SHARE

คัดลอกแล้ว

สัปดาห์นี้ (25-26 ก.พ. 2568) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีประชุมนัดแรกของปี ซึ่งตลาด (Bloomberg Concensus) คาดว่า กนง.จะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 2.25% แต่ก็มีบางสำนักที่คาดว่า กนง.อาจลดดอกเบี้ยเลยในครั้งนี้

ที่ผ่านมา หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี ‘แพทองธาร ชินวัตร’ ที่เรียกร้องให้ธนาคารแห่งประเทศไทยลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน โดยเห็นว่าเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ต่ำอยู่

เช่นเดียวกับ ‘พิชัย ชุณหวชิร’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่คาดหวังให้ กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบายเช่นกัน เพราะเห็นว่าเงินเฟ้อของประเทศไทยยังต่ำต่อเนื่อง อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกด้วย

นอกจากนี้ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยยังช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทย โดยคาดว่าภายหลังการลดดอกเบี้ย เงินบาทจะอ่อนค่าลง เป็นประโยชน์ต่อการส่งออก เทียบกับปัจจุบันที่เงินบาทยังค่อนข้างแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

ขณะที่องค์กรระหว่างประเทศอย่าง ‘กองทุนการเงินระหว่างประเทศ’ (IMF) ได้เปิดเผยผลการประชุมหารือกับประเทศไทยประจำปี 2567 หรือ Article IV Consultation โดยมีการประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงขาลง

ซึ่งปัจจัยมาจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ ในด้านปัจจัยภายนอก มีความตึงเครียดด้านการค้าโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น อาจกระทบการฟื้นตัวของการส่งออกของไทย และส่งผลให้การไหลเข้าของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ลดลง

ส่วนปัจจัยในประเทศนั้นความเสี่ยงจากหนี้ภาคเอกชนที่พุ่งสูงอาจส่งผลกระทบต่องบดุลของสถาบันการเงินและลดความต้องการสินเชื่อลงอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างมาก

ซึ่งหนึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวช่วยในการลดความเสี่ยงหนี้ภาคเอกชนคือการลดดอกเบี้ย ดังนั้น IMF จึงยินดีและเห็นด้วยในการตัดสินใจของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และแนะนำให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนเงินเฟ้อ และเพื่อช่วยให้ความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ดีขึ้น

ด้านนักวิเคราะห์ในประเทศ ‘ดร.อมรเทพ จาวะลา’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ก็ออกมาสนับสนุนให้ กนง.ลดดอกเบี้ยรอบนี้ เพราะความเสี่ยงขาลงของที่มากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าคาด เงินเฟ้อเสี่ยงที่ถึงกรอบล่างที่ 1% กำลังซื้อครัวเรือนรายได้น้อยและ SMEs อ่อนแอ ซึ่งอาจลามไปกระทบธุรกิจขนาดใหญ่ ป้องกันความเสี่ยงจากสงครามการค้า และพยุงค่าเงินบาทให้อ่อนค่าเทียบดอลลาร์สหรัฐ

ท้ายจดหมาย ดร.อมรเทพ ยังระบุว่า นโยบายการเงินไม่ใช่พระเอก แต่ต้องเป็นการประสานกับนโยบายการคลังที่ดูแลด้านความเหลื่อมล้ำและมาตรการอื่นๆ ในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง เพื่อฟื้นเศรษฐกิจไทยในปีนี้และยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวได้สูงขึ้นในระยะยาวอย่างยั่งยืน

ส่วนท่าทีของแบงก์ชาติ ตลาดประเมินว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 2.25% หลังเห็นภาพการฟื้นตัวของอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่กรอบ 1-3% นอกจากนี้ ความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกยังมีสูง จึงอาจปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินแบบค่อยเป็นค่อยไป

ขณะที่ตัวแบงก์ชาติเองได้ให้ข้อมูลในงาน Monetary Policy Forum เมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า เศรษฐกิจไทยครึ่งหลังยังมีความเสี่ยงสูง ทั้งปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่น่าจะรุนแรงขึ้น และนโยบายของประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะสหรัฐ มีความไม่แน่นอนสูง

นอกจากนี้ การที่แบงก์ชาติคงดอกเบี้ยเอาไว้ ยังทำให้มี ‘กระสุน’ เอาไว้ลดดอกเบี้ยในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดช็อกรุนแรงในช่วงครึ่งหลังของปีได้อีก แต่อย่างไรก็ตาม แบงก์ชาติ ‘เปิดกว้าง’ ถ้าปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป แบงก์ชาติก็พร้อมปรับเปลี่ยนนโยบายเช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า