SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะรัฐมนตรี ไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ. Financial Hub ที่จะเป็นจุดตั้งต้นพาประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลางการเงินของภูมิภาคให้ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะการจะเป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงิน หรือ Financial Hub ได้ เมืองนั้นๆ จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญคือมีสถาบันการเงินหลากหลายประเภทและมีจำนวนมาก มีโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่ดี มีความเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ สูง เพื่อให้เอื้อต่อการเติบโตของธุรกรรมข้ามพรมแดน และยังต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน มีกฎหมายและเทคโนโลยีที่เอื้อด้วย 

จากรายงาน Global Financial Centres Index 36 (GFCI) ได้ประเมินศักยภาพการเป็นเมืองที่เอื้ออำนวยต่อกิจกรรมการเงินพบว่า ‘กรุงเทพฯ’ อยู่อันดับ 95 (ข้อมูล ก.ย. 67)  ลดลงจากอันดับที่ 93 เมื่อ มี.ค. 67ขณะที่หากเทียบกับศูนย์กลางทางการเงินของภูมิภาคหรือโลก อย่างเช่น นิวยอร์ก (อันดับ 1) ลอนดอน (2) ฮ่องกง (3) สิงคโปร์ (4) หรือดูไบ (16) จะพบว่าอันดับของไทยยังทิ้งห่างอยู่มาก

เพราะเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับต้ ๆ เหล่านั้น ได้รับการออกแบบกฎกติกา เกณฑ์ด้านภาษี และโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินของประเทศ ที่พร้อมสนับสนุนการเคลื่อนย้ายเงินทุนและการระดมทุนอย่างมาก 

นอกจากนี้ เมืองเหล่านั้น ยังมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน สอดคล้องกับจุดแข็งทางเศรษฐกิจและการเงินของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน อาทิ สิงคโปร์มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการทางการเงิน (Wealth Management) 

ขณะที่ ฮ่องกงเป็นประตูทางการเงินสู่จีนและประเทศอื่นในโลก ทำให้เชี่ยวชาญด้านบริการทางการเงินสำหรับกิจการข้ามชาติ เช่น Investment Bank และ Trade Finance เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม ไทยเองก็ยังมีจุดแข็งหลายด้านใจสายตาของต่างชาติ เช่น ในมิติของการค้าภายในอาเซียน เงินบาทเป็นสกุลเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รองจากสกุลเงินดอลลาร์ฯ ในการรับชำระค่าสินค้าส่งออก และจ่ายเป็นค่าสินค้านำเข้า กับคู่ค้าในตลาดอาเซียน โดยเฉพาะการค้ากับกัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมาร์  

พัฒนาการของตลาดการเงินไทยที่มีความเป็นสากล มีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและโลจิสติกส์ที่ดี อีกทั้งยังมีค่าครองชีพที่อยู่ในระดับที่ยังไม่สูงนัก มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและเปิดกว้าง แต่ก็อย่างที่บอกไปว่าไทยต้องพัฒามากขึ้น ยังมีอีกหลายประเด็นที่ฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องยังต้องร่วมมือกัน เพื่อให้ไทยสามารถมีพื้นที่ยืนที่ดีขึ้นในเวทีการเป็นศูนย์กลาง

TODAY Bizview ชวนดู ตัวอย่าง 5 ประเทศ Financial Hub เร่ิด ไทยเด่นอะไร?

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า