SHARE

คัดลอกแล้ว

“ธรรมชาติของสื่อเปลี่ยนไปมากแล้ว พูดทีจริงทีเล่นมานาน ง่ายๆ เลย คือยกเลิกไปเลย แล้วไปหาอย่างอื่นมากำกับ เพราะมีสิ่งที่ใช้การไม่ได้อยู่เยอะ”

 

ขนาดออกตัวว่ากระอักกระอ่วน และพูดได้ไม่เต็มปาก เพราะหมวกใบหนึ่งที่ ชลิดา เอื้อบำรุงจิต สวมอยู่คือ การเป็นคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม ด้านภาพยนตร์ หรือ THACCA ขณะที่สวมหมวกอีกใบพร้อมกัน คือผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) 

ถึงทำให้ชลิดารับรู้ และเข้าใจ ในฐานะหัวแรงใหญ่ ที่ผลักดันหนังไทย และสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงวัฒนธรรมภาพยนตร์มายาวนาน เลยอดไม่ไหว สะท้อนความเห็น ว่า พ.ร.บ.ภาพยนตร์ฉบับปัจจุบัน ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์จริง และเป็นภาระของผู้ประกอบการ

[เกิดอะไรขึ้นกับ Doc Club & Pub.]

เชื่อว่าหลายคนอาจผ่านตา และเห็นประกาศหยุดการฉายภาพยนตร์ของทาง Doc Club & Pub. โรงภาพยนตร์ขนาด 50 ที่นั่ง ซึ่งเปิดพื้นที่ให้หนังนอกกระแส สารคดี รวมถึงสร้างคอมมูนิตี้ให้ผู้คนพบปะกัน

“แม้เราจะทำงานเกี่ยวข้องกับหนังกันมานาน เราก็ขาดความรอบรู้เพียงพอในหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำที่ฉายหนัง อันเป็นกิจการที่เราไม่เคยทำมาก่อน หนึ่งในนั้นคือการไม่รู้ว่าที่นี่ยังขาดการขออนุญาตการเป็นโรงมหรสพ” Doc Club & Pub. ระบุ

ด้วยความไม่รู้ เมื่อมีการจัดฉายหนังเรื่องหนึ่ง ที่ได้เรต 20+ ทำให้เจ้าหน้าที่เดินทางมาตรวจสอบ และถามถึงใบอนุญาตดังกล่าว Doc Club & Pub. จึงลงมือดำเนินการจัดเตรียมเอกสารแล้วไปยื่นขอตามที่เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ พร้อมๆ ไปกับความพยายาม สนับสนุนให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า micro cinema หรือโรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังขนาดเล็กๆ ทั่วประเทศ

ภาพ: Facebook/docclubandpub

นี่เอง ทำให้ Doc Club & Pub. ยิ่งตระหนักว่า “อุปสรรคสำคัญที่สุดที่จะทำให้ micro cinema เกิดขึ้นได้ยากนั้น ไม่ใช่เรื่องของโลเคชั่น ทุน หรือแม้แต่คอนเทนต์ มากเท่ากับการที่ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ และกฎกระทรวงในปัจจุบันซึ่ง ‘ใช้หลักเกณฑ์ในการอนุญาตตัวอาคารและโรงมหรสพ เกณฑ์เดียวกันทั้งหมด’”

Doc Club & Pub. ระบุว่า อาคารที่ตั้งอยู่ และอาคารโดยทั่วไป ไม่สามารถทำให้ ‘โรงหนังห้องแถว’ มีอยู่จริงได้ในบริบทประเทศนี้ ไม่เว้น เวียดนาม เพื่อนบ้านเรา ซึ่งไม่นับโรงเล็กๆ เหล่านี้ว่าเป็นโรงมหรสพ มีกฎหมายที่ถูกปรับแก้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ฉายประเภทนี้กันแล้วทั้งสิ้น

คงต้องย้ำให้ชัดสักนิด ว่าการประกาศหยุดฉายครั้งนี้ ยัง ‘ไม่ใช่การสั่งปิด’ แต่สืบเนื่องจาก Doc Club & Pub. ได้รับจดหมายจากกระทรวงแจ้งว่า ทำการเปิดกิจการฉายหนังโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องจ่ายค่าปรับเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ก่อนจะตามมาด้วย จดหมายฉบับที่สองซึ่งว่าด้วยตัวอาคารก็ตามมา พร้อมคำสั่งให้เราหยุดการฉายภาพยนตร์ ทั้งหมดนี้ถึงกลายเป็นข้อสรุปในครั้งนี้

[กฎเกณฑ์ของโรงมหรสพ]

ตั้งข้อสังเกต ตามกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ และอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้ใช้อาคาร เพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ พ.ศ. 2550 และเป็นจุดตั้งต้นของกรณีนี้

ดูเหมือน Doc Club & Pub. ซึ่งมีขนาด 50 ที่นั่งยึดติดพื้น ไม่ต่างกับโรงภาพยนตร์ที่ทุกคนคุ้นชิน ตั้งอยู่ในอาคาร ที่ภายในมีคาเฟ่เล็กๆ และพื้นที่ทำกิจกรรม อาจถูกมัดรวมกับโรงมหรสพประเภท ค หมายถึง โรงมหรสพที่ตั้งอยู่ในอาคารที่ประกอบกิจการหลายประเภทรวมกัน มีการจัดที่นั่งคนดูในลักษณะยึดติดกับพื้น เช่น Major Cineplex  EGV  SF Cinema

ภาพ: Facebook/docclubandpub

พูดให้ง่าย พ.ร.บ. นี้ กำลังจัด Doc Club & Pub. รวมถึงพื้นที่ลักษณะคล้ายกันนี้ ลงไปในกล่องเดียวกัน ถูกตีกรอบให้เตรียมความพร้อม และทำตามข้อกำหนด

เรื่อง ‘ความปลอดภัย’ ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ผู้คนเสียงแตกในประเด็นนี้ เพราะมองว่าข้อปฏิบัติเรื่องสถานที่ เป้าหมายใหญ่ก็เพื่อความปลอดภัยของคนที่เข้าไปใช้ ซึ่งไม่มีใครปฏิเสธ แต่คำถามตามมาคือ แค่ไหนถึงเรียกว่าพอดี และดีพอ โดยไม่มีเกินกำลังของผู้ประกอบ

ตัวอย่าง ข้อกำหนดเกี่ยวกับระบบความปลอดภัย และการป้องกันอันตราย เช่น ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เครื่องดับเพลิง รวมถึง จำนวนและระยะห่างของสิ่งของหรือส่วนต่างๆ ภายในและภายนอกอาคารที่ใช้เป็นโรงมหรสพ เช่น การจัดที่นั่งคนดู จำนวนทางออกหรือประตูทางออก ระยะห่างของประตูทางออก และที่นั่งจากบันไดหนีไฟ เป็นต้น

[ในวันที่โรงภาพยนตร์ ไม่ใช่แค่เพื่อการค้า]

ชลิดา ชี้ให้เห็น พ.ร.บ. ภาพยนตร์ ที่ออกมาเพื่อที่จะดูแลนฐานะที่เป็นสื่อเพื่อการค้า เพราะฉะนั้นนิยามของโรงภาพยนตร์ เลยไม่หลุดไปจากคอนเซ็ปต์แบบดั้งเดิม ที่ไม่ได้มีโรงภาพยนตร์ขนาดเล็กอยู่ในนั้น 

“ประเทศที่ชูเรื่องวัฒนธรรมหนัง เขาจะมีโรงหนังที่เรียกว่า micro cinema อยู่มากมาย อย่างญี่ปุ่นก็จะมีขนาด 30-50 ที่นั่ง มีหนังฉายตลอด ซึ่งก็จะทำให้อุตสาหกรรมหนังขยายตัวกว้างไปได้”

พูดให้แฟร์หน่อย เรื่องนิยามโรงภาพยนตร์ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว รับรู้ร่วมกันมานานแล้วว่าไม่สอดรับกับความเป็นไปของโลก จนมีความพยายามแก้ไข แต่ก็ยืดเยื้อมานาน เพราะเกี่ยวข้องกับหน่วยงานจำนวนมาก

“ตราบใดที่ยังไม่ได้แก้ ก็ยังต้องใช้ของเดิม จนกว่าจะมีอะไรมายกเว้นให้ ถึงได้กระอักกระอ่วนสำหรับทุกฝ่าย ฝั่งนึงก็คิดว่าต้องทำให้ถูกตามลายลักษณ์อักษร อารมณ์ It’s Not Right but It’s Okay”

ชลิดา เสริมต่อว่า ไม่ได้คิดถึงภาพยนตร์ในฐานะงานศิลปะ ที่ขยายเป็นวัฒนธรรมกระจายไปทั่ว ถึงได้วางกฎแบบไม่ได้คิดเผื่อ เลยถูกโยนเข้าไปในกรอบคิดเดียวกัน “อย่างเมื่อก่อน เทศกาลภาพยนตร์ มีแต่สถานทูตที่จัด แต่เดี๋ยวนี้ไม่ใช่อย่างนั้น เด็กๆ จัดกันเต็มไปหมด…เราต้องเข้าใจระบบนิเวศก่อน ถึงจะออกกฎหมายได้เหมาะสม เพราะไม่ได้มีแบบเดียวอีกต่อไปแล้ว”

“สุดท้ายจบที่ ต้องเร่งกระบวนการของ พ.ร.บ.ใหม่ อันนี้เป็นแค่หนึ่งตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม ว่ากฎหมายไม่สอดคล้อง ไม่ต่างกับที่ครั้งนึง คนขายซีดีมือสองของตัวเองแล้วโดนจับ มันก็อยู่ใน พ.ร.บ.นี้เหมือนกัน” ชลิดา ทิ้งท้าย 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า