SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่ตระหนก แต่ต้องตระหนัก อาจเป็นข้อสรุปที่เหมาะสมที่สุด สำหรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ ‘ไข้หวัดใหญ่’ โรคประจำถิ่น ที่คนไทยติดต่อสูงเป็นอันดับ 1 และหลายประเทศกำลังจับตาอย่างใกล้ชิด

 

ไม่มากก็น้อย การเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ของ ‘ต้าเอส’ หรือ ‘สวีซีหยวน’ นางเอกคนแรกจากซีรีส์ F4 ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา กลายเป็นหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้โรคไข้หวัดใหญ่ ถูกพูดถึงอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากมีการยืนยันเหตุเสียชีวิต ว่ามีจุดเริ่มต้นจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สร้างความเสียใจให้กับแฟนๆ ในขณะเดียวกัน ก็ทำให้ผู้คนโดยเฉพาะฝั่งเอเชียตื่นตัว

อย่างสถานการณ์ในญี่ปุ่น ตามการประกาศของ สถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น ที่ประมาณการว่า ตั้งแต่วันที่ 2 ก.ย. 2567 ถึงวันที่ 26 ม.ค. 2568 พบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ประมาณ 9.52 ล้านราย ซึ่งเป็นเพียงข้อมูลผู้ป่วยที่เข้าสู่ระบบการรักษาเท่านั้น

ขณะที่ ฟากฝั่งสหรัฐเอง สถานการณ์ผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ถึงจุดสูงสุดเป็นรอบที่ 2 ในฤดูกาลนี้ หลังจากคลี่คลายไปบ้างช่วงปลายเดือน ม.ค. และคาดว่ายังต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะดีขึ้น โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ระบุว่า มีผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่อย่างน้อย 20 ล้านราย และเสียชีวิต 11,000 รายในฤดูกาลนี้ ไม่เท่านั้น การทดสอบยังแสดงให้เห็นว่า ระดับไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 ก็สูงขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งสูงกว่าระดับที่พบเมื่อต้นฤดูหนาวเสียอีก

นั่นเอง ทำให้สถานทูตในหลายประเทศ มีการแจ้งเตือนสถานการณ์โรคระบาดระหว่างประเทศ โดยให้ประชาชนที่มีแผนที่จะเดินทางมายังทวีปเอเชีย รวมถึงสหรัฐ และแคนาดา ให้ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อก่อนการเดินทาง

[โรคติดต่ออันดับ 1 ของคนไทย]

ตามข้อมูลของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผย ข้อมูลตั้งแต่ 1 ม.ค. -7 ก.พ. 2568 ว่ามีผู้ป่วยสะสม 75,936 ราย คิดเป็น อัตราป่วย 116.983 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 3 ราย อัตราตาย 0.005 ต่อประชากรแสนคน

โดย 3 กลุ่มอายุที่พบผู้ป่วยสูงสุด คือ 5-9 ปี (14,708 ราย) รองลงมาเป็น 10-14 ปี (10,896) และ 30-39 ปี (10,260)

และหากย้อนไปดูสถิติจนจบ ปี 2567 ซึ่งมีผู้ป่วยสะสม 668,027 ราย ก็นับว่าสูงกว่าปี 2566 ประมาณ 1.39 เท่า โดยมีผู้เสียชีวิต 51 ราย โดยมีเด็กทารกอายุต่ำสุด 2 เดือน รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ สายพันธุ์ A/H1N1 (2009) หรือที่เราคุ้นหูกันว่า ไข้หวัดใหญ่สายสายพันธุ์ A ก็เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดนั่นเอง

โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จัดอันดับ 10 โรคติดต่อที่คนไทยป่วยสูงสุดของปีนี้ พบว่า โรคไข้หวัดใหญ่ มาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือโรคปอดอักเสบ หรือโรคปอดบวม โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อาหารเป็นพิษโรคอีสุกอีใส ตามลำดับ

เช่นเดียวกับ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรคมือเท้าปาก โรคไข้เลือดออก โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน ที่ก็ยังคงพบการติดต่อ 

อย่างไรก็ดี กรมควบคุมโรค ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ไข้หวัดใหญ่ถือเป็นโรคระบาดประจำถิ่นที่มีมานาน พบได้ทุกกลุ่มอายุ แต่จะพบมากในเด็ก อัตราป่วยตายมักพบในผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปี หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว 

[รู้ก่อน ระวังก่อน]

สำหรับ โรคไข้หวัดใหญ่ นับเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากเชื้ออินฟลูเอนซาไวรัส (Influenzavirus) หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยสามารถติดต่อ ผ่านการหายใจรับละอองฝอย จากน้ำมูกน้ำลายของผู้ป่วย รวมถึงการสัมผัสกับละอองฝอย ที่เปื้อนเชื้อแล้วนำมาสัมผัสที่จมูกหรือตา

เช่นนี้จึงเป็นที่มา ของคำแนะนำสำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และโรคปอดอักเสบ ดังนี้

– ป้องกันการแพร่เชื้อ: สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล

– รักษาระยะห่าง: หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยและพื้นที่แออัด

– เสริมภูมิคุ้มกัน: กลุ่มเสี่ยงควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

ทั้งนี้ หากพบมีอาการป่วยดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อติดตามอาการต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า