SHARE

คัดลอกแล้ว

โลกกำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่ไม่เพียงแต่สะเทือนโครงสร้างเศรษฐกิจ แต่ยังรวมถึงระเบียบทางการเมืองที่เราเคยรู้จัก

ในงานสัมมนา KKP Year Ahead 2025: Opportunities Unbound ‘ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ’ ประธานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และที่ปรึกษากลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร ได้เตือนถึง “Paradigm Shift” ของโลก (การปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับเปลี่ยนวิธีการมอง หรือการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ท้าทายกระบวนทัศน์เก่า)

พร้อมชี้ว่าประเทศไทยต้องหันมาใช้ความได้เปรียบด้าน “อาหารและบริการ” เพื่อเอาตัวรอดในยุคที่การเปลี่ยนผ่านกำลังพลิกเกมเศรษฐกิจโลก

[ ระเบียบโลกใหม่ เมื่อความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นพร้อมความไม่แน่นอน ]

ดร.ศุภวุฒิ กล่าวถึงผลกระทบจากการกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่สอง ซึ่งไม่ได้สะท้อนเพียงแค่การเปลี่ยนตัวผู้นำ แต่ยังอาจนำไปสู่การ ‘สั่นคลอนระเบียบโลก’ ที่ทุกคนเคยคุ้นเคย

“นี่ไม่ใช่แค่ Presidential Change แต่เป็น Paradigm Shift”

นั่นก็เพราะ ‘ทรัมป์’ ได้แสดงจุดยืนชัดเจนว่าเขาไม่ต้องการให้สหรัฐฯ เป็นผู้นำที่แบกรับภาระขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น NATO หรือ WHO ส่งผลให้โครงสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

ในอีกฟากหนึ่ง จีน เผชิญภาวะ “อ่อนใน-แข็งนอก” จากเศรษฐกิจภายในประเทศที่เปราะบาง ทั้งปัญหาสินค้าคงค้างในภาคอสังหาริมทรัพย์ และค่าเงินหยวนที่อ่อนค่าจนเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืด แต่ในเวทีโลก จีนยังคงแข็งแกร่งในฐานะผู้ครองตลาดสินค้าอุตสาหกรรมก้าวหน้า เช่น แผงโซลาร์เซลล์และรถยนต์ไฟฟ้า

ยุโรป ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับสองของโลก ก็ไม่รอดพ้นจากความเปราะบาง ทั้งการเติบโตที่ต่ำกว่า 1% และความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลให้ความมั่นใจในเศรษฐกิจยุโรปยังไม่ฟื้นตัวในระยะสั้น

[ โอกาสของไทย อาหารและบริการคือคำตอบ ]

ท่ามกลางความผันผวนของโลก ดร.ศุภวุฒิ เชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะสร้างความแข็งแกร่งใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่ การเกษตร อาหาร และบริการ

เมื่อมองที่โอกาสด้านการเกษตรและอาหารจะเห็นว่าจีนซึ่งมีประชากรมากถึง 20% ของโลก แต่มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% และทรัพยากรน้ำเพียง 6% ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง

นี่คือโอกาสสำคัญที่ไทยสามารถใช้ความได้เปรียบด้านการผลิตอาหารคุณภาพสูงเพื่อป้อนตลาดจีนและตลาดโลก

ส่วนเรื่องการท่องเที่ยวและบริการ จีนยังคงเป็นผู้นำเข้าบริการสุทธิ โดยเฉพาะ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ซึ่งไทยมีชื่อเสียงระดับโลกในด้านนี้

ดร.ศุภวุฒิชี้ว่า ความต้องการบริการเหล่านี้ไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเฉพาะทาง จะเห็นว่าแม้ว่าอุตสาหกรรมหลักของไทยอาจไม่ได้เป็นหัวจักรทางเศรษฐกิจอีกต่อไป แต่ไทยยังคงมีโอกาสในอุตสาหกรรมเฉพาะ เช่น การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในขั้นตอนการประกอบ ทดสอบ และบรรจุภัณฑ์

[ บทสรุปทางรอดในยุคแห่งความไม่แน่นอน ]

การเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกในปี 2025 ไม่ได้หมายถึงความล่มสลาย แต่คือโอกาสใหม่สำหรับประเทศที่สามารถปรับตัวได้อย่างชาญฉลาด ไทยมีทรัพยากรทางการเกษตรและชื่อเสียงด้านการบริการที่แข็งแกร่ง หากเราสามารถใช้จุดแข็งเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ไทยจะไม่เพียงแค่รอดพ้น แต่ยังเติบโตได้ในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า