ปีหน้า 2568 เศรษฐกิจไทยังน่าห่วง TODAY Bizview สรุปประเด็นจากงานสัมมนา : Building Resilient Growth For Thai Economy เปิดเส้นทางใหม่นำเศรษฐกิจไทย เติบโตอย่างยั่งยืน
จากมุมมอง ‘ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย’ กรรมการผู้จัดการ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร และ ‘ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์’ กรรมการผู้จัดการ Thailand Future
‘เกียรตินาคินภัทร’ มองว่าประเทศไทยยังมีความท้าทายและความน่ากังวล 3 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1. ความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย ช่วงก่อนโควิดการท่องเที่ยวและภาคบริการเป็นขับเคลื่อนที่ดีของไทย ในปัจจุบันยังคงเป็นแรงส่งที่สำคัญ แต่จะเริ่มเบาลง
2. ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีทำให้เห็นด้านการปล่อยสินเชื่อที่ลดลง ส่งผลให้หนี้เสีย (NPL) สูงขึ้น
3. นโยบายของ โดนัลล์ ทรัมป์ ที่จะกดดันต่อภาคส่งออกและภาคการผลิต ด้านสงครามการค้า ที่จะส่งผลกระทบกับไทยที่คาดเดาได้ยาก เช่น ภาษีที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรอง
‘สิ่งที่ต้องทำคือการปฎิรูปเศรษฐกิจ เพราะถ้าไม่มีการปฏิรูปอย่างจริงจัง มีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะโตช้าลงเรื่อยๆ ’
[ ตัวอย่างการปฎิรูปเศรษฐกิจที่ต้องทำ คือ ]
- ปฏิรูปนโยบายคนเข้าเมืองเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะสูง เพื่อผลักดันให้ไทยก้าวขึ้นเป็น Technology hub ในภูมิภาค ลดกฎระเบียบและลดการทุจริต คอร์รัปชั่น เพื่อลดต้นทุนของการทำธุรกิจ
- ต้องผลักดันให้คนรุ่นใหม่สามารถเข้าถึงและใช้เทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่ๆ ให้เป็น
- สนับสนุนการลงทุนด้าน R&D โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมศักยภาพเพื่อส่งเสริมจุดแข็งของไทยด้วย
- การศึกษาไทยก็จำเป็นจะต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้ไปเน้นคุณภาพ เน้นทักษะ ที่จำเป็นและเป็นที่ต้องการของโลกใหม่ๆ มากขึ้นให้ได้
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อผลักดันให้เกิด Digital Ecosystem เต็มรูปแบบในไทย
ทางด้าน ‘Thailand Future’ ก็มองไม่ต่างจาก ‘เกียรตินาคินภัทร’ เพราะปีหน้าไทยยังมีปัญหาทั้งภาคการเงินและโครงสร้างที่รออยู่ ได้แก่
1.‘โดนัล ทรัมป์’ ที่จะมาพร้อมกระทรวงใหม่ที่มี ‘อีลอน มัสก์’ เป็นหนึ่งในคณะทำงานจะเดินนโยบายยังไง และธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะเป็นไปในทิศทางไหน 2 ประเด็นนี้สำคัญและส่งผลต่อนโยบายทางการเงินของสหรัฐ และส่งผลมาถึงประเทศไทยในทางนโยบายดอกเบี้ยและเศรษฐกิจ
2. คู่แข่งที่ไม่เคยเจอมาก่อน โดยเฉพาะอุตสาหกรรม AI ที่เข้ามีบทบาทมากขึ้น กลุ่มที่เห็นผลกระทบแล้วคืออาชีพเด็กฝึกงาน ภายใต้กฏใหม่ที่จะต้องทำรายได้ แน่นอนว่าภาคธุรกิจก็มีทางเลือกในการนำ AI มาทดแทนเพื่อลดต้นทุนค่าจ้างลง
‘คอขวดหลักของการใช้ AI ในตอนนี้คือยังไม่เคยลองมากกว่า ไม่ใช่แค่เรื่องต้นทุน แต่ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัว’
เพราะ AI จะเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาโครงสร้างประเทศทั้งในแง่ เพิ่มรายได้ลดภาระหนี้ และเพิ่มโอกาสในการเกิดนวัตกรรมสินค้าใหม่ๆ
อีกหนึ่งประเด็นสำคัญคือปัจจุบันประเทศไทยยังมีปัญหาการจ้างงานขั้นสุด การมี AI เข้ามาอาจจะเป็นคำตอบในการทดแทนแรงงานที่หายไปตั้งแต่แรก เชื่อว่า AI ไม่ได้ทำให้คนตกงานเพราะคนตกงานคือคนที่อยู่ในงานที่ผิดตั้งแต่แรก
[ แนะรัฐบาล 3 ข้อ ปรับโครงสร้างช่วยพัฒนาประเทศ ]
1. ลงทุนในมนุษย์ (แบบคิดนอกกรอบ) ด้วยการเพิ่มคุณภาพและปริมาณของทุนมนุษย์ในเศรษฐกิจไทย และดึงดูดทาเลนต์ เงินทุน และทักษะจากต่างประเทศให้ได้มากกว่าเดิม
2. หล่อลื่น/หล่อเลี้ยงตลาดแรงงานอย่างมี data เพื่อช่วยให้ตลาดแรงงานทำงานได้เร็ว จับคู่ระหว่างงานกับลูกจ้างให้แม่นกว่าเดิม ลดระยะเวลาว่างงาน และเยียวยาแรงงานระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างมีข้อมูล
3. ยกระดับการกำกับดูแลระบบตลาดต่างๆ ตัวอย่างเช่น ระบบภาษี ให้เก็บเป็น % ต่อ GDP สูงขึ้น การพัฒนาระบบตลาดทุนลดให้ระยะเวลา due Process และหันโฟกัสการเพิ่มภูมินักลงทุนแทนการตัดสินใจให้แทน เป็นต้น