SHARE

คัดลอกแล้ว

Weather Whiplash ศัพท์ใหม่ต้องรู้จักผุดมาไม่หยุด เมื่อโลกร้อนถึงจุดที่ ‘สภาพอากาศเหวี่ยงสุดขั้ว’

เราอาจจะเคยได้ยิน Extremely Weather หรือ สภาพอากาศสุดขั้ว อย่างอากาศร้อนก็จะร้อนมากขึ้น และ หนาวก็จะหนาวหนักขึ้น  เป็นการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รุนแรงกว่าเดิม อธิบายง่ายๆ อย่าง ปกติที่ช่วงฤดูร้อนอุณหภูมิจะอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส แต่เมื่อเกิดสภาพอากาศสุดขั้ว อุณหภูมิอาจแตะ 50 องศาเซลเซียส 

ที่อาจทำให้เกิด Heat Wave หรือ คลื่นความร้อน ยาวนานขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต และนำไปสู่ภัยพิบัติอื่นๆ ไม่ว่าจะ ไฟป่าที่รุนแรงขึ้น จากหน้าแล้งที่ยาวนานทำให้มีเชื้อเพลิงไฟมากขึ้นตามมา

Man cleaning snow from the car after a heavy snowfall. Middle aged man removing snow from car with brush and scraper tool. A car covered with snow.

เช่นเดียวกันกับอากาศหนาว ที่อุณหภูมิอาจติดลบกว่าเดิม จากที่ปกติก็หนาวอยู่แล้ว ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพ ไม่ว่าจะอาการหิมะกัดที่อาจนำไปสู่อาการชาเรื้อรัง หรือ ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ จากการสูญเสียความร้อนของร่างกาย ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้โดยเฉพาะในเด็ก

ปัจจุบันต้องยอมรับ ว่าสิ่งมีชีวิตยังไม่สามารถปรับตัวกับสภาพอากาศสุดขั้วได้ดีพอ และไม่มีทางรู้ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นไม่หยุดแบบนี้ จะทำให้โลกแปรปรวนหนักขึ้นหรือไม่

นอกจาก Extremely Weather หรือ สภาพอากาศสุดขั้ว ที่จะทำให้ฤดูร้อน อาจร้อนกว่าเดิมหลายเท่า อีกหนึ่งคำที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกรวน และอาจเกิดขึ้นรวดเร็วกว่าหรือผสมโรงกับสภาพอากาศสุดขั้วที่ร้อน หนาว แล้ง และฝนตกหนัก ก็คือ Weather Whiplash หรือ สภาพอากาศเหวี่ยงสุดขั้ว ที่เรียกง่ายๆ ว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงฉับพลัน ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่อาจเรียกได้ว่าคูณสอง

โดย รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ได้อธิบาย Weather Whiplash ไว้ว่า เป็นเหตุการณ์ที่สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงจากร้อน แล้ง ไปสู่การมีฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรง หรือเปลี่ยนแปลงในทางกลับกันจากเหตุการณ์ฝนตกหนัก น้ำท่วมรุนแรง ไปสู่ความแห้งแล้ง ในระยะเวลาจำกัด

อย่างไรก็ดี นี่อาจทำให้เราคาดเดาสภาพอากาศได้ยากกว่าเดิม หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ความเสี่ยงจากโลกรวนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยที่เหตุการณ์นี้ สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเกิดการแปรปรวนของ El Nino หรือ La Nina หรือไม่ อย่างเช่น อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นไม่หยุดนี้ จะทำให้เกิดการระเหยมากขึ้น ส่งผลให้ชั้นบรรยากาศมีความชื้นสูง โดย รศ.ดร. เสรี เผยว่า ในทางทฤษฎีอุณหภูมิที่สูงขึ้นทุกๆ 1 องศาเซลเซียส จะมีน้ำระเหยสู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น 7 เปอร์เซ็นต์

เช่นที่ กรมป่าไม้สหรัฐอเมริกา ได้ให้ความหมายของ Weather Whiplash ว่า เป็นสภาพอากาศแปรปรวนฉับพลัน ที่ใช้เรียกเหตุการณ์สุดขั้วที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศสองแบบที่ตรงกันข้ามกัน ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เปลี่ยนจากร้อนเป็นหนาวทันที หรือ จากน้ำท่วมหนักเป็นแล้งจัด

ตัวอย่าง Weather Whiplash ในอเมริกาของปีที่ผ่านมา สภาพอากาศในฤดูหนาวของหลายรัฐทั่วสหรัฐฯ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยปกติรัฐมินนิโซตา อุณหภูมิเฉลี่ยในเดือนธันวาคม จะอยู่ที่ 14 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ -10 องศาเซลเซียส แต่เพียงแค่ 1 เดือน อุณหภูมิก็ลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี ก่อนที่จะพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วแตะระดับสูงที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ หรืออย่างในรัฐอื่น อย่าง มอนแทนนา ที่มีพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และมีประชากรเพียง 1 ล้านคน อุณหภูมิในบางพื้นที่ของรัฐมอนทานาก็พุ่งขึ้น 90 – 100 องศาภายในเวลาเพียงเดือนเดียว

ซึ่งไม่ใช่แค่รัฐทางตอนเหนือของอเมริกาเท่านั้น ที่ต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่ขึ้นๆ ลง ๆ แต่อากาศหนาวเย็นจากอาร์กติกพัดกระหน่ำลงมาทั่วสหรัฐอเมริกา ทำให้มีคนเสียชีวิต อย่างน้อย 55 คน จากอากาศหนาว และพายุฤดูหนาวในเดือนมกราคม

หรือในอดีต ปรากฎการณ์ Texas freeze ในปี 2001 ที่คร่าชีวิตคนไป 246 คน และสร้างความเสียหายกว่า 200,000 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการเปลี่ยนแปลงคลื่นความเย็นที่เกิดขึ้นแล้ว

ภาพจาก : รศ.ดร. เสรี ศุภราทิตย์ ผู้เชี่ยวชาญสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ

สภาพอากาศเหวี่ยงสุดขั้ว หรือ Weather Whiplash จึงไม่ใช่สิ่งที่เราจะเตรียมรับมือกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงช่วงเวลาอากาศเปลี่ยน ที่อาจสั้นลงเรื่อยๆ และรุนแรงมากขึ้น โดย รศ.ดร.เสรี เผยว่า การประเมินสภาพอากาศเหวี่ยงสุดขั้วในอนาคตเฉลี่ยอยู่ที่ 170 เปอร์เซ็นต์ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศ ที่จะได้รับผลกระทบรุนแรง ในระดับสีแดงเข้ม

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า