SHARE

คัดลอกแล้ว

‘แพทองธาร ชินวัตร’ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (13 พ.ค.) ว่า รัฐบาลได้เห็นชอบ “G-Token” หรือโทเคนดิจิทัลของรัฐบาล ซึ่งเป็นแนวทางการระดมทุนรูปแบบใหม่ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงการลงทุนภาครัฐได้อย่างเท่าเทียม โปร่งใส และปลอดภัยมากขึ้น โดยเป็นการนำเทคโนโลยีการเงิน (Financial Technology) มาประยุกต์ใช้กับการบริหารหนี้ภาครัฐ

[ สาเหตุที่ออก G-Token และไขข้อสงสัยเอาเงินไปทำอะไร ]

‘พิชัย ชุณหวชิร’ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง อธิบายเพิ่มเติมเรื่อง G-Token ว่าจะมาภายใต้ชื่อ “Thailand Digital Token” โดยที่เฟสแรกจะทดลองมาในงบประมาณ 5,000 ล้านบาทก่อน และคาดว่าจะเริ่มเปิดให้ซื้อได้ภายใน 2-3 เดือนนี้

สำหรับสาเหตุที่รัฐบาลต้องการออก G-Token ก็คือ ในปีงบประมาณ 2568 รัฐบาลมีการจัดทำงบประมาณแบบ “ขาดดุล” หรือรายจ่ายมากกว่ารายรับ จึงต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและนำไปใช้จ่ายตามแผนงบประมาณ ซึ่งตามแผนบริหารหนี้สาธารณะที่ ครม. อนุมัติไว้ตั้งแต่ตุลาคม 2567 กำหนดให้กระทรวงการคลังสามารถพิจารณาวิธีการกู้เงินที่เหมาะสมได้เอง จึงนำมาสู่การออก G-Token ให้ประชาชนได้มาซื้อ

โดยที่การออก G-Token เป็นการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย โปร่งใส และเข้าถึงประชาชนโดยตรงได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ และในระยะยาวอาจจะช่วยลดต้นทุนในการกู้ยืมด้วย เพราะทุกอย่างอยู่บนระบบออนไลน์ เช่น ค่าดำเนินการธนาคาร ค่าพิมพ์เอกสาร และระบบงานที่เกี่ยวข้อง

[ ทำความเข้าใจ G-Token แบบง่ายๆ ]

สำหรับ G-Token (Government Token) คือ โทเคนดิจิทัลที่รัฐบาลออกขึ้นเอง โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนเป็นฐาน เปรียบเทียบง่ายๆ ก็เหมือน “พันธบัตรรัฐบาลในรูปแบบดิจิทัล” ที่ประชาชนสามารถซื้อได้ เพื่อเป็นการให้รัฐกู้ยืมเงิน และจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยในอนาคต

แต่แตกต่างจากพันธบัตรแบบเดิมตรงที่ G-Token จะไม่มีการออกเป็นเอกสารกระดาษหรือผ่านธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก แต่จะเปิดให้ประชาชนสามารถซื้อผ่านช่องทางดิจิทัลโดยตรง เช่น แอปพลิเคชันหรือแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัลภายใต้การกำกับของ ก.ล.ต. นั่นเอง

หรือพูดง่ายๆ ว่า G-Token จะทำให้เรากลายเป็น “เจ้าหนี้” รัฐบาล โดยที่ระหว่างทางเราจะได้ผลตอบแทนคืนเป็นดอกเบี้ย ก็เหมาะกับใครที่ต้องการออมเงิน อีกทั้ง ใครที่อยากให้รัฐบาลเป็หนี้ตัวเอง โอกาสมาถึงแล้ว

สำหรับกลไกของ  G-Token ก็จะมี

        • เริ่มจากรัฐบาลออกโทเคน ตามวงเงินที่กำหนดในแผนบริหารหนี้ เพื่อชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล (เฟสแรกอาจจะ 5,000 ล้านบาท) โดยอีก 2-3 เดือนข้างหน้าจะเริ่มเปิดขาย
        • เปิดขาย G-Token แก่ประชาชน ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยอาจใช้ตัวแทนที่ได้รับมอบหมาย เช่น ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับใบอนุญาต
        • ผู้ซื้อถือครองโทเคนหรือประชาชนที่ซื้อไป และจะได้รับผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยตามที่กำหนด
        • เมื่อครบกำหนด รัฐบาลหรือตัวแทนจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ผู้ถือโทเคนตามข้อมูลที่ระบบบันทึกไว้ ซึ่งระบบทั้งหมดจะดำเนินการบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ทำให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ และลดต้นทุนการดำเนินการของรัฐไปพร้อมกัน

อย่างไรก็ตาม การออก G-Token ดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งเปิดทางให้รัฐบาลเลือกวิธีการกู้เงินที่เหมาะสม และครั้งนี้กระทรวงการคลังเสนอให้ใช้โทเคนดิจิทัลเพื่อกู้เงินแทนการออกพันธบัตรแบบดั้งเดิม

ด้านสำนักงาน ก.ล.ต. ให้ความเห็นว่า หาก G-Token ไม่เข้าข่าย “ตราสารหนี้” และไม่ใช่ “หลักทรัพย์” ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ ก็สามารถดำเนินการภายใต้ พ.ร.ก. การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 แทนได้ ก็หมายความว่า G-Token จะอยู่ในกรอบกฎหมายของสินทรัพย์ดิจิทัล และต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของ ก.ล.ต. ปลอดภัย โปร่งใส ประชาชนเข้าถึงได้ ถือเป็นอีกหนึ่งในตัวเลือกการออมเงิน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า