SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อปลายเดือนม..ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวว่า เกิดเหตุผู้แสวงบุญที่ไปร่วมเทศกาลมหากุมภเมลาในอินเดีย เบียดเสียดกัน จนเหยียบกันตายไป 30 ศพ และได้รับบาดเจ็บมากกว่า 60 คน

แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่อาจยับยั้งความศรัทธาศาสนิกชนให้ลดน้อยลงเลยสักนิด ในทางกลับกัน จนถึงวันนี้ ยังคงมีศาสนิกชนฮินดูทยอยหลั่งไหลไปร่วมทำกิจกรรมทางศาสนากันอย่างไม่ขาดสาย

ตัวเลขล่าสุดที่เปิดเผยมาจากรัฐบาลอินเดีย ตั้งแต่วันแรกของเทศกาล ที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 13 .. จนถึงวันนี้ มีผู้แสวงบุญจากทั่วโลกเดินทางมาร่วมเทศกาลนี้แล้วกว่า 420 ล้านคน  ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าประชากรของสหรัฐฯ และแคนาดารวมกันเสียอีก

และยังมีคาดการณ์ด้วยว่า ในอีกสิบกว่าวันกว่าจะถึงวันสุดท้ายของเทศกาล ซึ่งก็คือวันที่ 26 .. น่าจะมีผู้แสวงบุญเดินทางมาร่วมงานอีกเป็นหลักร้อยคน

ทำให้เทศกาลมหากุมภเมลาได้รับการขนานนามว่าเป็นการรวมตัวทางศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เทศกาลนี้มีความสำคัญอย่างไร เพราะเหตุใดจึงดึงดูดศาสนิกชนมาร่วมงานจำนวนมากขนาดนี้ Explainer ไปหาคำตอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมอินเดียอาจารย์กิตติพงศ์บุญเกิดอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาสรุปให้เข้าใจง่ายที่สุดในโพสต์นี้

ชื่อของกุมภเมลามาจากรูปศัพท์คำว่ากุมภะที่แปลว่าหม้อ กับเมลาที่หมายถึง การรวมตัว ให้เข้าใจง่ายๆ คือเป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับหม้อ

หม้อในที่นี้ ก็คือ หม้อน้ำอมฤต ที่ผุดขึ้นมาจากเกษียรสมุทรตามตำนานฮินดู ซึ่งเชื่อกันว่า ใครที่ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว จะได้เป็นอมตะ

แต่กว่าที่หม้อน้ำอมฤตจะปรากฏขึ้นมา เทวดาและอสูรใช้เวลาช่วยกันกวนเกษียรสมุทรอยู่นาน

จนในที่สุดหม้อปรากฏขึ้น ทั้งสองฝ่ายก็เกิดการแย่งชิงกัน ทำให้น้ำอมฤติที่อยู่ในหม้อกระฉอกออกมา 4 หยด

โดยทั้ง 4 หยดนั้นหยดลงไปยังโลกมนุษย์ ในจุดที่ตรงกับเมือง 4 เมืองในอินเดีย คือ เมืองประยาคราช, ฮาริดวาร์, อุชเชนและนาสิก

ทั้ง 4 เมืองนี้เลยกลายเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์และเป็นศูนย์กลางของเทศกาลกุมภเมลามาจนทุกวันนี้

เทศกาลกุมภเมลาแต่ละครั้งจะจัดวนไปใน 4 เมืองนี้ โดยปีนี้วนมาจัดที่ เมืองประยาคราช ซึ่งถือเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในบรรดา 4 เมือง เพราะเป็นจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ 3 สาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และแม่น้ำสรัสวดี ไหลมารวมกัน หรือที่เรียกว่าจุฬาตรีคูณ

ชาวฮินดูเชื่อว่าบริเวณนั้น มีความศักดิ์สิทธิ์มาก ใครได้ลงไปอาบน้ำในจุดที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 สายนี้ไหลมารวมกัน ถือว่าได้ล้างบาปและทำให้เข้าใกล้การหลุดพ้นทางจิตวิญญาณมากขึ้น

แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะลงไปอาบน้ำล้างบาปได้ทุกวันเพราะมีการกำหนดอีกว่าต้องเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ดวงจันทร์และดาวพฤหัสเรียงตัวกันตามหลักดาราศาสตร์อินเดีย

ทำให้เทศกาลกุมภเมลา มีช่วงเวลาของการจัดงานอย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการดูกำหนดเวลาตามโหราศาสตร์ร่วมด้วย คือ ปีที่ดาวพฤหัสโคจรเข้าสู่ราศีพฤษภ จะเป็นปีที่มีการจัดงานใหญ่ที่สุด เท่ากับทุกๆ 12 จะมีงานใหญ่ 1 ครั้ง

ส่วนปีอื่นๆ ก็มีการจัดงาน แต่อาจจะไม่ได้ยิ่งใหญ่เท่ากับปีที่วนมาครบ 12 ปี เช่น ในครึ่งรอบ คือ 6 ปี มีเทศกาลอรรธถกุมเมลา หรือ กุมภเมลาครึ่ง ทุก 3 ปีมีเทศกาลกุมภเมลาและทุกปีก็จะมีการจัดเทศกาลมาฆเมลาจัดทุกปี

งานนี้แต่ละครั้งจะกินเวลาประมาณ 45 วัน อย่างปีนี้ อย่างปีนี้ เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 13 .. – 26 ..

แต่ปีนี้ถือว่าเป็นปีที่สำคัญมาก เพราะเป็นปีที่ ดาวพฤหัสโคจรเข้าสู่ราศีพฤษภครบ 12 ครั้ง หรือพูดง่ายๆ คือ เป็นการวนมาครบรอบ 144 ปี ของเทศกาลมหากุมภเมลาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่ในหนึ่งชีวิตจะมีโอกาสได้เข้าร่วมเทศกาลกุมภเมลาในช่วงเวลาที่สำคัญขนาดนี้ 

นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้แสวงบุญชาวฮินดูจากทั่วโลกจำนวนมาก หลั่งไหลกันมาร่วมเทศกาลศักดิ์สิทธิ์นี้อย่างไม่ขาดสาย จนตอนนี้จำนวนผู้มาร่วมงานทะลุ 420 ล้านคนไปแล้ว

พิธีกรรมที่สำคัญที่สุดของเทศกาลนี้ ก็คือ การลงไปในจุ่มตัวบริเวณที่สังฆัม’ (Sangham) ซึ่งเป็นจุดที่เชื่อว่าแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 3 สายไหลมารวมกัน ระยะทางยาวประมาณ 1 กิโลเมตร

และก็ไม่ใช่แค่ศาสนิกชนจะลงไปจุ่มน้ำเพื่อบรรลุโมกษะ ซึ่งเป็นการหลุดพ้นตามความเชื่อของศาสนาฮินดู ในเทศกาลนี้ยังมีนักบวช หรือที่เรียกกันว่านาคสาธุซึ่งเป็นกลุ่มนักบวชเปลือยกายที่ปลีกวิเวกไปอาศัยอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยเดินทางลงมาอาบน้ำครั้งเดียวในรอบหลายปี

ความสำคัญของเทศกาลมหากุมภเมลา ไม่ได้มีแค่นี้ เพราะงานนี้ยังเป็นการมารวบตัวกันของบรรดาคุรุ ครูบาอาจารย์ ผู้รอบรู้จากทั่วโลก จึงเปิดโอกาสให้ผู้แสวงบุญได้มาสนทนาธรรม ร่วมกันอภิปราย และบำเพ็ญเพียว รวมกันประกอบกิจกรรมทางศาสนาตลอดระยะเวลา 45 วัน

ถ้าให้พูดกันจริงๆก็คือเทศกาลกุมภเมลานี้เป็นกุศโลบายสำคัญที่ยึดโยงระหว่างชีวิตทางโลกกับศาสนาไม่ให้แยกออกจากกันไปไกลนัก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า