SHARE

คัดลอกแล้ว

เช้าวานนี้ (24 ธ.ค. 2567) มีข่าวว่า ‘กิตติรัตน์ ณ ระนอง’ หลุดประธานบอร์ดแบงก์ชาติ หลังคณะกรรมการกฤษฏีกาตีความว่า ‘สุ่มเสี่ยง’ ที่จะขาดคุณสมบัติ เพราะมีตำแหน่งทางการเมืองเป็นที่ปรึกษานายกฯ แม้จะไม่รับเงินเดือนก็ตาม

แต่ช่วงเย็นวันเดียวกัน ‘ปกรณ์ นิลประพันธ์’ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ออกมาโต้ว่า กรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างพิจารณา ยังไม่ได้ข้อสรุป และเหลือการประชุมวันนี้ (25 ธ.ค. 2567) อีกรอบ

ทำไมการแต่งตั้งประธานบอร์ดแบงก์ชาติครั้งนี้ถึงเป็นปัญหา TODAY Bizview สรุปให้ฟัง

[ บอร์ดแบงก์ชาติคืออะไร ]

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า บอร์ดแบงก์ชาติ หรือ คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง

ผู้ว่าการ ธปท. เป็นรองประธาน และรองผู้ว่าการสามคน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งอีกห้าคน เป็นกรรมการ ผู้ว่าการเป็นผู้แต่งตั้งพนักงานคนหนึ่งเป็นเลขานุการ

คณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลโดยทั่วไป ซึ่งกิจการและการดำเนินการของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551

มีกำหนดการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง​

[ บอร์ดแบงก์ชาติมีใครบ้าง ]

จากข้อมูลบนเว็บไซต์ของแบงก์ชาติ ล่าสุด (24 ธ.ค. 2567) พบว่า ‘ปรเมธี วิมลศิริ’ นั่งเป็นประธานกรรมการ (จริงๆ หมดวาระไปเมื่อ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา) ‘เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ’ ผู้ว่าการ ธปท. นั่งเป็นรองประธาน ส่วนกรรมการ 10 คน ประกอบด้วย

1. รุ่ง มัลลิกะมาส

2. อลิศรา มหาสันทนะ

3. ปิติ ดิษยทัต

4. ดนุชา พิชยนันท์

5. พรชัย ฐีระเวช

6. รพี สุจริตกุล

7. ปกรณ์ นิลประพันธ์

8. สุภัค ศิวะรักษ์

9. ชุณหจิต สังข์ใหม่

10. พรอนงค์ บุษราตระกูล

โดยมี ‘จิรานุวัฒน์ ธัญญะเจริญ’ นั่งเป็นเลขานุการ

[ ทำไมรอบนี้ถึงเป็นปัญหา ]

ดราม่าครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ 4 อดีตผู้ว่าแบงก์ชาติ ได้แก่ ปรีดิยาธร เทวกุล, ประสาร ไตรรัตน์วรกุล, วิรไท สันติประภพ และธาริษา วัฒนเกส พร้อมนักวิชาการอีก 227 คน ออกหนังสือคัดค้าน ‘คนการเมือง’ นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

โดยกังวลว่า หากการดำเนินนโยบายการเงินถูกครอบงำโดยฝ่ายการเมือง ซึ่งอาจเน้นผลประโยชน์ระยะสั้น อาจก่อให้เกิดผลเสียหายรุนแรงต่อเสถียรภาพและการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจในระยะยาว

นอกจากนี้ ธนาคารกลางควรมีอิสระในการดำเนินนโยบาย เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกืจ และเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ

นอกจากกลุ่มอดีตผู้ว่าแบงก์ชาติและนักวิชาการแล้ว ยังมีกลุ่มอื่นๆ เช่น เครือข่ายกองทัพธรรม เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) ศูนย์รวมประชาชนปกป้องกลุ่มสถาบัน (ศปปส.) และประชาชนทั่วไปกว่า 45,000 รายชื่อ ฯลฯ ร่วมลงชื่อคัดค้านอีกด้วย

ระหว่างการสรรหา ก็มีการนัดรวมตัวกันหน้าธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นระลอกๆ เพื่อแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ รวมถึงยื่นรายชื่อผู้คัดค้านต่อคณะกรรมการคัดเลือก เพื่อคัดค้านการแต่งตั้งกิตติรัตน์เป็นประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

[ ความเห็นของผู้เขียน ]

ตามหน้าข่าวอาจจะพูดไม่ชัดนัก แต่การคัดค้านรอบนี้ ก็เป็นผลพวงมาตั้งแต่ยุคอดีตรัฐมนตรี ‘เศรษฐา ทวีสิน’ ที่ต้องการลดดอกเบี้ย โดยมีการเรียกผู้ว่าแบงก์ชาติคนปัจจุบันเข้าไปหารืออยู่หลายครั้ง แต่ผลก็ออกมาไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง

และแม้ว่าจะเปลี่ยนมาเป็นยุค ‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันแล้วก็ตาม แต่ก็ยังมีข่าวนายกฯ ขอแบงก์ชาติลดดอกเบี้ย นายกฯ มอบคลังหารือผู้ว่าแบงก์ชาติ หลังส่งสัญญาณไม่ลดดอกเบี้ย ฯลฯ

ดังนั้น การสรรหาครั้งนี้ที่มีการเสนอชื่อ ‘คนการเมือง’ เข้ามา ก็ทำให้เกิดความกังวลว่า แบงก์ชาติอาจโดน ‘ครอบงำ’ เป็นธรรมดา

ซึ่งก็ต้องจับตาคริสต์มาสนี้ ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะมีความเห็นว่าอย่างไร กิตติรัตน์จะได้นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติหรือไม่ อนาคตนโยบายการเงินและเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร คงต้องมาลุ้นกัน…

ที่มา:

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า