SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเทศไทยยังอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราการเกิดเด็กทารกต่ำลงเรื่อยๆ ขณะเดียวกัน ก็เข้าสู่สังคมสูงวัยมากขึ้นเช่นกัน ‘คนแต่งงานแต่ไม่อยากมีลูก’ กลายเป็นเทรนด์ที่เกิดขึ้นในไทยและในหลายประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, ประเทศในยุโรป หรือแม้แต่ในแถบสแกนดิเนเวียก็ตาม

เมื่อพฤติกรรมคนเปลี่ยนไป เกิดเป็นคำนิยามใหม่ขึ้นซึ่งนักการตลาดส่วนใหญ่จะเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ‘DINKs’ (Double Income, No Kids) ก็คือ กลุ่มคู่รักที่เน้นซื้อความสุขให้ตัวเอง ส่วนใหญ่มีรายได้ดีเพราะมาจากรายได้ 2 ทาง ไม่มีภาระหนักอึ้ง และไม่ต้องการจะมีลูก

[ มีเงินหนา ไม่เน้นเพิ่มภาระ เปย์เพื่อความสุขตัวเอง/คู่รัก ]

เรากำลังพูดถึง ‘DINKs’ คำบัญญัติที่เกือบจะทุกอุตสาหกรรมใช้ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว, ธนาคาร ไปจนถึงธุรกิจสินค้าหรู เพราะคนกลุ่มนี้ถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจเหล่านี้ได้ ยิ่งสภาพเศรษฐกิจที่ยังแช่แข็ง คนหลายคนไม่ต้องการใช้จ่าย และเลือกที่จะซื้อของที่จำเป็นมากกว่า

DINKs จึงถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 2023 จนถึงปัจจุบันประเด็นนี้กลายมาเป็นเรื่องที่หยิบนำมาวิเคราะห์อย่างจริงจัง เห็นได้จากศูนย์วิจัยของธนาคารในไทยหลายแห่งที่พยายามทำความเข้าใจพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ มองว่ามีศักยภาพต่อเศรษฐกิจโดยรวม

คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคู่รักทั้งหญิง-ชาย และ LGBTQ+ ที่เน้น ‘ใช้จ่ายเพื่อเติมความสุขให้ตัวเองและให้คู่รัก’ เช่น ท่องเที่ยว, สุขภาพ, ความงาม, การศึกษา, การงาน เป็นต้น

อีกทั้งกลุ่ม DINKs จะมีค่าใช้จ่ายในบ้านต่อคนน้อยกว่ากลุ่ม SINKs (คนโสดที่ไม่ต้องการมีลูก) เพราะพวกเขาสามารถแชร์ค่าใช้จ่ายกับคู่ของตัวเองได้ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายของกลุ่มคนโสด พวกเขาจะเหลือเงินออมมากกว่า

เป็นเหตุผลว่าทำไมธุรกิจลักชัวรี หรือกลุ่มสินค้าหรู ปักหมุดมาที่ DINKs มากกว่า SINKs ตามการศึกษาของสถาบัน Brookings ทั้งยังระบุด้วยว่า นอกจากสินค้าหรูแล้ว DINKs ยังเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับการท่องเที่ยววันหยุดที่ต้องจ่ายแบบสุดขีด เพราะพวกเขาอยู่ด้วยกันเป็นคู่และมักวางแผนเพื่อสร้างความประทับใจให้กันและกัน

นอกจากนี้ กลุ่ม DINKs ยังสนใจเรื่องการลงทุนมากกว่าคนโสด โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้น, พันธบัตร และหุ้นกู้

[ DINKs หลายคู่ไม่มีทางมีลูกในอนาคต ]

หากสงสัยว่าคู่รัก DINKs สำหรับหญิง-ชาย มีโอกาสที่พวกเขาจะเปลี่ยนใจวางแผนมีลูกหรือไม่? จริงอยู่ว่าไม่มีอะไรแน่นอน แต่สถาบัน Brookings ระบุว่า หากเปรียบเทียบ ‘ค่าเลี้ยงดู’ เด็กในสหรัฐอเมริกา จนลูกอายุครบ 18 ปี

และนี่คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 

ค่าใช้จ่ายที่แน่นอนอาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความพร้อมและฐานะของครอบครัวนั้นๆ แต่โดยทั่วไปจะอยู่ที่ประมาณ 200,000 ถึง 300,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 6.7 ล้านบาท ถึง 10.15 ล้านบาท)

สถาบัน Brookings ชี้ว่า “การเลี้ยงดูเด็กมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นเรื่อยๆ และรัฐบาลอเมริกันก็ไม่ได้ให้ความช่วยเหลือมากนัก”

ขณะที่ พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต’ เคยประเมินสิ่งที่พ่อแม่คนไทยต้องจ่ายเมื่อมีลูก 1 คน ประเมินขั้นต่ำที่อาจจะต้องจ่ายสำหรับ ‘ภาครัฐ’ (โรงพยาบาลรัฐ, โรงเรียนรัฐ, มหาวิทยาลัยรัฐ) และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายแฝงในแต่ละปี อยู่ที่ประมาณ 2 ล้านบาทต่อปี *โดยคำนวนจากค่าใช้จ่ายเบื้องต้น และบางอย่างที่คิดเฉลี่ยเป็นค่าใช้จ่ายรายเดือนเท่านั้น ซึ่งความเป็นจริงมากกว่านี้อย่างแน่นอน

ยกตัวอย่าง เช่น

  • ค่าใช้จ่ายในช่วงตั้งครรภ์

  • ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กแรกเกิดถึงก่อนวัยเรียน

  • ค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กวัยเรียน

  • ค่ารักษาพยาบาล

  • ค่าใช้จ่ายอื่นๆ

จึงไม่น่าแปลกใจหากกลุ่ม DINKs จะเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่ภาคธุรกิจมองหา และต้องการเข้าถึงให้มากขึ้น ซึ่งถ้ากลุ่มคนเหล่านี้พร้อมใช้เงิน จ่ายเพื่อความสุขของตัวเองและคู่ของตัวเอง ความคล่องตัวในการเติบโตทางเศรษฐกิจประเทศไทยก็น่าจะดีขึ้นกว่าทุกวันนี้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า