SHARE

คัดลอกแล้ว

เราเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่ส่งออกทุเรียนไปจีน ทำให้ ‘ทุเรียนไทย’ อยู่ในตลาดจีนมาอย่างยาวนาน

แม้คนจีนจะคุ้นลิ้นกับทุเรียนไทย แต่สถานการณ์ตอนนี้ท้าทายขึ้น เพราะจีนเปิดทางให้หลายชาติอาเซียน นำทุเรียนสดเข้าไปขายในจีนเช่นกัน แถมยังมีข้อได้เปรียบเรื่องราคาและการขนส่ง ทีทุเรียนจากบางชาติมีบริการส่งตรงจากสวนถึงบ้านทีเดียว

คำถามที่สำคัญคือ ทุเรียนไทยจะเอายังไงต่อ วันนี้สำนักข่าวทูเดย์เอาความเห็นของผู้ประกอบการจีนที่พูดถึงทุเรียนไทยมาแชร์ให้ฟัง

ปัจจุบันจีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนผลสด จาก 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

อย่างไรก็ตาม ‘ทุเรียนไทย’ ยังมีปริมาณนำเข้าอันดับ 1 มีปริมาณการนำเข้า 558,309 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 2,855 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสัดส่วน 66.97% ของปริมาณการนำเข้าทุเรียนผลสดทั้งหมดของจีน แต่ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า 7.03%

ส่วนอันดับที่ 2 คือเวียดนาม ซึ่งครองสัดส่วน 32.81% และที่น่าสนใจคือเวียดนามมีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึง 47.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ มีสัดส่วน 0.22% ส่วนมาเลเซียในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมา ยังไม่มีการนำเข้าทุเรียนผลสดจากมาเลเซีย จึงยังไม่มีตัวเลขให้เห็น

สำนักข่าวซินหัว สื่อทางการจีน สอบถามความเห็นพ่อค้าทุเรียนในจีน หลายเสียงให้ความเห็นตรงกันว่า ทุเรียนไทยยังครองใจสาวกทุเรียนชาวจีน โดย ‘ทุเรียนหมอนทอง’ ของไทย ได้รับความนิยมในหมู่ผู้บริโภค แต่พอมีการนำเข้าจากหลายประเทศเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคไม่แน่ใจว่าที่ซื้อไปเป็นทุเรียนไทยจริงหรือไม่

เช่นเดียวกับการไปสำรวจร้านผลไม้และซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งที่พบว่า ทุเรียนที่มีเนื้อแน่นสีสวยและรสชาติหวานละมุน ขายหมดเร็วที่สุดแม้มีราคาแพงกว่า

คนวงในแวดวงทุเรียนในตลาดจีนชี้ว่า หากพิจารณาจากฤดูการผลิต ทุเรียนเวียดนามเพียงช่วยเติมเต็มช่องว่างการบริโภคทุเรียนในตลาดจีน

ที่ผ่านมา รัฐบาลท้องถิ่นของจีน ใช้วิธีติดตราบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์สินค้าเกษตรแห่งประเทศจีน กับผลไม้ที่มีความพิเศษ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการและสมาคมธุรกิจบางส่วนจะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและติดรหัสคิวอาร์บนบรรจุภัณฑ์ของผลไม้ที่เข้าสู่ตลาด

รหัสคิวอาร์แต่ละอันมีลักษณะเฉพาะตัว เปรียบเสมือน ‘บัตรประจำตัว’ ของผลไม้ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบ ‘วงจรชีวิตเต็ม’ ของผลไม้ที่ซื้อไปด้วยการสแกนรหัสคิวอาร์นี้เพื่อป้องกันการสวมรอย ซึ่งนับเป็นวิธีการที่คุ้มค่าสำหรับทุเรียนไทย

ส่วนทุเรียนมาเลเซียที่ถูกนำเข้าสู่จีนครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2024 แตกต่างจากทุเรียนไทยและทุเรียนเวียดนามในด้านการเก็บเกี่ยว

ขณะเดียวกัน ทุเรียนมาเลเซียต้องรอให้ผลผลิตสุกและตกหล่นลงมาจากต้นเอง ทำให้ต้องรับประทานภายใน 2-3 วัน นำไปสู่การขนส่งมีข้อกำหนดมากขึ้น ดันราคาทุเรียนมาเลเซียให้สูงขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้

แต่ถึงอย่างนั้น ทุเรียนมาเลเซียก็มีกลุ่มแฟนเฉพาะ และทุเรียนมาเลเซียก็มีกลไกการตลาดถึงผู้บริโภค ที่น่าจะเป็นวิธีที่ไทยควรเรียนรู้เพื่อมาพัฒนาตลาดทุเรียนไทย

หวังเย่าหง ผู้คลุกคลีกับการค้าผลไม้มานานหลายปี เผยว่าแม้ราคาทุเรียนมูซังคิงของมาเลเซียนั้นสูง แต่ด้วยรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ การควบคุมคุณภาพเข้มงวด และการบริการโลจิสติกส์ที่เชื่อถือได้ ทำให้ยังคงได้ใจผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมาก ซึ่งทุเรียนไทยสามารถเรียนรู้โมเดลนี้ในอนาคตเพื่อรักษาสถานะผู้นำตลาด

โดยทุเรียนมาเลเซียมีบริษัทขนส่งครบวงจรจากสวนถึงหน้าบ้าน โดยขนส่งถึงเซินเจิ้น กว่างโจว และเมืองใหญ่ในมณฑลกวางตุ้ง ได้เร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง และขนส่งถึงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเมืองใหญ่แห่งอื่นๆ ภายใน 48 ชั่วโมง

สื่อทางการจีนประเมินว่า การแข่งขันของตลาดทุเรียนในจีนจะดุเดือดยิ่งขึ้นมากในอนาคต เนื่องจากปัจจุบัน ตลาดทุเรียนของจีนมีขนาดใหญ่และยังบริโภคทุเรียนสดเป็นหลัก ไม่ได้บูรณาการและพัฒนาเชิงลึกร่วมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การจัดเลี้ยงและอาหาร จึงมีศักยภาพมหาศาลในการพัฒนาในอนาคต

โดยสำนักข่าวซินหัวชี้ว่า นี่เป็นเหตุผลที่ทำไมประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งอื่นๆ พยายามแสวงหาส่งออกทุเรียนสู่จีน พร้อมยกการพัฒนาอุตสาหกรรมทุเรียนภายในประเทศจีนที่มณฑลไหหลำ ทางตอนใต้ของจีนอย่างรวดเร็ว ทำให้การแข่งขันของตลาดทุเรียนในจีนจะดุเดือดยิ่งขึ้นมากในอนาคต

ผู้ประกอบการทุเรียนในจีนแนะนำว่า ทุเรียนไทยต้องห้ามมองข้าม 2 ข้อ หนึ่ง คือ สร้างสรรค์การตลาดรูปแบบใหม่ เสริมสร้างการสื่อสารกับผู้ค้าปลีกในจีนด้วยการเปิดร้านค้าพิเศษ จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย เปลี่ยนคืนสินค้าที่เน่าเสีย ฯลฯ เพื่อกระชับความนิยมทุเรียนไทยของผู้บริโภคชาวจีน

และสอง คือ พยายามเสริมสร้างการเพาะปลูกทุเรียนสายพันธุ์ใหม่เพื่ออุดช่องว่างในอุปทานทุเรียนไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า