency for an Uncertain World” จากวารสารการเงินธนาคาร

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า