SHARE

คัดลอกแล้ว

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ‘การบินไทย’ ต้องเผชิญกับวิกฤติครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งจากปัญหาการบริหารจัดการภายในที่สะสมมายาวนาน และผลกระทบโดยตรงจากวิกฤติโควิด-19 ที่ทำให้อุตสาหกรรมการบินทั่วโลกหยุดชะงัก

จากเคยเป็นสายการบินที่รุ่งเรือง ก็กลับกลายเป็นบริษัทที่ต้องเข้าสู่ภาวะล้มละลายทางบัญชี ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด จนต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการในที่สุด

[ ฟางเส้นสุดท้าย ]

หากย้อนไปตั้งแต่ก่อนเกิดโควิด-19 การบินไทยก็มีปัญหาทางการเงินอยู่แล้ว รายได้ต่อเที่ยวบินต่ำกว่าค่าใช้จ่ายมาหลายปีติดต่อกัน และยังมีภาระต้นทุนที่สูง การบริหารเส้นทางบินขาดประสิทธิภาพ และการลงทุนในหลายโครงการที่ผิดพลาด

พอมาเจอการระบาดของโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นในปี 2563 สายการบินหลายแห่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และสำหรับการบินไทย ที่บริษัทมีขาดทุนสะสมมาอยู่แล้วหลายปี การสูญเสียรายได้จากผู้โดยสารเกือบทั้งหมดในตอนนั้นคือ ‘ฟางเส้นสุดท้าย’  ที่ทำให้บริษัทต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ

โดยในเดือนพฤษภาคม 2563 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การบินไทยเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู โดยไม่ใช่การอัดฉีดเงินช่วยเหลือ แต่เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจเป็นบริษัทเอกชน พร้อมให้ศาลล้มละลายกลางเป็นผู้ควบคุมแผนทั้งหมด

[ เข้าสู่แผนฟื้นฟู ]

ตลอดระยะเวลาหลายปีภายใต้แผนฟื้นฟู การบินไทยพยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้กิจการยังเดินต่อไปได้ โดยมีการดำเนินมาตรการสำคัญหลายด้าน ได้แก่

การลดค่าใช้จ่ายและปรับโครงสร้างองค์กร ลดจำนวนพนักงานลงกว่าครึ่ง พร้อมปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ โดยบางส่วนแปลงหนี้เป็นทุน และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสริมความแข็งแกร่งของฐานะการเงิน

การปรับโครงสร้างทุน ลดมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 10 บาท เหลือ 1.30 บาท เพื่อล้างขาดทุนสะสมและปูทางสู่การกลับมาจ่ายปันผลในอนาคต

รวมถึงการฟื้นฟูรายได้และเส้นทางบิน ปรับเส้นทางบินให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด เพิ่มความถี่ในเส้นทางทำเงิน และเตรียมรับมอบเครื่องบินใหม่เพื่อตอบรับการเติบโต

[ จากขาดทุนสู่กำไร ] 

ความพยายามไม่เคยทรยศใคร จากวันที่กำไรติดลบสู่วันที่บริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้งได้สำเร็จ โดยตลอดช่วงหลายปี มานี้การบินไทยเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ และชัดเจนขึ้นตามลำดับ พาดูกำไรสุทธิย้อนหลังตั้งแต่ก่อนโควิด-19 ถึงปัจจุบัน

  • ปี 2560  กำไรสุทธิ -2,170  ล้านบาท
  • ปี 2561  กำไรสุทธิ -11,625 ล้านบาท
  • ปี 2562  กำไรสุทธิ -12,042 ล้านบาท
  • ปี 2563  กำไรสุทธิ -114,180 ล้านบาท
  • ปี 2564  กำไรสุทธิ  55,118 ล้านบาท
  • ปี 2565  กำไรสุทธิ -272  ล้านบาท
  • ปี 2566  กำไรสุทธิ  28,096 ล้านบาท
  • ปี 2567  กำไรสุทธิ  -26,933 ล้านบาท
  • ไตรมาสที่ 1 ปี 2568  กำไรสุทธิ 9,831 ล้านบาท

อาจจะเห็นว่าในปี 2567 กำไรสุทธิมีการติดลบเกิดขึ้นและเป็นจำนวนที่ค่อนข้างเยอะ  ต้องอธิบายว่าแม้จะขาดทุนแต่ก็เป็นรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัท

และไม่ได้ส่งผลต่อการออกจากการฟื้นฟูกิจการ เนื่องจากส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ภายหลังการปรับโครงสร้างทุนยังคงเป็นบวกอยู่

เท่ากับว่านับตั้งแต่ปี 2566 ‘การบินไทย’ มีผลการดำเนินการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2568

[ กลับสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ] 

ผลจากการเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ คือการถูก ‘พักการซื้อขายหุ้น’ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยทันทีที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับแผนฟื้นฟูในปี 2563 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็ขึ้นเครื่องหมาย ‘C’ พร้อมสั่งห้ามการซื้อขายชั่วคราวเนื่องจากบริษัทอยู่ในสถานะที่มีความไม่แน่นอนสูง

และจากที่เล่าไปว่าบริษัทเองก็ใช้ความพยายามในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หาวิธีในการที่จะทำให้กิจการเดินต่อไปได้จนมาถึงตอนนี้ที่บริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้ง และพร้อมที่จะกลับคืนสู่ตลาดหุ้นอีกครั้ง

โดยเมื่อ 8 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา คณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการมีมติอนุมัติให้จดทะเบียนเลิกกิจการบริษัทภายหลังดำเนินการปรับโครงสร้างกลุ่มธุรกิจการบินสำเร็จลุล่วงตามแผนเป็นอย่างดี

สำหรับความคืบหน้าในการออกจากการฟื้นฟูกิจการ ภายหลังจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเมื่อ 18 เมษายน 2568 ได้มีมติอนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ และได้ดำเนินการจดทะเบียนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงกรรมการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2568

ส่งผลให้ บริษัทฯ ดำเนินการตามผลสำเร็จของแผนฟื้นฟูกิจการครบถ้วนแล้ว จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการเมื่อ 28 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา

ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล โดยศาลล้มละลายกลางกำหนดนัดไต่สวนคำร้องอีกครั้ง 4 มิถุนายน 2568

[ บทเรียนที่ไม่มีวันลืม ]

นับจากวันที่ ‘การบินไทย’ ต้องเผชิญภาวะเกือบล้มละลาย สูญเสียสถานะรัฐวิสาหกิจ ขาดทุนสะสมมหาศาล และต้องหยุดการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ

เหล่านี้คือบทเรียนราคาแพงขององค์กรที่เคยยิ่งใหญ่ แต่ในเวลาเพียงไม่กี่ปี การบินไทยได้พิสูจน์ให้เห็นถึงศักยภาพในการปรับตัวและบริหารจัดการวิกฤติอย่างจริงจัง

วันนี้ ‘การบินไทย’ กำลังจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการอย่างเป็นทางการ พร้อมกลับเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกครั้งในฐานะบริษัทที่มีความแข็งแรงทางการเงินและมีทิศทางการเติบโตชัดเจน

แม้จะยังมีความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้า แต่การรอดชีวิตจากจุดตกต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ได้สำเร็จ กลายเป็นบทพิสูจน์ที่ยิ่งใหญ่และจะเป็นบทเรียนที่ไม่มีวันลืมของ ‘การบินไทย’

.

#TODAYBizview

#MAKETomorrowTODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า