SHARE

คัดลอกแล้ว

กระบวนการถอดถอนประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ‘ยุน ซอกยอล’ ดำเนินมาถึงชั้นศาลรัฐธรรมนูญแล้ว

ขั้นตอนนี้ ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ณ เวลานี้มีอยู่ 6 คน จะต้องลงมติเป็นเอกฉันท์เท่านั้น ถึงจะถอดถอน ‘ยุน ซอกยอล’ ได้

นี่คือโจทย์ยากของการเมืองเกาหลีใต้ ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายประธานาธิบดียุน อาจรอดจากการถูกถอดถอนได้ เว้นแต่มีการแต่งตั้งผู้พิพากษาเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งเป็นแนวทางที่พรรคฝ่ายค้านเกาหลีใต้กำลังเดินหน้าอยู่

วันนี้สำนักข่าวทูเดย์จะรวบรวมข้อมูล และข้อสังเกตจากผู้เชี่ยวชาญในเกาหลีใต้มาเล่าให้ฟังกัน

กระบวนการถอดถอน ‘ยุน ซอกยอล’ เดินทางมาถึงจุดนี้ได้ หลังจากเมื่อวันเสาร์ (14 ธ.ค.) สภาเกาหลีใต้ลงมติ 204 เสียง เกิน 2 ใน 3 ของสมาชิกทั้งหมด ถอดถอนประธานาธิบดียุน ซอกยอล จากการประกาศกฎอัยการศึกเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. ที่ผ่านมา

ในวันนี้ (16 ธ.ค.) ผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญได้เริ่มกระบวนการพิจารณาถอดถอนแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ รักษาการหัวหน้าผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญ มุน ฮยอง-แบ ยืนยันว่า จะดำเนินการอย่างรวดเร็วและเป็นธรรม

ตามปกติแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้มีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน แต่ในตอนนี้มีผู้พิพากษาที่อยู่ในตำแหน่ง 6 คน และมีตำแหน่งว่าง 3 ตำแหน่ง โดยผู้พิพากษาทั้ง 6 คนประกอบด้วย

1) มุน ฮยอง-แบ ได้รับแต่งตั้งปี 2019

2) ลี มีซง ได้รับแต่งตั้งปี 2019

3) คิม ฮยองดู ได้รับแต่งตั้งปี 2023

4) จอง จองมี ได้รับแต่งตั้งปี 2023

5) ชอง ฮยองซิก ได้รับแต่งตั้งปี 2023

6) คิม บก-ฮยอง ได้รับแต่งตั้งปี 2024

ภายใต้รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ การถอนถอนประธานาธิบดีจะต้องได้รับการเห็นชอบจากผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญอย่างน้อย 6 เสียง นั่นเท่ากับว่า การพิจารณาถอดถอน ‘ยุน ซอกยอล’ สามารถทำได้ แต่ผู้พิพากษาที่มีอยู่ทั้ง 6 คนจะต้องลงมติ ‘ถอดถอน’ อย่างเป็นเอกฉันท์ ห้ามมีผู้พิพากษาคนใดมีความเห็นเป็นอื่น

แม้ตามกฎหมายจะเป็นไปได้ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะถ้าประเมินทางการเมือง

ลิม จีบง ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายจาก Sogang Law School ให้ความเห็นกับ The Korea Herald ว่า ศาลรัฐธรรมนูญคงไม่ต้องการให้การวินิจฉัยนี้เกิดจากผู้พิพากษาแค่ 6 คน เพราะนี่จะทำให้ภาระทางการเมืองทั้งหมดตกอยู่กับผู้พิพากษา

โดยสาเหตุสำคัญที่ยังมีตำแหน่งผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญว่างถึง 3 ตำแหน่ง เพราะที่ผ่านมาฝ่ายการเมืองไม่สามารถตกลงกันได้

อย่างไรก็ตาม หลังประธานาธิบดียุน ซอกยอลถูกสั่งยุติปฏิบัติหน้าที่ รักษาการประธานาธิบดีฮัน ด็อกซู ซึ่งเป็นนักการเมืองสายประนีประนอมและทำงานมาแล้วกับหลายรัฐบาล ยืนยันจะไม่ขัดขวางการแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญที่มาจากพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งมีเสียงข้างมากในสภา

เช่นเดียวกับโฆษกพรรคฝ่ายค้าน ยืนยันว่า รัฐสภาเกาหลีใต้จะแต่งตั้งผู้พิพากษา 3 คนที่เหลือภายในสิ้นปี

การแต่งตั้งผู้พิพากษาให้ครบองค์คณะ 9 คน เพื่อพิจารณาถอดถอน ‘ยุน ซอกยอล’ จึงอาจเกิดขึ้น และนี่จะช่วยลดแรงกดดันทางการเมือง จากเงื่อนไขปัจจุบันที่ผู้พิพากษาทุกคนต้องลงมติเห็นชอบกับการถอดถอนทั้งหมดด้วย

คำถามต่อมาก็คือ แล้วผู้พิพากษาแต่ละคนมีแนวโน้มลงคะแนนเรื่องนี้อย่างไร

ถ้าดูตามวาระการดำรงตำแหน่งจะพบว่า มีผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ถึง 4 คน ที่ได้รับการแต่งตั้งในสมัยที่ ‘ยุน ซอกยอล’ เป็นประธานาธิบดี

ขณะเดียวกัน สื่อท้องถิ่นเกาหลีใต้ประเมินทัศนคติของผู้พิพากษาที่มีอยู่ทั้ง 6 คน พบว่า มี 2 คนที่มีแนวคิดเสรีนิยม ส่วนอีก 4 คนมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม

ส่วนผู้พิพากษาที่คาดว่าจะแต่งตั้งใหม่อีก 3 คน รายงานระบุว่า มี 2 คนที่ฝ่ายค้านเสนอชื่อมีแนวคิดเสรีนิยม ส่วนอีก 1 คนมีแนวคิดอนุรักษ์นิยม

ถ้าดูข้อมูลนี้เผินๆ อาจเห็นว่าองค์คณะผู้พิพากษาศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ มีทัศนคติค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมมากกว่าเสรีนิยม ซึ่งอาจเป็นคุณต่อประธานาธิบดียุน ซอกยอล

แต่ถึงอย่างนั้น ผู้เชี่ยวชาญมองว่า การมองแบบนี้ก็อาจไม่ใช่การประเมินที่ถูกต้อง เพราะที่ผ่านมา การวินิจฉัยของผู้พิพากษาเกาหลีใต้ อาศัยการพิจารณาตามรูปคดีมากกว่าการตัดสินตามทัศนคติส่วนบุคคล

ยกตัวอย่างเช่น ในการลงมติถอดถอนอดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึนเฮเมื่อปี 2017 แม้จะมีผู้พิพากษาในองค์คณะนั้น 2 คนแต่งตั้งในรัฐบาลปาร์ค กึนเฮ และมีผู้พิพากษาหลายคนถูกระบุว่ามีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับอดีตประธานาธิบดีปาร์ค แต่สุดท้าย ผู้พิพากษาคณะนั้นก็ลงมติถอดถอนอดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึนเฮอย่างเป็นเอกฉันท์

ส่วนไทม์ไลน์คร่าวๆ ของการพิจารณาคดีนี้ แม้รัฐธรรมนูญจะให้เวลาผู้พิพากษาวินิจฉัย 180 วัน แต่ด้วยความที่จะมีผู้พิพากษา 2 คนหมดวาระในเดือนเมษายนปีหน้า ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า คำวินิจฉัยถอดถอน ‘ยุน ซอกยอล’ หรือไม่ อาจเกิดขึ้นภายในเดือนเมษายน เพื่อลดความไม่แน่นอนทางการเมือง

ก่อนหน้านี้ การพิจารณาถอดถอนผู้นำเกาหลีใต้ก็ใช้เวลาไม่ถึงเส้นตาย 6 เดือนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการวินิจฉัยถอดถอน ‘ปาร์ค กึนเฮ’ ใช้เวลาราว 3 เดือน หรือการพิจารณาไม่ถอดถอนอดีตประธานาธิบดีโนห์ มูเฮียน เมื่อปี 2004 ซึ่งใช้เวลาราว 2 เดือน

แต่มีอีกหนึ่งความเป็นไปได้ที่ทำให้กระบวนการล่าช้าออกไป คือหากมีการตั้งข้อหาที่นำไปสู่การจับกุมยุน ซอกยอล ฝ่ายประธานาธิบดียุนก็อาจยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญระงับกรอบเวลา 180 วันในการพิจารณาคดีถอดถอนได้ แต่ถึงอย่างนั้น กระบวนการนี้อดีตประธานาธิบดีปาร์ค กึนเฮเคยใช้มาแล้ว แต่ผู้พิพากษามีความเห็นไม่อนุมัติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า