SHARE

คัดลอกแล้ว

คงไม่ต้องกล่าวย้ำถึงความรุนแรงของ ‘วิกฤตโลกร้อน’ ที่กำลังก้าวเข้าสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ที่เข้าขั้นหายนะทุกขณะ แน่นอนว่ามันไม่ใช่แค่เรื่องของหมีขั้วโลกไร้ที่อยู่เพราะน้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย หรือนกกว่า 134 สายพันธุ์ลดจำนวนลงและพากันอพยพ แต่ผลกระทบของมันอาจนำมาสู่จุดจบของมวลมนุษยชาติ

ข้อเท็จจริงคือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมหาศาล โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เกิดจาก ‘กิจกรรมทางเศรษฐกิจ’ ทั้งภาคอุตสาหกรรม ขนส่ง ไปจนถึงภาคเกษตรกรรม สอดคล้องไปกับรายงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย ปี 2566 ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุด 3 อันดับแรก คือ ภาคพลังงาน 40.05% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งประเทศ ถัดมา ภาคการขนส่ง 29.16% และ อุตสาหกรรมการผลิตและก่อสร้าง 20.24%

[ส่องแนวคิดธุรกิจคาร์บอนต่ำรอบโลก]

อย่างน้อยความตื่นตัวของภาคธุรกิจในการลุกขึ้นมาจริงจังกับเรื่องความยั่งยืนก็เริ่มมีมาให้เห็นต่อเนื่อง ยกตัวอย่างองค์กรยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ก็หันมาใช้พลังงานทดแทน 100% ในศูนย์ข้อมูลและสำนักงาน ไปจนถึงห้องทดลองต่างๆ ด้านบริษัทผลิตเนื้อสัตว์จากอิสราเอลอย่าง MeaTech ก็ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกรรมวิธีการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจากเซลล์สัตว์ โดยวิธีนี้จะช่วยลดการใช้น้ำและที่ดินให้น้อยที่สุด และไม่ต้องฆ่าสัตว์

อีกหนึ่งแนวคิดที่น่าสนใจคือ TOAST ธุรกิจเบียร์สัญชาติอังกฤษ ที่ช่วยลดปริมาณขนมปังจากร้านเบเกอรี่ที่ขายไม่ออกมาใช้แทนธัญพืชที่ใช้ในการทำเบียร์เพื่อแก้ปัญหา Food Waste

[ ไทยอยู่จุดไหนของการขับเคลื่อนสู่ ‘ธุรกิจสีเขียว’]

หันกลับมามองเมืองไทย จนถึงวันนี้มีธุรกิจมากน้อยเท่าไรที่สามารถทรานส์ฟอร์มตัวเองเป็น ‘ธุรกิจสีเขียว’ ได้สำเร็จ แล้วทำไมบางธุรกิจแม้จะพยายามผลักดันและลงมือทำตามสูตรสำเร็จมากมายแต่ก็ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน

หากมองที่เรื่องของนโยบาย นับตั้งแต่ประเทศไทยลงนามในข้อตกลงปารีส หรือ COP21 ก็ได้มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจและอุตสาหกรรมมุ่งสู่ธุรกิจสีเขียว ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Thailand Taxonomy หรือ Green Taxonomy โดยมีภาคการเงินเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนในการให้สินเชื่อเพื่อการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมสู่การเป็นธุรกิจที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

แต่ถ้าคลี่ให้เห็นถึงไส้ในอาจต้องเจาะลงไปถึง Pain Point ของแต่ละอุตสาหกรรมเพราะความซับซ้อนที่ต่างกัน ย่อมต้องการแนวทางการแก้ปัญหา คำแนะนำรวมถึงเครื่องมือที่แตกต่าง

คำถามคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าเส้นทางที่เดินไปกำลังมุ่งหน้าสู่เป้าหมายที่ใช่ และเครื่องมือที่เลือกใช้ตอบโจทย์ธุรกิจ? กระดุมเม็ดแรกของการทรานส์ฟอร์มตัวเองเป็น ‘ธุรกิจสีเขียว’ อาจต้องเริ่มที่การมี ‘ความรู้และความเข้าใจ’ ที่ถูกต้อง

[‘องค์ความรู้’ กระดุมเม็ดแรกของการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน]

ปัจจุบัน การหาความรู้หรือเฟรมเวิร์กในการวางกลยุทธ์เพื่อจะเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำไม่ใช่เรื่องยาก มีตัวอย่างธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากมายให้เราได้ถอดเคล็ดลับความสำเร็จ แต่อย่างที่บอก ปัจจัยและเงื่อนไขของแต่ละอุตสาหกรรมต่างกัน แค่รู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องเข้าใจให้ลึกในทุกมิติ เพื่อสร้างกลยุทธ์ที่ถูกต้องและหยิบเครื่องมือที่จะช่วยให้การเปลี่ยนผ่านมีประสิทธิภาพที่สุด

หนึ่งในงานสัมมนาที่ไม่เพียงให้ความรู้เชิงลึกถึงแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมตามปัจจัยและเงื่อนไขเฉพาะของกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆ แต่ยังมีกิจกรรมเวิร์กชอปให้ทดลองทำจริงก็คือ  ‘Decarbonize Now’ งานสัมมนาที่จัดโดยธนาคารกสิกรไทย ซึ่งจัดต่อเนื่องเพื่อติดอาวุธให้ลูกค้าของธนาคารมาเป็นปีที่ 2 แล้ว

ด้วยความที่ ธนาคารกสิกรไทย มุ่งมั่นที่จะเดินหน้าเรื่องความยั่งยืนไปพร้อมๆ กับการทำธุรกิจมาโดยตลอด และเชื่อว่าความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ทุกภาคส่วนต้องจับมือและก้าวไปด้วยกัน จึงผลักดันลูกค้าและจับมือกับพันธมิตรต่างๆ ผ่านโครงการ Go Green Together มาตั้งแต่ปี 2565 เพื่อเชื่อมต่อและผลักดันให้เกิด Green Ecosystem ในประเทศไทยอย่างครบวงจร ผ่านการสนับสนุนเงินทุน องค์ความรู้ และการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ

‘องค์ความรู้’ ในการทำธุรกิจเป็นกระดุมเม็ดแรกที่ธนาคารกสิกรไทยให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาพบว่า บริษัทส่วนใหญ่มีความตื่นตัวที่จะปรับตัวไปสู่ธุรกิจสีเขียว ด้วยการเข้าอบรมสัมมนาหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ยังไม่สามารถปรับตัวได้จริง เพราะไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ซึ่ง Today ขอสรุป 5 แนวทางตามระดับความเข้มข้นเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ธุรกิจได้นำไปใช้กัน

  1. Avoid/Reduce การหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่จำเป็น และพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  2. Improve ปรับปรุงการใช้ทรัพยากร พลังงาน และห่วงโซ่อุปทาน ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
  3. Shift เปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด ใช้การขนส่งที่คาร์บอนต่ำ หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  4. Sink การใช้เทคโนโลยีดูดกลับก๊าซเรือนกระจก
  5. Contribute การมีส่วนสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนอกขอบเขต

งานสัมมนาเชิงลึก  ‘Decarbonize Now’ จึงไม่ใช่แค่การป้อนองค์ความรู้หรือวางเฟรมเวิร์กให้ธุรกิจทำตาม แต่จะเริ่มตั้งแต่การฉายภาพกว้างให้เห็นว่าธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร และในทางกลับกันผลกระทบนั้นจะสร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจอย่างไร โดยลงลึกไปในแต่ละอุตสาหกรรม เพราะการจะทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ต้องสร้างกำไรไปพร้อมกับการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป กฎระเบียบข้อบังคับต่างๆ เช่น ETS, ภาษีคาร์บอน CBAM และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสีเขียว

เมื่อเห็นภาพกว้างแล้วยังลงลึกไปว่า ใน value chain ของแต่ละอุตสาหกรรมมีกิจกรรมไหนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดและควรวางแผนลดอย่างไร โดยเริ่มจากการวัด Carbon Footprint แน่นอนว่าในเวิร์กช้อปจะมีการสอนใช้เครื่องมือวัดการปล่อยคาร์บอน   เพื่อจะนำไปสู่การกำหนดทิศทางและจัดลำดับว่าควรจะเริ่มลดก๊าซเรือนกระจกจุดไหนก่อนจึงจะได้ผลมากที่สุด พร้อมทั้งตั้งเป้าและจัดทำแผนกลยุทธ์ในการเปลี่ยนผ่านและหาโอกาสใหม่ๆทางธุรกิจ ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ก่อนจะเริ่มดำเนินการและติดตามผล ไปจนถึงวิธีการทำรายงานและเปิดเผยข้อมูล

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับนอกจากจะได้เห็นภาพชัดขึ้นว่า การลดก๊าซเรือนกระจกจะช่วยลดต้นทุนและเพิ่มกำไรได้อย่างไร จะได้ทดลองใช้เครื่องมือเพื่อจัดเก็บข้อมูลและคำนวนก๊าซเรือนกระจกได้จริง ซึ่งหลังจากที่มาร่วมอบรมได้ความรู้กลับไปแล้ว ยังมีทีมผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมมาให้คำปรึกษาถึงที่บริษัท เพื่อให้แต่ละธุรกิจปรับตัวสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำนำไปสู่ธุรกิจสีเขียวได้จริง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและคว้าโอกาสธุรกิจในอนาคต

[‘สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน’ เครื่องมือเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวที่ให้มากกว่าเงินทุน]

การลงมือเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว อาจเริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ไม่ต้องลงทุนเยอะ บางธุรกิจอาจเริ่มด้วยการติดแผงโซลาร์เซลล์ ในขณะที่บางธุรกิจเริ่มด้วยการระบบกำจัดขยะและบำบัดน้ำเสีย ซึ่งอาจต้องการเงินทุนเพื่อใช้ลงทุนปรับเปลี่ยนเช่นกัน

ด้วยเหตุนี้เอง ‘สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน’ ของธนาคารกสิกรไทยจึงเข้ามาช่วยเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ให้ธุรกิจ ผ่านการวิเคราะห์มาแล้วว่ามีธุรกิจใน 4 อุตสาหกรรมที่อาจจะได้รับผลกระทบจาก Climate Game ทำให้ต้องเริ่มวางแผนปรับตัวก่อนเพื่อน ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverage) ธุรกิจโรงแรมและเฮลท์แคร์ (Hotels and Health cares) ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ฮาร์ดแวร์ (Automotive and Parts) และ ธุรกิจแพ็คเกจจิงและพลาสติก (Packaging and Plastics) ว่าควรจะต้องเริ่มต้นปรับตัวจากจุดไหน ใช้เครื่องมืออะไร เพื่อให้ธุรกิจสามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ได้ใหญ่โตมากมายนักซึ่งยังจับทางไม่ถูกว่าจะเริ่มต้นหรือปรับตัวอย่างไร

จุดเด่นของ ‘สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน’ คือ เป็นสินเชื่อที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การลดก๊าซเรือนกระจกของแต่ละอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก การใช้พลังงานทดแทน อย่างโซลาร์เซลล์หรือไบโอแก๊สจึงเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในขณะที่อุตสาหกรรมโรงแรม จำเป็นต้องใช้เครื่องกำจัด Food Waste เป็นต้น ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้สินเชื่อเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกทั้ง scope 1 และ 2 ได้พร้อมๆ กัน ทำให้ภาพรวมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทลดลง

[ทำไมต้องเริ่มจาก 4 อุตสาหกรรมนี้?]

หากมองจากมุมของธนาคารกสิกรไทย การเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีลูกค้าอยู่ในพอร์ตถือเป็นการติดกระดุมเม็ดแรกที่ถูกต้อง กระดุมเม็ดต่อมา คือการมองภาพกว้างของอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนมากที่สุดหรืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบหากกติกาในตลาดโลกเปลี่ยน ดังนั้น ธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 4 นี้ จึงเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องเริ่มวางแผนเพื่อเตรียมปรับตัว

สิ่งที่ธนาคารกสิกรไทยลงมือทำวันนี้ จะช่วยให้ธุรกิจที่อยู่ใน 4 อุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียวได้อย่างแน่นอน…ไม่มากก็น้อย แต่ผลกระทบเชิงบวกที่เห็นแน่ๆ  คือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจอื่นๆ ได้อีกมหาศาลในการลุกขึ้นมาปรับตัวสร้างการเปลี่ยนผ่านสู่ธุรกิจสีเขียว เพื่อสร้างสังคมที่น่าอยู่และส่งต่อโลกที่ดีให้กับคนรุ่นต่อไป

สำหรับธุรกิจที่สนใจ ‘สินเชื่อธุรกิจเพื่อลดคาร์บอน’ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมคลิกไปที่  https://www.kasikornbank.com/k_405YhP1

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า