SHARE

คัดลอกแล้ว

กินเหล้า เพื่อสังคมอยู่นะ… คำแซวทีเล่นทีจริงในวงแคบ ของบรรดานักดื่มที่รับรู้ว่า เงินทุนอุดหนุนหลัก ราว 2,000 ล้านบาท ของสื่อสาธารณะ ที่เราคุ้นกันในชื่อ Thai PBS ส่วนหนึ่งมาจาก ภาษีสุราและยาสูบ ที่ประชาชนจำนวนไม่ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ โดยไม่รู้ตัว

 

‘โรงเรียนของสังคม’ ตามนิยามที่ถูกกล่าวไว้ใน ยุทธศาสตร์การทำงานของ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ Thai PBS กำลังอยู่ในช่วงของการสรรหาผู้อำนวยการคนใหม่ เพื่อเดินหน้า “แสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง และคุ้มค่าเป็นที่ประจักษ์” 

ดังนั้น ในวาระที่โรงเรียน ซึ่งเป็นสมบัติของสาธารณะจะเลือก ผอ. ทั้งที โอกาสนี้จึงชวนไปทำความรู้จักองค์กรแห่งนี้ ทั้งในเรื่องเป้าหมายและการทำงานขององค์กร ผ่านเอกสารที่เผยแพร่สาธารณะ จาก ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ส.ส.ท. พร้อมไล่เรียงขั้นตอน และไทม์ไลน์ การเลือก ผอ. ที่ไปๆ มาๆ ทุกคนอาจรู้สึกว่าใกล้ตัวกว่าที่คิด

[กว่าจะมาเป็น Thai PBS]

จุดเริ่มต้น เกิดขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 แล้วจึงให้จัดตั้งองค์การที่จะผลิตเนื้อหาตามเป้าหมายขึ้น

เป็นที่มาให้เกิด ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวงใดๆ อย่าง Thai PBS ขึ้นมา ภายหลังจากการปิดตัวลงถาวร ของ ไอทีวี หลังจากที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับสัมปทานคลื่นความถี่ดังกล่าวกลับมาเป็นของรัฐ ช่วงปี 2550 

ก่อนที่ผ่านไปปีเดียว สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ จึงมอบช่องสัญญาณนั้นให้กรมประชาสัมพันธ์ดูแล ในระหว่างที่มีการจัดตั้ง ส.ส.ท. เมื่อแล้วเสร็จ จึงออกอากาศในนาม สถานีโทรทัศน์ Thai PBS

ตามแผนบริหารกิจการ ประจำปี 2565 – 2568 ได้ประกาศเป้าหมายและแนวทางการดําเนินการเอาไว้ ว่าจะบรรลุได้ด้วยการสร้างความรู้สึกผูกพันให้แก่ผู้ชมผู้ฟัง และทำให้เห็นว่าที่นี่เป็นสมบัติของสาธารณะ (Public Goods) ซึ่งต้องแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างและคุ้มค่าอย่างเป็นที่ประจักษ์ 

‘ด้วยการทําให้เนื้อหาเป็นกลไก ที่หล่อหลอมคุณค่าทางสังคม ให้ประชาชนได้รับข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง ครบถ้วนรอบด้าน ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์และสามารถเตรียมรับมือได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับนําเสนอประเด็นทางเลือกทางออก รวมถึงนําพาสังคมออกจากวิกฤต รวมถึงผลิตเนื้อหา สําหรับกลุ่มผู้ชมผู้ฟังที่เป็นกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มที่ถูกละเลย (Voiceless) ที่สื่ออื่นไม่ครอบคลุม’

[แล้ว Thai PBS ทำอะไรบ้าง]

ตามรายงานผลงานปี 2566 ของ Thai PBS มีผู้รับชมทางโทรทัศน์ช่อง 3HD จำนวน 3.8 ล้านเครื่องโดยประมาณ เข้าชมสดทางเว็บไซต์ และทุกบัญชีโซเชียลมีเดียอีก 148 ล้านครั้ง ขณะที่ ทางโทรทัศน์ช่อง ALTV 4SD จำนวน 3.6 แสนครั้ง รวมช่องทางเว็บไซต์ 1.7 ล้านครั้ง

และอย่างที่ทราบว่า Thai PBS ยังให้บริการวิดีโอสตรีมมิงแพลตฟอร์ม VIPA และ พอดแคสต์ เช่นเดียวกับ บริการเนื้อหาทางออนไลน์ ทั้ง ThaiPBS World, The Active, Citizen+, C-Site, ThaiPBS Kids, ไทยบันเทิง

ทั้งนี้ ตามแนวทางการดำเนินงาน ระบุว่า เนื้อหาและบริการของ Thai PBS ต้องนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ใน 8 มิติด้วยกัน ดังนี้

  • เปิดประเด็นและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง
  • ให้ความสำคัญกับเนื้อหาเชิงสอบสวน เจาะปัญหาคอร์รัปชัน
  • เน้นการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับคนทุกวัย
  • ผลิตเนื้อหาและจัดกรรมให้กลุ่มเปราะบาง คนตัวเล็กตัวน้อย และเด็ก ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
  • เป็นต้นแบบสื่อที่มีจริยธรรม ให้ข้อมูลที่อ้างอิงได้
  • เป็นที่พึ่งให้สังคมทั้งในยามปกติ และยามวิกฤติ
  • สร้างการมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง
  • พัฒนาช่องทางและบริการ ให้เข้าถึงกลุ่มประชากรได้หลากหลายและเพียงพอ

นั่นเอง ทำให้ Thai PBS มีการนำเสนอเนื้อหาที่หลากหลาย และหลากหลายชิ้นก็ได้รับการยอมรับ​ โดยมีรางวัลการันตี

[ผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการ]

ที่ผ่านมา เมื่อมีข้อเสนอของการจัดสรรทรัพยากร และจัดเก็บรายได้ของรัฐให้เป็นระบบ ชื่อของ Thai PBS ปรากฏอยู่หลายต่อหลายครั้งในที่ประชุมรัฐสภา อย่างที่ทราบกันว่า ตามระเบียบของกรมสรรพสามิต องค์กรมีหน้าที่จัดเก็บภาษี แล้วส่งเงินบํารุงองค์การในอัตรา ร้อยละ 1.5 ของภาษีสุราและค่าแสตมป์ยาสูบ ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา และกฎหมายว่าด้วยยาสูบ

นั่นเอง ทำให้ในช่วงที่รัฐมีปัญหาจัดเก็บภาษีไม่ได้ตามเป้า Thai PBS ก็จะถูกเพ่งเล็งไปด้วย ทั้งที่เคยมีการชี้แจงว่า เงินอุดหนุนดังกล่าว เป็นการเก็บเพิ่มเติมจากยอดภาษี ไม่ใช่การหักออกจากที่รัฐจะได้

อธิบายอย่างง่ายคือ หากงดหรือลดเงินอุดหนุน บริษัทเหล้าบุหรี่ก็ยังคงจ่ายรัฐเท่าเดิม แต่บริษัทเองต่างหากที่จะประหยัดเงินลง เพราะไม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่ม เพียงแต่ข้อเสนอที่พิจารณาต่อไปได้ คือ การจัดสรรควรผ่านรัฐสภา เพื่อให้เกิดการจัดสรรและประเมินความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ ไม่ใช้การนำส่งโดยตรง

ตามพระราชบัญญัติองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแหjงประเทศไทย พ.ศ. 2551 ในมาตรา 11 กล่าวถึง ทุน ทรัพย์สิน และรายได้ขององค์การ ว่าประกอบด้วย ดังนี้ 

1 เงินบํารุงองค์การที่จัดเก็บตามมาตรา 12

2 เงินและทรัพย์สินที่ได้รับโอนมา ตามมาตรา 57 หรือตามกฎหมายอื่น

3 ทุนประเดิมที่รัฐจ่ายให้เป็นการอุดหนุน ตามมาตรา 60

4 ค่าธรรมเนียม ค่าบํารุง ค่าบริการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดในการให้บริการ

5 เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ได้รับจากผู้สนับสนุนองค์การ

6 รายได้หรือการหาประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การ

7 ดอกผลที่เกิดจากเงินหรือทรัพย์สินขององค์การ

จากข้อ 5 นั่นเองที่พูดถึงไปช่วงต้น ว่า Thai PBS จะได้รับเงินนำส่งปีงบประมาณละ ไม่เกิน 2,000 ล้านบาท หรือไม่เกินจํานวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกําหนด

ตามความเห็นของนักวิชาการ อย่าง อ.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เคยเสนอว่า การให้เงินอุดหนุนลักษณะนี้ ซึ่งเกิดขึ้นกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เช่นกัน ควรได้รับการวิจัยถึงความคุ้มประสิทธิภาพ ถึงจะแก้ไขปรับปรุงใดๆ ไม่ใช่ด้วยเหตุว่ารัฐขาดสภาพคล่อง

ตัวอย่าง แผนงบประมาณ ปี 2566 ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบ และผ่านความเห็นชอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว ได้พูดถึงตัวเลข 2,839.72 ล้านบาท ซึ่ง 52.25% ใช้กับการดำเนินยุทธศาสตร์ ซึ่งก็เป็นภารกิจหลักที่ ผอ. คนใหม่นั่นเอง

[ผู้อำนวยการ ส.ส.ท. ไม่ใช่ยอดสุดของแผนผังต้นไม้?]

ตามโครงสร้างของ องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) ที่เผยแพร่ไว้เมื่อ 16 ก.พ. 2567 มีการไล่เรียงตำแหน่งหน้าที่ และหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อ ผอ. เอาไว้ คร่าวๆ คือ Thai PBS จะมี ‘คณะกรรมการนโยบาย’ ประกอบด้วย 9 คน ที่อยู่บนสุดของโครงสร้าง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเลือก ผอ. คนใหม่  

ด้วยการเลือก ‘คณะกรรมการสรรหา’ 9 คน ซึ่งเป็นบุคคลนอกเหนือโครงสร้างองค์กร แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่ได้รับการยอมรับในวงสังคม อย่างดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ผศ.ปกป้อง จันวิทย์ อดีตนักวิชาการ และอดีตบรรณาธิการอำนวยการ The101.world เป็นต้น มาทำหน้าที่คัดเลือกผู้สมัครในรอบแรก และประกาศชื่อเป็นทางการ ดังนี้

  • นายนพพร วงศ์อนันต์ อดีตบรรณาธิการแผนกภาษาไทยของบีบีซี
  • รองศาสตราจารย์ปัทมาวดี โพชนุกูล ที่ปรึกษาอิสระ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
  • นายรัฐศาสตร์ กรสูต รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)
  • นายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ อดีตบรรณาธิการนิตรสารสารคดี, อดีตรองผอ.ส.ส.ท. และอดีตผอ.อาวุโส PPTV
  • นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ พิธีกรรายการตอบโจทย์ ไทยพีบีเอส
  • นายอรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

ก่อนที่ จะเข้าสู่ขั้นตอนแสดงวิสัยทัศน์ ต่อคณะกรรมการนโยบาย ซึ่งตรงกับวันที่ 12 พ.ค.นี้ ครั้งนี้จะมีการถ่ายทอดสด เพื่อให้แคนดิเดต 3-5 คน สุดท้าย เพื่อส่งไม้กลับไปให้ คณะกรรมการนโยบาย เป็นผู้พิจารณาสัมภาษณ์ และเลือกผู้ได้รับตำแหน่ง

ฉะนั้น โดยสรุปในการได้มาซึ่ง ผอ. Thai PBS คณะกรรมการนโยบาย ก็ถือเป็นผู้ชี้ชะตาที่แท้จริง ซึ่งก็อาจไม่ได้ผิดปกติ เพราะอย่างที่เรากล่าวถึงโครงสร้างองค์การแห่งนี้ ก่อนจะมาถึงผู้อำนวยการ ส.ส.ท. หรือ ผอ. Thai PBS อย่างที่เราเรียกกัน ยังมี ‘คณะกรรมการบริหารขั้นกลาง’ อีกต่อหนึ่ง โดยจะมีโครงสร้างที่ขึ้นตรงกับ ผอ. Thai PBS เรียกว่า หน่วยสนับสนุนสภาผู้ชมและผู้ฟัง ที่ดูแลงานบริหารทั่วไป งานยุทธศาสตร์ และงานรับฟัง

คงต้องรอติดตามกันต่อไป ว่า ผอ. Thai PBS คนใหม่จะเป็นใคร และจะสามารถเข้ามาเดินหน้าภารกิจ ‘โรงเรียนของสังคม’ ให้เติบโตต่อในทิศทางใดในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า