SHARE

คัดลอกแล้ว

กำแพงภาษีที่นับวันยิ่งเละเทะ ตราบใดที่แต่ละประเทศยังเจรจากับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ไม่น่าพอใจเท่าที่ควร ผลกระทบจะขยายเป็นวงกว้าง แม้แต่ ‘ไปรษณีย์ไทย’ ก็ยังต้องปรับตัว ถึงแม้ว่าผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปี 2025 เติบโตเกินคาดกว่า 227% แต่นี่คือสิ่งที่ไปรษณีย์มอง

ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มองว่า อนาคตอันใกล้มากๆ ประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายเล็ก หรือ SMEs จะตำที่นั่งลำบากเพราะการแข่งขันรุนแรงขึ้น

สินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะ ‘เขตพรมแดน’ จะทะลักเข้ามาทำการแข่งขันกับ SMEs ของไทย ซึ่งสินค้าของประเทศต้นทางที่เข้าไทยจะใช้บริการขนส่งของตัวเอง ดังนั้น บริษัทที่ให้บริการขนส่งในไทย รวมถึงไปรษณีย์ไทยด้วย จะได้รับผลกระทบเช่นกัน

เป็นเหตุผลเบื้องหลังว่า ทำไมไปรษณีย์ไทยพยายามยกระดับ SMEs ไทย และร่วมมือกับสภาเอสเอ็มอีไทย เพื่อสร้างระบบนิเวศให้ SMEs ทำธุรกิจให้ยั่งยืนที่สุด โดยจะมี 8 ด้านหลักๆ ที่จะร่วมพัฒนาและยกระดับด้วยกัน ก็คือ

-การเข้าถึงแหล่งทุน

-ระบบชำระเงิน

-ระบบขนส่ง

-โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ

-กฎหมาย

-ช่องทางอีคอมเมิร์ซ

-การส่งเสริมองค์ความรู้และรวมกลุ่มผู้ประกอบการ

[ สินค้าไทยส่งออกน้อยลง 10% ]

ปัจจุบันยอดส่งออกของไทยไปต่างประเทศลดลงประมาณ 10% จากปัญหาการแข่งขันด้านราคา

และมีแนวโน้มว่าจะลดลงอีก ผลพวงมาจากกำแพงภาษีของประธานาธิบดีทรัมป์ ขณะที่ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ปรับลด GDP ไทยแล้วจาก 2.4-2.9% มาอยู่ที่ 2-2.2% ถ้าสิ่งที่สหรัฐฯ เคยขู่จะขึ้นภาษีนำเข้าไทย 36% เกิดขึ้น

ทั้งยังมองว่า สงครามภาษีจะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เพราะที่ผ่านมาไทยส่งออกสินค้าหลายกลุ่มไปที่สหรัฐฯ เช่น สินค้าการเกษตร, ยางพารา, เครื่องปรับอากาศ ฯลฯ

ดร.ดนันท์ ได้พูดถึงความท้าทายที่ไปรษณีย์อาจจะเผชิญเร็วๆ นี้ คือ 3 เรื่อง ได้แก่


1.เศรษฐกิจแย่ขึ้น ผู้คนเป็นหนี้กันเยอะขึ้น และกำลังการซื้อคนไทยจะลดลงเรื่อยๆ
2.การเปลี่ยนทิศทาง หรือกลุ่มปลายทางของบริการขนส่งของไปรษณีย์ จากการพยายามเลี่ยงผลกระทบจากกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งตอนนี้ไปรษณีย์ไทย ครอบคลุม 205 ปลายทาง 193 ประเทศ
3.การสร้างความสามารถให้กับ SMEs ไทย เพิ่มปริมาณการสั่งซื้อเพื่อทำให้ไปรษณีย์รอดจากผลกระทบด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายที่ทางไปรษณีย์มอง มันคือ ‘สิ่งที่ควบคุมไม่ได้’ ดังนั้น ความไม่แน่นอนจะสูงมาก แต่ไปรษณีย์ไทยพยายามปรับกลยุทธ์ใหม่ๆ อยู่ตลอด เพื่อต้องลงมือทำให้เร็วขึ้นด้วย

[ เน้นบริหารต้นทุน เพิ่มรายได้และกำไร ]

อย่างที่บอกไปตั้งแต่เริ่มว่า ผลงานของไปรษณีย์ไทยตั้งแต่ไตมาสที่ 1/2025 ดีขึ้นมาก เติบโตถึง 227% โดยมีรายได้รวม 5,945.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว 11.83% ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 534.45 ล้านบาท 

ดร.ดนันท์ กล่าวว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจดิจิทัลและการค้าออนไลน์ ยังคงมีการขยายตัวทั้งในประเทศและทั่วโลก ตลาดอีคอมเมิร์ซยังมีความคึกคัก และกลุ่มค้าปลีกมีแนวโน้มเติบโต

ผลการเติบโตของไปรษณีย์ไทยไตรมาสแรกปีนี้ สะท้อนให้เห็นว่า มีสัญญาณบวกจากมาตรการบริหารต้นทุนและรายได้ที่ดีขึ้น ซึ่งเป็น core หลักที่ดำเนินธุรกิจในเวลานี้

  • กลุ่มบริการไปรษณีย์ในประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้น 20.17%
  • กลุ่มบริการขนส่งและโลจิสติกส์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 13.15%
  • ปริมาณชิ้นงานไตรมาสที่ 1 ปีนี้ ก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน ราว 7.48% ซึ่งบริการที่โดดเด่นยังคงเป็นบริการส่งด่วน EMS ที่เพิ่มขึ้น 5.94%

“แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไตรมาสแรกจะส่งสัญญาณเชิงบวกกับไปรษณีย์ไทย แต่หนึ่งในความเสี่ยงด้านนโยบายระหว่างประเทศที่ต้องจับตาก็คือ การกลับมาของนโยบายทางการค้าในรูปแบบนโยบายภาษีศุลกากรต่างตอบแทน (Reciprocal Tariff Policy) ซึ่งอาจส่งผลต่อการขนส่งระหว่างประเทศทั่วโลก”

“ไปรษณีย์ไทยได้กำหนดให้เป็นหนึ่งในประเด็นความเสี่ยงที่ต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานนโยบายดังกล่าว และข้อยกเว้นภาษีนำเข้ากับสินค้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐ (De Minimis Exemption) กับการไปรษณีย์สหรัฐอเมริกา”

ที่น่าสนใจก็คือ กลยุทธ์และการพัฒนาของไปรษณีย์ไทยที่ผ่านมา ทำให้ ‘ลูกค้าเดิม’ ที่เคยใช้ไปรษณีย์ไทย และเลิกใช้ไปแล้ว กลับมาใช้เหมือนเดิมราวๆ 15% ของกลุ่มลูกค้าเก่าที่เลิกใช้ทั้งหมด

ถือเป็นสัญญาณการดำเนินงานที่ดีขอบงไปรษณีย์ไทย ดร.ดนันท์ ได้พูดทิ้งท้ายว่า ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์อะไรก็ตามของไปรษณีย์ ต้องมี data ยืนยันว่ามันจะดี ต้องมีความแม่นยำกว่าเดิม ถ้าอินไซต์ที่ได้มาตอบไม่ได้ชัดเจนก็ต้องปัดตกไอเดียเหล่านั้นไป

หนึ่งในบริการใหม่ของไปรษณีย์ที่เกิดจากคลัง data หลังบ้าน นั่นก็คือ บริการขนส่งยาหรือเวชภัณฑ์ของสัตว์เลี้ยง น้องหมา น้องแมว ที่ต้องการความเร่งด่วน หรือความเซนซิทีฟในการจัดการระหว่างขนส่ง คาดว่าจะเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้

ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของไปรษณีย์ไทย ยังเป็น B2C ราว 60% และ 30% เป็น B2B เพราะมองว่า การเพิ่มรายรับที่ก้อนใหญ่เมื่อเจอปัญหาและทำให้รายได้สะดุด ไปรษณีย์จะขาดรายได้ในส่วนนั้นมากเกินไป ซึ่งอาจจะเติมหรือทดแทน รายได้ของส่วนนั้นๆ ไม่ทัน ซึ่งระบบการทำงานจะเกิดปัญหา

อย่างไรก็ตาม ลูกค้าทุกกลุ่มมีความสำคัญ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นไปรษณีย์ไทย หรือภาคธุรกิจอื่นๆ ก็ควรต้องบาลานซ์แต่ละกลุ่มในสัดส่วนที่เหมาะกับธุรกิจของตน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า