SHARE

คัดลอกแล้ว

หลายคนอาจเคยได้ยินว่า ถ้าอยากทำธุรกิจก็ควรหาตลาดที่มีคู่แข่งน้อยๆ ซึ่งก็อาจจะไม่ผิด ในเมื่อมีคู่แข่งน้อย แปลว่าเราไม่ต้องเหนื่อยแข่งกับใคร

แต่รู้หรือไม่ว่าบางครั้งการเลือกตลาดที่มี ‘คู่แข่งเยอะ’ ก็อาจจะไม่ใช่เรื่องแย่เหมือนกัน  เพราะในบางครั้งการลงไปเล่นใน ‘ตลาดใหญ่’ ที่มีคู่แข่งเยอะ อาจจะหมายความว่าแบรนด์เรามีโอกาสเติบโตได้ไกลกว่า ถ้าเทียบกับการลงไปเล่นในตลาดเล็กๆ ที่มีคู่แข่งน้อย 

คำถามคือแล้วเราจะหาตลาดที่ว่านั้นเจอได้อย่างไร ? 

มีเครื่องมือเจ๋งๆ ที่บริษัทระดับโลกชอบใช้คือ “TAM SAM SOM” ไว้หาว่าถ้าเราทำธุรกิจ สินค้าและบริการของเราจะมีลูกค้ารองรับเยอะแค่ไหน และมีส่วนไหนบ้างที่เราพอจะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งได้  

รายละเอียดเรื่อง TAM SAM SOM จะเป็นอย่างไร เอาไปปรับใช้ในมุมไหนได้บ้าง ? TODAY Bizview จะอธิบายให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ

“TAM SAM SOM” เป็นเครื่องมือธุรกิจชนิดหนึ่งเอาไว้ใช้หาขนาดของตลาดที่เราจะลงไปเล่น

และส่วนแบ่งการตลาดที่เราจะได้แบบคร่าว ๆ ว่ามีมูลค่าประมาณเท่าไหร่ ?

โดย TAM SAM SOM จะมี 3 องค์ประกอบหลักๆ ที่เราต้องวิเคราะห์ ได้แก่ 

      • TAM (Total Addressable Market) วิเคราะห์มูลค่าตลาด ‘ทั้งหมด’ ที่สินค้าหรือบริการของเราเข้าไปเล่น เช่น ถ้าเราขายกาแฟในประเทศไทย เราต้องดูว่าจำนวนคนที่กินกาแฟทั้งหมดในประเทศไทย มีกี่คน ซื้อกาแฟวันละกี่แก้ว ซึ่งตรงนี้อาจจะดูได้จากมูลค่ารวมของตลาดกาแฟ 
      • SAM (Serviceable Available Market) วิเคราะห์มูลค่าตลาดของกลุ่มเป้าหมายที่เราต้องการ เช่น ถ้าแบรนด์กาแฟของเราเน้นจับกลุ่มลูกค้าพรีเมียม เราก็ค่อยดูว่าสัดส่วนของกาแฟพรีเมียม คิดเป็นสัดส่วนมากแค่ไหน? จากมูลค่ารวมของตลาดกาแฟทั้งหมด
      • SOM (Serviceable Obtainable Market) วิเคราะห์มูลค่าของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่คิดว่าธุรกิจของเราจะเข้าไปแย่งส่วนแบ่งได้  เช่น คาดการณ์ว่ากลยุทธ์ของเราจะสามารถแย่งส่วนแบ่งในตลาดที่ลงไปเล่นในสัดส่วนเท่าไหร่ 

อาจจะเป็นการตั้งเป้าว่าขอส่วนแบ่ง 2% จากตลาดกาแฟพรีเมียม ตรงนี้อาจจะท้าทายหน่อย เพราะเราต้องวิเคราะห์คู่แข่งในตลาดด้วยว่าทำไมคู่แข่งถึงสามารถครองใจลูกค้าในตลาดนั้นๆ ได้ และกลยุทธ์ของเราจะแย่งลูกค้ามาจากคู่แข่งได้อย่างไร ? 

โดยในหลายตำราจะอธิบาย TAM SAM SOM เอาไว้ด้วยการเอาวงกลม 3 วงมาซ้อนกัน  

และกำหนดให้ TAM เป็นวงกลมที่มีขนาดใหญ่สุด SAM จะเป็นวงกลมที่มีขนาดรองลงมา และ SOM จะเป็นวงกลมที่เล็กที่สุดเรียงตามมูลค่าของตลาด เพื่อให้เห็นภาพง่ายๆ นั่นเอง

ทีนี้มาดูตัวอย่างเคสจริงของ Airbnb แพลตฟอร์มห้องพักชื่อดังที่เคยเอาเครื่องมือ 

TAM SAM SOM มาพรีเซนต์กับนักลงทุนในปี 2008 ก่อนเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของบริษัท 

        1. TAM มูลค่าตลาด “ทั้งหมด” ที่สินค้าหรือบริการของเราเข้าไปอยู่ ในปี 2008 Airbnb มองว่ามูลค่าของตลาดห้องพักทั่วโลกมีมูลค่าอยู่ประมาณ 70,000 ล้านบาท หมายความว่า TAM ของ Airbnb ก็คือ 70,000 ล้านบาท
        1. SAM มูลค่าตลาดของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เราต้องการ โมเดลธุรกิจของ Airbnb จะเป็นแพลตฟอร์มตัวกลางให้เจ้าของบ้านเอาบ้านหรือที่พักของตัวเอง มาปล่อยเช่า และมีกลุ่มเป้าหมายเดียวกับห้องพักราคาประหยัด โดยตอนนั้นมูลค่าของที่พักราคาประหยัดมีสัดส่วนอยู่ที่ 28% ของตลาดห้องพักทั่วโลก ดังนั้น SAM ของ Airbnb คือ 70,000 x 28% = 19,600 ล้านบาท
        1. SOM มูลค่าตลาดของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่คาดว่าธุรกิจต้องการไปขอส่วนแบ่ง ในตอนนั้น Airbnb คาดการณ์ว่า ด้วยความสามารถของแพลตฟอร์มที่ให้บริการห้องพักราคาประหยัดจากเจ้าของบ้านจริงๆ ที่ให้ประสบการณ์ต่างจากโรงแรมราคาประหยัดแบบคู่แข่งส่วนใหญ่ในตลาดจะสามารถแย่งส่วนแบ่งจากได้ 15% จากตลาดห้องพักราคาประหยัด หมายความว่า SOM ของ Airbnb คือ 19,600 x 15% = 2,940 ล้านบาท

ด้วยหลักการแบบนี้เราจะเห็นได้ชัดเลยว่า Airbnb กำลังแข่งกับใคร และมีช่องว่างให้บริษัทเติบโตได้มากแค่ไหน ถ้าดูตามขนาดของมูลค่าตลาดรวม  

อย่างในกรณีนี้ถ้าลองวิเคราะห์ว่า Airbnb จะเติบโตไปได้อีกขนาดไหน ? 

เราก็อาจจะลองเอาขนาดของ SAM เป็นตัวตั้ง เพื่อดูว่าถ้าบริษัทกินสัดส่วนของ SAM ไปเรื่อยๆ จะมีส่วนแบ่งการตลาดมากแค่ไหน 

ในกรณีนี้ถ้าคิดเล่นๆ ว่า Airbnb โตขึ้นเรื่อยๆ จนมีสัดส่วน 100% ของ SAM ได้ บริษัทอาจมีส่วนแบ่งการตลาดราว 19,600 ล้านบาทนั่นเอง

สุดท้ายนี้หลายคนน่าจะพอเห็นภาพแล้วว่าการเลือกตลาดที่มี TAM เยอะๆ จะมีข้อดีกว่าการเลือกตลาดที่มี TAM น้อยๆ ในบางมุม อย่างน้อยก็เรื่องของโอกาสในการเติบโต 

เพราะถ้าธุรกิจมี TAM หรือมูลค่าของตลาดรวมที่เยอะ แปลว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ มีลูกค้า และมีความต้องการในสินค้าหรือบริการมารองรับเยอะ

ดังนั้นถ้าเลือกทำธุรกิจที่มี TAM เยอะๆ ก็แปลว่า จะมีช่องว่างในการเติบโตขึ้นได้อีกเยอะ ต่างกับธุรกิจที่มี TAM น้อยที่อาจจะมีช่องว่างในการเติบโตน้อยกว่านั่นเอง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า