SHARE

คัดลอกแล้ว

ถ้าพูดถึง ‘สวนสยามทะเลกรุงเทพฯ’ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อเป็น สยามอะเมซิ่งพาร์ค” (Siam Amazing Park) เมื่อ 45 ปีก่อน ไม่มีใครไม่รู้จักเพราะสถานที่แห่งนี้เป็นสวนน้ำและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในยุคนั้น

บนพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 300 ไร่ ซึ่งเป็นเจ้าของโดย ‘ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ’ เจ้าของสวนสยามฯ Legacy แห่งหนึ่งในประเทศไทย หลายคนอาจยังไม่มีใครรู้ว่า กว่าจะเปิดตัวขึ้นในปี 2523 เรื่องราวชีวิตและเส้นทางธุรกิจของเขาลำบากยากเย็นขนาดไหน

[ หนีสงคราม มาตายเอาดาบหน้า ]

ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ สมัยตอนอายุได้เพียง 5 ขวบ เขาได้เข้ามาสร้างชีวิตใหม่ในประเทศไทยกับพ่อแม่ พร้อมพี่น้อง 8 คน เพราะตอนนั้นกำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2

ครอบครัวที่มีฐานะแร้นแค้น กับลูกๆ กว่า 8 คนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของ ไชยวัฒน์ ลำบากมาก พ่อแม่ต้องพยายามสร้างชีวิตใหม่ในเมืองไทย ขณะเดียวกันก็ต้องหาเงินเลี้ยงครอบครัวไปด้วย ทำให้ ไชยวัฒน์ มีโอกาสได้เรียนหนังสือถึงแค่เพียง ป.4

พอหยุดเรียนไป เขาก็ต้องมาช่วยพ่อแม่ทำงานทันทีตั้งแต่ 7 ขวบ ทำงานสารพัดตั้งแต่ตอนนั้น เพื่อให้พ่อแม่ได้เงินมากขึ้น

ไชยวัฒน์ ทำงานหนักตั้งแต่เด็ก ทั้งขายขนม, ล้างจาน, เป็นกระเป๋ารถเมล์ เพื่อหวังที่จะได้ขับรถเป็น ลองฝึกเป็นคนขับรถเมล์ดูสักครั้ง เพื่อยกพื้นฐานชีวิตและครอบครัวให้ดีกว่าเดิม

จากนั้นตอนอายุ 18 เขาพอจะมีเงินเก็บอยู่ก้อนหนึ่ง ซึ่งเขาเริ่มคิดที่จะเปลี่ยนอาชีพมารับจ้างขนส่งทั่วไป แต่ด้วยความที่เงินก้อนนั้นไม่พอ จึงต้องบากหน้าไปยืมเงินญาติอีก 500 แล้วตัดสินใจซื้อ ‘รถกระบะ’

บังเอิญไปเห็นอาชีพใหม่ที่น่าสนใจกว่า และคิดว่าน่าจะสร้างรายได้มากกว่านี้ นั่นก็คือ ‘พ่อค้าเพาะพันธุ์ปลาขาย’ ซึ่งสมัยนั้นถือว่าเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ได้เป็นกอบเป็นกำอยู่พอสมควร

[ จุดเปลี่ยนสำคัญ สู่นักสร้างบ้านขาย ]

จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่เกิดขึ้น หลังจากที่ ‘ไชยวัฒน์’ ได้เจอกับ ‘บุญชู เธียรสวน’ เศรษฐีที่ดินที่รู้จักกันโดยบังเอิญ อาจจะเพราะว่าไชยวัฒน์ เป็นคนมีฝีมือ มานะอดทน และขยัน ‘บุญชู’ ได้ให้คำแนะนำเขาว่า “ขายปลาก็ดี แต่ว่าปลามันมีวันตาย ลองมาทำอาชีพที่ไม่มีวันตายดูมั้ย”

ประโยคสั้นๆ ในวันนั้น จุดประกายความคิดให้ ไชยวัฒน์ เริ่มหาลู่ทางใหม่ๆ ที่ไม่ใช่เกี่ยวกับการทำธุรกิจกับสิ่งมีชีวิต

จนมาตกผลึกอยู่ที่ ‘การสร้างบ้านให้คนมาซื้อ’ หรือภาษาสมัยนี้ก็คือ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ นั่นเอง

ไชยวัฒน์ ตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพ เขาเอาเงินทั้งหมดที่หามาได้จากธุรกิจขายปลา มาลงทุนสร้างหมู่บ้านจัดสรร แล้ววางขายทันทีที่โครงการเสร็จสมบูรณ์

ปรากฏว่า เป็นไปตามคำแนะนำของ ‘บุญชู’ เพราะมันได้เงินเยอะกว่าการขายปลามากๆ ซึ่งต้องพูดว่า ช่วงชีวิตนั้นของไชยวัฒน์ สถานะครอบครัวคือดีขึ้น กลายเป็นคนชนชั้นกลางถึงสูง

พ่อแม่ไม่ต้องทำงานหาเงินแล้ว อีกทั้งเขายังสามารถดูแลครอบครัว พี่น้อง และสร้างครอบครัวของตัวเองได้อีกด้วย

ไชยวัฒน์ ทำแบบนั้นอยู่ราว 10 ปี จนเพิ่มพูนรายได้ ถึงระดับ ‘พันล้าน’ เขากลายเป็นมหาเศรษฐีติดท็อปๆ ของไทย ทั้งที่ตอนนั้นเขามีอายุได้เพียง 20 ปลายๆ เท่านั้นเอง ถือเป็นปรากฏการณ์ของวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยเลยก็ว่าได้

[ นักลงทุนอสังหาฯ สู่เจ้าของสวนสยามทะเลกรุงเทพฯ ]

จากชีวิตที่ตอนนั้นขึ้นสูงสุดมีเงินเป็นหลักหลายๆ ล้านหมุนเวียนในระบบบัญชี จากการขายโครงการบ้านมากมายของเขา

วันหนึ่ง ไชยวัฒน์ มีโอกาสได้เจอกับ ‘ชาตรี โสภณพนิช’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ของธนาคารกรุงเทพในยุคนั้น พวกเขาทั้งสองได้คุยกันว่า ประเทศไทยยังขาดสวนสนุกขนาดใหญ่ ที่จะรองรับความต้องการของคนไทย

ทั้งสองพูดคุยกันถูกคอ จึงมีไอเดียจะเปิดสวนสนุกร่วมกัน ทั้งศึกษาตลาด ความเป็นไปได้ในเมืองไทย และไปดูงานที่สหรัฐอเมริกาก่อนจะลงทุนสร้างจริง

อย่างไรก็ตาม เมื่อคุยถึงขั้นรายละเอียด ชาตรีขอถอนตัว เพราะมองว่า โปรเจ็กต์นี้ใช้เงินลงทุนมากเกินไปซึ่งเขายังไม่พร้อม และมองว่าคนไทยก็อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับสวนสนุก และเครื่องเล่นแปลกใหม่ เหมือนอย่างดิสนีย์แลนด์ในต่างประเทศ

แต่ไชยวัฒน์ ยืนยันว่าเขาอยากจะเปิดต่อ แม้จะลงทุนเพียงคนเดียวก็ตาม ดังนั้นจึงตัดสินใจ ขายสินทรัพย์เกือบทุกอย่างที่สร้างมากับมือ เพื่อสานฝันทำสวนสนุก บนพื้นที่ทำเลนอกเมืองกรุงฯ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่า เป็นสวน และพื้นที่โดยรอบก็ยังไม่เจริญ

ครอบครัวของเขาต่างก็พยายามคัดค้าน บ้างก็บอกว่าเงินลงทุนจะหายวับ บ้างก็บอกว่า เขาเป็นบ้างที่จะเอาเงินทั้งหมดที่มีอยู่แล้ว ไปลงทุนกับสิ่งที่ยังไม่รู้เลยว่าคนไทยจะกล้าเล่นหรือไม่

ไชยวัฒน์ ยอมเดินหน้าต้านแรงโน้มทวงส่วนใหญ่ของผู้คนรอบตัว และในที่สุด ฝันก็เป็นจริง ‘สวนสยาม’ เปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2523

ในช่วงแรก สถานการณ์การเงินเข้าขั้นวิกฤต เพราะขาดทุนตั้งแต่เดือนแรกที่เปิดตัว เพราะเก็บค่าเข้าแพงไม่ได้ เนื่องจากคนไทยยังไม่พร้อมจ่ายหนักขนาดนั้น

ไชยวัฒน์ จำเป็นต้องเอาตัวรอดด้วยการเอาทรัพย์สินที่มีไปจำนองและขาย แต่หนี้ก็ยังไม่หมด จนถูกฟ้องล้มละลาย

เขาต้องจำใจขายหมู่บ้าน ‘Land & House’ สาขาที่ลาดพร้าว ซึ่งเป็นสมบัติสุดหวงชิ้นสุดท้ายของครอบครัว เพื่อนำเงินมาใช้หนี้ธนาคารทั้งหมด

เมื่อใช้หนี้หมดแล้ว ไชยวัฒน์ มองว่า ยังมีอีกบางส่วนที่ยังสร้างไม่เสร็จ เครื่องเล่นยังไม่ครบ และสวนน้ำที่เขาฝันไว้ก็ยังไม่เกิด จึงตัดสินใจขอกู้เงินธนาคารอีก 3,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนเครื่องเล่น จนในที่สุดสวนสยามก็มีทั้งสวนน้ำและสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียในยุคนั้น

ปัจจุบันชื่อเปลี่ยนมาเป็น “สยามอะเมซิ่งพาร์ค” และบริหารโดยทายาทรุ่นที่ 2 ของตระกูล ‘เหลืองอมรเลิศ’ นั่นก็คือ ‘วุฒิชัย เหลืองอมรเลิศ’ ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนชื่อแล้ว ยังปรับคอนเซ็ปต์ของสถานที่แห่งนี้ด้วย

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้กล่าวต่อสื่อว่า บริษัทยังให้ความสนใจในการลงทุนโครงการเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ เพียงแต่ว่ารอดูว่าจะเป็นรูปแบบการลงทุนและกาสิโนถูกกฎหมายอย่างไร

ทั้งยังแสดงความคิดเห็นว่า เมืองไทยจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ เช่น เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ อย่างน้อยๆ ก็สามารถฟื้นตัวอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในประเทศได้

แต่ไม่ว่าสถานะตอนนี้ของสวนสยาม หรือ สยามอะเมซิ่งพาร์ค จะเป็นอย่างไร แต่จุดเริ่มต้น และเส้นทางการต่อสู้ของ ดร.ไชยวัฒน์ ตลอดที่ผ่านมาแน่นอนว่าเป็นกรณีศึกษาที่ดีให้คนในเจเนเรชั่นปัจจุบันได้อย่างดี

ทำให้เรารู้ว่า พื้นฐานสำคัญของการทำธุรกิจเลย อย่างน้อยที่ทุกคนควรต้องมีก็คือ ‘ความอดทน และความพยายาม’ เพราะหากถ้าขาดคุณสมบัตินี้ไปแล้ว เราอาจจะเดินไม่ถึงเส้นชัยความสำเร็จก็ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า