SHARE

คัดลอกแล้ว

การลาออกพร้อมกันของแพทย์อินเทิร์นที่โรงพยาบาลบึงกาฬ สร้างแรงกระเพื่อมให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเร่งออกแนวทางรับมือ ปัญหานี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องคาราคาซังมาอย่างยาวนานและสะท้อนถึงวิกฤตสาธารณสุขไทย

รายการ HEADLINE โดยสำนักข่าว TODAY พูดคุยกับ นพ.วีระพันธ์ สุวรรณนามัย สมาชิกวุฒิสภา ถึงประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นที่คุณหมอวินิจฉัยว่าระบบสาธารณสุขไทยตอนนี้ ‘เจ็บระดับ 9 จาก 10’

[อินเทิร์นลาออก สะเทือนปัญหาใต้พรม]

นพ.วีระพันธ์ เล่าย้อนให้ฟังว่าปัญหาหมอลาออกและหมอขาดแคลนมีมาตลอด ตั้งแต่เขาเรียนจบแพทย์มาใหม่ๆ เมื่อปี 2542 และเป็นปัญหาที่ไม่เคยได้รับการหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างจริงจัง ส่วนหนึ่งเนื่องจากการมองว่าหมอมีหน้าที่ต้องเสียสละ

นอกจากนั้นแล้วก็มีข่าวให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ที่บุคลากรทางการแพทย์ลงเวรแล้วขับรถชนเสียชีวิต หรือข่าวการทำร้ายบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการทำงานหนักเกินไปและความไม่ปลอดภัยในชีวิตการทำงาน การลาออกพร้อมกันหลายคนของหมอในจังหวัดที่ขาดแคลนบุคลากรจึงกลายเป็นเหมือน ‘ฝีแตก’ ปะทุปัญหาที่หมักหมมออกมา

“บึงกาฬเป็นจังหวัดหนึ่งที่ต้องถือว่ามันมันไกล หมอต่อประชากรของบึงกาฬ หมอ 1 คนจะต้องดูแลประชากรเนี่ยประมาณ 6,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่มันเกินรับไหวนะเอาจริงๆ ทีนี้ลองคิดภาพว่าหมอออกไป 6 คน มันวูบเลยนะ เพราะฉะนั้นมันก็เลยเกิดปัญหาขึ้นก็เลยมีการสืบหาความจริงว่า มันเกิดอะไรขึ้นที่บึงกาฬ ปัญหาเรื่องนี้มันก็เลยเหมือนกับฝีแตกปะทุออกมา” นพ.วีระพันธ์ กล่าว

ปัญหาเรื้อรังที่ยังไม่ถูกแก้ไขนี้ นพ.วีระพันธ์ มองว่าอาจทำให้ระบบสาธารณสุขพังได้ในที่สุด เนื่องจากภาระงานที่หนักเกินไปของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ต้องทำงานในเวลาราชการและนอกเวลาราชการจนไม่ได้พักผ่อน และสวัสดิการที่ไม่ตอบโจทย์ก็อาจทำให้เกิด “โมเดลบึงกาฬ” มากขึ้นเรื่อยๆ

“มันจะเป็นทำนองนั้นแหละในอนาคต คือตอนนี้โมเดลบึงกาฬ อินเทิร์นลาออกเยอะๆ เนี่ยมันเห็นแล้ว เพราะฉะนั้นในปีหน้าหรือไม่ต้องถึงปีหน้าก็ได้ ผมเชื่อว่าจะเกิดโมเดลนี้กระจายเพิ่มมากกว่าบึงกาฬในบางโรงพยาบาลที่ workload มาก สวัสดิการการแย่ พี่ไม่ดูแลน้องดีๆ ผมเชื่อว่าโมเดลนี้จะกระจายออกไปอีก แล้วถึงตอนนั้นนะฮะ ท่านอาจจะเห็นโรงพยาบาลปิด 2 ทุ่ม แผนกฉุกเฉินไม่มี” นพ.วีระพันธ์ ประเมิน

[แก้ปัญหา ต้องเริ่มจากความจริงใจ ไม่ใช่แก้ตัว]

หลังกระแสดังกล่าวได้ถูกพูดถึง ทำให้สธ. ได้เร่งตรวจสอบ พร้อมชี้แจงและออก 7 แนวทางเพื่อแก้ปัญหาเร่งด่วน ได้แก่

1.กำหนดพื้นที่พิเศษ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับบุคลากร

2.เพิ่มจำนวนแพทย์เพิ่มพูนทักษะ

3.ขอสนับสนุนแพทย์เฉพาะทางจากจังหวัดใกล้เคียง

4.พัฒนาระบบบริการสุขภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Health) และ Telemedicine

5.กำหนดตำแหน่งข้าราชการรองรับแพทย์จากสถาบันเอกชนและต่างประเทศ

6.พิจารณาเพิ่มค่าตอบแทนนอกเวลาราชการหรือ OT

7.ส่งเสริมสวัสดิการ

อย่างไรก็ตาม นพ.วีระพันธ์ ระบุว่าเห็นด้วยกับการกำหนดพื้นที่พิเศษเพิ่มสิทธิประโยชน์ ซึ่งเป็นมาตรการที่สามารถทำได้เลย แต่ต้องเร่งดำเนินการเพราะต้องมีการประกาศระดับกระทรวง ระดับคณะรัฐมนตรี ขณะที่แนวทางข้ออื่นๆ อาจมีข้อจำกัด เช่น อาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 ปีในการเพิ่มจำนวนแพทย์เพิ่มพูนทักษะ การขอสนับสนุนแพทย์จากจังหวัดใกล้เคียงก็จะส่งผลกระทบต่อกันเป็นลูกโซ่ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพสต.) บางแห่งอินเทอร์เน็ตก็ยังคงไม่ถึง ขาดอุปกรณ์ในการทำ Telemedicine จะเอาตำแหน่งข้าราชการรองรับเพิ่มอย่างไรทั้งที่ปัจจุบันยังมีบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่ได้บรรจุ รวมถึงยังต้องเผชิญปัญหาเรื่องงบประมาณที่อาจเป็นอุปสรรคในการเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการ

“ต้องเริ่มจากความจริงใจของคนที่ต้องการแก้ปัญหาก่อน ไม่ใช่การแก้ตัว ไม่ใช่ว่าพอเกิดปัญหาแล้วเราก็มาแก้ มาบอกไม่จริงนะ…เพราะฉะนั้นเนี่ยอันดับแรกคือต้องมีความจริงใจก่อนที่จะแก้ปัญหาต้องรับฟังรับฟังปัญหาจากคนที่เขาทำงานจริงๆ อย่าไปรับฟังจากหมออาวุโสที่อยู่ข้างบนที่ลืมชีวิตตัวเองสมัยหนุ่มๆ ไปแล้ว” นพ.วีระพันธ์ กล่าว

[ถึงเวลาหรือยังกับระบบ Co-Payment ?]

นพ.วีระพันธ์ ให้ความเห็นถึงภาระงานที่มากเกินไปของแพทย์ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะการที่คนรักษาสุขภาพน้อยลง และมีโครงการที่ลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งต่างประเทศอย่างอังกฤษก็ได้หันไปใช้ระบบการมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้ง หรือ  Co-Payment แล้ว

“ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค จนตอนนี้ไม่ได้เก็บ 30 บาทแล้วนะครับ เป็นนโยบายที่ชาวบ้านได้ประโยชน์จริงนะ จะสังเกตว่ามีคนล้างไตมีคนที่แบบได้ทำการรักษาโรคเรื้อรัง อุบัติเหตุต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้นจริง อันนี้ส่วนนี้ต้องยอมรับ แต่ข้อดีเหล่านี้เองจริงๆ ก็มีปัญหามากพอสมควร เพราะว่าคนเริ่มจะไม่รักษาสุขภาพ คนจะไม่ดูแลตัวเอง คนก็จะไปโรงพยาบาลนะเป็นไรเป็นเล็กเป็นน้อยไปกี่โมงก็ไปได้หมดนะครับ….ผมเชื่อว่าสามารถที่จะแก้ได้ด่วนที่สุดและตรงประเด็นและลดได้เกือบทุกปัญหาเลยจริงๆ ตอนนี้คือ Co-pay คือคุณไปโรงพยาบาลครั้งหนึ่งเนี่ยคุณต้องมีส่วนเสียบ้าง อย่างเช่น 100 บาท มันไม่เยอะ แต่ว่าคุณจะยับยั้งการไปโรงพยาบาลลง…เพราะฉะนั้นผมคิดว่า Co-pay จะแก้ปัญหาได้หลายอย่าง เงินก็จะเข้าระบบมากขึ้น Workload ของแพทย์จะลดลง คนจะรักษาสุขภาพมากขึ้นกว่าเก่า” นพ.วีระพันธ์ เสนอ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า