SHARE

คัดลอกแล้ว

ความสัมพันธ์ระหว่างอเมริกากับจีนกำลังดิ่งลงเหวอีกครั้ง หลังจากที่สองประเทศขึ้นภาษีกันสูงลิ่วใส่กันกว่า 100% ทำให้การค้าโลกสั่นสะเทือน และแน่นอนว่าตอนนี้หลายๆ ประเทศกำลังถูกบีบให้เลือกข้าง เพราะทั้งอเมริกาและจีนต่างฝ่ายต่างพยายามครองความเป็นผู้นำทุกด้าน 

โดยเฉพาะกับ CHIP WARS หรือสงครามชิปฯ ที่ทั้งสองพยายามอยากจะเป็นผู้นำให้ได้ เพราะจะได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจโดยสมบูรณ์แบบ พอสงครามชิปกำลังปะทุอีกครั้ง ความเสียวก็มาเยือน “ไต้หวัน” เลยทันที เพราะไต้หวันมี TSMC บริษัทผลิตชิปฯ อันดับ 1 ของโลกอยู่ ซึ่งทั้งอเมริกาและจีนต่างอยากได้ทั้งไต้หวันและ TSMC มาอยู่ภายใต้พันธมิตรกัน 

เพราะในสมรภูมิเทคโนโลยีระดับโลก ผู้ครอง “สมองกล” อย่างเซมิคอนดักเตอร์ คือผู้ที่สามารถควบคุมทิศทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม และแม้แต่กำลังทหารของอนาคตได้

แต่การจะได้มาซึ่ง TSMC และไต้หวัน ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ไม่ใช่แค่เป็นศูนย์กลางการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงที่สุดของโลก แต่ยังมีสถานะที่เปราะบางในทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้จีนมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน และพร้อมจะใช้ “ทุกวิถีทาง” เพื่อรวมชาติให้ได้ 

ขณะที่อเมริกา แม้ไม่ให้การรับรองเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่ก็ทุ่มกำลังและทรัพยากรเพื่อปกป้องไต้หวันไว้ เพราะถ้าเสียเกาะนี้ไป ไม่ใช่แค่สูญเสียพันธมิตรเท่านั้น แต่จะเสียขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีไปด้วย

[ ‘ไต้หวัน’ กำลังอยู่บนความเสี่ยง ] 

บทความจาก The Eeconomist ระบุไว้ว่า จีนมองว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของตน และไม่ปฏิเสธว่าพร้อมบุกยึด หากไต้หวันประกาศเอกราชอย่างเป็นทางการ ขณะเดียวกัน ไต้หวันก็ต้องการรักษาสถานะประชาธิปไตยที่ปกครองตนเองเอาไว้

อเมริกาจึงใช้ยุทธศาสตร์ “คลุมเครือ” แบบกลืนไม่เข้าคายไม่ออก  ไม่สนับสนุนให้ไต้หวันประกาศเอกราช แต่ก็ขายอาวุธให้ไต้หวัน และคัดค้านการใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนสถานะของเกาะนี้ โดยไม่มีคำมั่นชัดเจนว่าจะปกป้องไต้หวันหากถูกรุกราน

ขณะเดียวกันในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ความตึงเครียดทวีความรุนแรงขึ้น พรรค DPP ที่มีแนวโน้มหนุนเอกราช ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวันมาแล้ว 3 ครั้งซ้อน นับตั้งแต่ปี 2010 บทบาทเศรษฐกิจของไต้หวันยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะบริษัท TSMC ที่ครองตลาดเซมิคอนดักเตอร์ขั้นสูงของโลก ซึ่งจำเป็นต่อ AI

อีกด้านหนึ่ง จีนเพิ่มงบกลาโหมขึ้นถึง 3 เท่า ทำให้อเมริกาสูญเสียความได้เปรียบทางทหารในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง นักวางกลยุทธ์ของสหรัฐยังคงหวังว่า ถ้าสหรัฐแสดงความพร้อมที่จะสู้ให้ชัดเจนพอ 

‘สี จิ้นผิง’ อาจยังชะลอเป้าหมายตลอดชีวิตของเขา การรวมจีนให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะหากเกิดสงคราม ไต้หวันจะกลายเป็นหายนะระดับโลก และไม่คุ้มเลยที่ผู้นำจีนจะเดิมพันทั้งชื่อเสียงและอนาคตของพรรคคอมมิวนิสต์กับการรุกรานที่อาจล้มเหลว

[ 3 ปัจจัยที่จะทำให้เกมเปลี่ยน ]

ซึ่ง 3 ปัจจัยหลักๆ ที่จะทำให้ “ไต้หวัน” เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะมี

  1. ความอ่อนแรงของอเมริกาภายใต้ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ แม้เขาจะพูดถึง “สันติภาพจากพลัง” และนำเสนอตัวเองว่าแข็งกร้าวกับจีน แต่ผลลัพธ์ของสงครามการค้ากลับตรงกันข้าม ปี 2024 เขาขู่ไว้ว่า หากจีนบุกไต้หวัน เขาจะขึ้นภาษีถึง 150–200% ปัจจุบัน อเมริกาได้ขึ้นภาษีไปถึง 145% แล้ว แทบไม่มีหมัดเด็ดเหลืออยู่ แถมพันธมิตรสำคัญก็โดนลูกหลงไปด้วย เช่น ไต้หวันโดนเก็บภาษี 32% และทรัมป์ยังกดดันให้ TSMC ย้ายฐานการผลิตมายังอเมริกา ประเทศอย่างออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ก็เผชิญภาษีและแรงกดดันให้ตัดขาดจากจีน ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของพวกเขา แม้จะไม่มีประเทศเอเชียไหนอยากถอนตัวจากพันธมิตรด้านความมั่นคงกับอเมริกา แต่เพราะไม่มีทางเลือกอื่น การถูกดึงเข้าไปในความขัดแย้งไต้หวันย่อมทำให้พวกเขาหวาดหวั่นมากขึ้น
  1. จีนมีกลยุทธ์ใหม่ที่ไม่ใช่แค่ “บุก” แม้จีนยังคงซ้อมรบใหญ่และเตรียมพร้อมสำหรับการใช้กำลังเต็มรูปแบบ (อย่างในปฏิบัติการ “Strait Thunder” ที่ล้อมไต้หวันด้วยเรือรบ 38 ลำ) แต่พวกเขากำลังมุ่งไปที่กลยุทธ์ “เขตสีเทา” หรือ grey-zone tactics การข่มขู่โดยไม่ใช้อาวุธ

เช่น การตั้งด่านตรวจศุลกากรในน่านน้ำรอบไต้หวัน การกักเรือขนส่งภาคเอกชน หรือการจำกัดการค้าชั่วคราว โดยใช้กำลังจากกองเรือตำรวจชายฝั่งที่ขยายขนาดใหญ่โตมากในช่วงหลัง

เป้าหมายคือทำลายความมั่นใจของชาวไต้หวันว่าสหรัฐจะเข้ามาช่วยจริงหรือไม่ และหวังให้ประชาชนเกิดความลังเลในตัวผู้นำของตน ที่สำคัญ จีนได้แรงหนุนทางการทูตจากกว่า 70 ประเทศ ตั้งแต่ปี 2023 ที่ประกาศสนับสนุน “ความพยายามทุกรูปแบบ” ของจีนในการรวมชาติ สิ่งนี้ทำให้จีนมีช่องให้ลงมือ โดยไม่ถูกประณามอย่างรุนแรงจากนานาชาติ

  1. การเมืองไต้หวัน “ติดหล่ม” และไร้เอกภาพ แม้ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ไม่อยากอยู่ภายใต้การปกครองของจีน แต่การเมืองภายในกลับเป็นอุปสรรคใหญ่ หลังการเลือกตั้งล่าสุด ประธานาธิบดี ‘ไล่ ชิงเต๋อ’ จากพรรค DPP ต้องบริหารประเทศร่วมกับรัฐสภาที่ถูกควบคุมโดยพรรค KMT (ที่ประนีประนอมกับจีนมากกว่า) และพรรคที่สามของคนรุ่นใหม่ที่ไม่พอใจพรรคเดิมๆ สถานการณ์นี้ทำให้ไต้หวันเพิ่มงบกลาโหมไม่ได้ ลดการพึ่งพาพลังงานนำเข้าไม่ได้ และยังไม่สามารถเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตใดๆ ได้เต็มที่ แม้แต่การพยายามปราบปรามการแทรกแซงจากจีนของผู้นำ ก็กลับจุดกระแสความแตกแยกในสังคมมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วหากอเมริกาแสดงท่าทีถอยห่างจากไต้หวัน ไต้หวันเองก็อาจหมดแรงใจจะต่อต้าน และหากไต้หวันไม่พร้อมจะสู้ สหรัฐก็ยิ่งไม่มีเหตุผลจะยื่นมือเข้าไปช่วย นี่อาจนำไปสู่เส้นทางที่ไต้หวันค่อยๆ ถูกจีนดูดกลืน โดยไม่ต้องเปิดศึกเต็มรูปแบบ

ทรัมป์อาจเลือกใช้กำลังในบางจุด แต่ก็อาจเลี่ยงการเสี่ยงสงครามนิวเคลียร์กับจีน และเลือกเจรจาเพื่อ “แลก” ไต้หวันด้วยซ้ำ ผลลัพธ์จะเป็นหายนะของประชาธิปไตยไต้หวัน และสร้างความตื่นตระหนกต่อซัพพลายเชนเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก

แต่อเมริกาคงไม่ยอมสูญเสียอำนาจในแปซิฟิกไปทั้งหมด แต่ต้องทุ่มทรัพยากรมหาศาลเพื่อฟื้นสถานะเดิม ขยับแนวป้องกันจากเกาะไต้หวัน (first island chain) ไปสู่เส้นที่สอง เช่น ญี่ปุ่น–เกาะกวม และต้องสร้างข้อตกลงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงใหม่กับพันธมิตรในเอเชีย มิฉะนั้นประเทศเหล่านั้นอาจเลือกพัฒนานิวเคลียร์ของตนเอง

การแสดงพลังของทรัมป์ผ่านนโยบายปกป้องทางการค้าและความแข็งกร้าวต่อพันธมิตร อาจทำให้ “อเมริกายิ่งใหญ่” ในสายตาเขา แต่มันกลับบั่นทอนศักยภาพในการปกป้องไต้หวัน ซึ่งแน่นอนว่า ปักกิ่งย่อมจับตาดูอยู่อย่างใกล้ชิด

นี่จึงไม่ใช่แค่สงครามเศรษฐกิจ ไม่ใช่แค่เกมการทูต แต่มันคือจุดเปลี่ยนของอำนาจโลก ที่อาจลากโลกเข้าสู่ “มหาสงครามเย็นครั้งใหม่” ที่เดิมพันไม่ใช่แค่ดินแดน แต่คืออนาคตของมนุษยชาติทั้งใบ

ที่มา

        • https://www.economist.com/leaders/2025/05/01/a-superpower-crunch-over-taiwan-is-coming

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า