SHARE

คัดลอกแล้ว

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว นับตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ แต่ผู้คนต่างมีการเสพข่าวกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางจิตใจ หรือเกิดการกังวลต่อเรื่องต่างๆ นับตั้งแต่ ความกังวลเพียงเล็กน้อย ไปจนความปลอดภัยในชีวิต ที่กลัวการเกิดเหตุการณ์ซ้ำอีก จนอาจกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

 

ในโอกาสครบรอบ 1 เดือน ของเหตุแผ่นดินไหว ที่สร้างความสูญเสียให้กับหลายครอบครัว และทำให้ผู้คนต่างอกสั่นขวัญแขวนไปตามกัน สำนักข่าวทูเดย์ ชวนพูดคุยกับ พญ.ทรัพย์สิดี  เกิดประกอบ จิตแพทย์ จาก Me Center คลินิกสมองและสุขภาพจิต ว่าคนเราควรจะรับมือกับข่าวสารอย่างไร 

[รับข่าวสารในปริมาณมาก ส่งผลต่อสมองอย่างไร?]

พญ.ทรัพย์สิดี สรุปออกมา เป็น 4 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับสมอง เมื่อคนเรารับข่าวสารในปริมาณที่มาก ดังนี้

  1. ก่อให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล เนื่องจากข่าวสารส่วนใหญ่ มักเต็มไปด้วยเรื่องราวเชิงลบ การติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะข่าวเชิงลบ อาจส่งผลให้สมองหลั่งฮอร์โมนความเครียด เช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลิน ออกมามาก ซึ่งส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล หงุดหงิด นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ​
  2. ก่อให้เกิดภาวะ Headline Stress Disorder (HSD) ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการติดตามข่าวสารเชิงลบมากจนเกินไป ส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้รู้สึกเครียด วิตกกังวล กลัว หดหู่ สิ้นหวัง รู้สึกว่าโลกนี้ไม่มีอะไรดี
  3. ก่อให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้า การเสพข่าวเชิงลบ โดยเฉพาะข่าวร้าย ข่าวภัยพิบัติ ข่าวโศกนาฏกรรม เป็นเวลานาน อาจส่งผลให้สมองหลั่งสารเคมี เช่น เซโรโทนิน โดปามีน นอร์อิพิเนฟริน ลดลง ส่งผลต่ออารมณ์ ทำให้รู้สึกเศร้า ซึมเศร้า สิ้นหวัง เบื่อหน่าย ไม่อยากทำอะไร​
  4. ทำให้มองโลกในแง่ร้าย การเสพข่าวเชิงลบบ่อย ๆ อาจส่งผลต่อความคิด ทำให้มองโลกในแง่ร้าย คิดแต่เรื่องแย่ ๆ ไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ไม่เชื่อมั่นในอนาคต

แล้วเท่าไหร่ ถึงจะเรียกว่าเสพข่าวสารมากเกินไปแล้ว? พญ.ทรัพย์สิดี กล่าวว่า การติดตามข่าวสารอย่างมีสติ และเหมาะสมนับเป็นเรื่องสำคัญ โดยตามคำแนะนำของจิตแพทย์ 1 ถึง 2 ชั่วโมงต่อวัน อาจเป็นระยะเวลาที่พอเหมาะ เพราะการที่เราใช้ความคิดอยู่กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป ก่อให้เกิดความเครียดมากกว่าเดิมโดยไม่รู้ตัว

[ตัดใจไม่ดูไม่ได้ แล้วจะให้ทำยังไง?]

ในเมื่อเลี่ยงไม่ได้ พญ.ทรัพย์สิดี จึงแนะนำวิธีเลือกรับจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เพราะพาดหัวที่ใช้คำกระตุ้นอารมณ์ ก็อาจเป็นตัวกระตุ้นแรก ดังนั้น การไม่มองข้ามรายละเอียดของข่าว รวมถึงอ่านเนื้อหาจากทางรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ แหล่งข่าวเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือประกอบด้วย ก็อาจช่วยลดทอนผลกระทบทางใจได้ไม่มากก็น้อย 

อย่างไรก็ดี หากรับรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับจิตใจแล้ว พญ.ทรัพย์สิดี ก็แนะนำวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น คือ

  1. หากิจกรรมผ่อนคลายที่เหมาะสมต่อสภาพร่างกายและจิตใจในรูปแบบอื่น นอกจากการเสพข่าว หรือ เล่น social media ซึ่งกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น การออกกำลังกาย ฝึกโยคะ ทำสมาธิ การฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การฝึกหายใจคลายเครียด เป็นต้น​
  2. ดูแลจิตใจอย่างมีสติ การเสพข่าวอย่างมีสติ รู้เท่าทันความคิด อารมณ์ ความคาดหวัง จะช่วยให้ไม่ส่งผลกระทบต่อจิตใจมากเกินไป​
  3. พยายามทำกิจวัตรประจำวันให้เป็นปกติ หันเหความสนใจจากข่าวสารไปเรื่องอื่นบ้าง ละเว้นการรับรู้ข่าวสารที่ส่งผลต่อความเครียดชั่วคราว ไม่ละเลยหน้าที่ของตนเอง ทั้งการทำงาน การเรียน และการใช้เวลาที่มีคุณภาพกับครอบครัว​

    หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยา 

และอย่างที่รู้กันดี เรื่องเดียวกันก็อาจกระทบใจคนในระดับที่ต่างกันไป ดังนั้น หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น อย่ามองข้ามสัญญาณเหล่านั้น ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา ได้เลย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า