SHARE

คัดลอกแล้ว

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ของคนไทย ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2568 โดยพบว่า คนไทยเป็นหนี้สูงถึง 16.2 ล้านล้านบาท ใหญ่เกือบเท่าจีดีพีของประเทศในปีที่ผ่านมา (2567)

โดยหนี้ที่อยู่ในระบบของเครดิตบูโร มีจำนวนทั้งสิ้น 13.54 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้บ้าน 37.9% รองลงมา คือ หนี้ส่วนบุคคล 19.4% และหนี้รถ 17.4%

ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้เสีย (NPL) มีอยู่ 1.19 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคล 22.7% รองลงมา คือ หนี้รถ 22.4% และหนี้บ้าน 19.5%

หนี้ หนี้ครัวเรือน

‘สุรพล โอภาสเสถียร’ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ‘Surapol Opasatien’ โดยกล่าวถึงภาวะหนี้สินครัวเรือนที่จัดเก็บข้อมูลในระบบเครดิตบูโร ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2568 ว่า

หนี้สินครัวเรือนในภาพใหญ่ของประเทศอยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท หนี้สินครัวเรือนที่มีการจัดเก็บในระบบเครดิตบูโรที่มาจากสถาบันการเงินกว่า 160 แห่ง มีอยู่เท่ากับ 13.5 ล้านล้านบาท

หนี้เสีย (NPL) มีจำนวน 1.19 ล้านล้านบาท ลดลงจากเดือน ม.ค. 2568 จำนวน 3 หมื่นล้านบาท โดยหนี้เสียนี้ครอบคลุมจำนวนลูกหนี้ 5.15 ล้านคน หรือ 9.13 ล้านบัญชี

เจาะลงมาในหนี้เสียตั้งแต่ 100,000 บาทลงมา พบว่า มีอยู่เป็นจำนวนเงิน 1.2 แสนล้านบาท หรือประมาณ 10% ของยอดหนี้เสียนั้น ครอบคลุมจำนวนรายของคนที่เป็นลูกหนี้ 3.28 ล้านคน หรือ 4.44 ล้านบัญชี

‘หากมีมาตรการแก้หนี้ตรงหนี้แบบเบ็ดเสร็จ จะช่วยคนได้เป็นจำนวนหลายล้านคน’

หนี้ส่วนใหญ่ คือหนี้ไม่มีหลักประกัน เจ้าหนี้มีการกันสำรองเต็มร้อยไปแล้วตามมาตรฐานบัญชี ที่สำคัญคือ เจ้าหนี้ติดต่อไม่ค่อยได้ แต่ลูกหนี้เหล่านั้นยังอยู่ในสังคม ยังมีชีวิต ยังดิ้นรนฟันฝ่าอยู่

โดยตั้งคำถามต่อว่า ช่วยเขาตรงนี้ให้กลับมาเป็นกำลังในการทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจดีกว่าหรือไม่ หรือการฟ้องร้องบังคับคดี 10 ปีนั้น คุ้มหรือไม่

แน่นอนว่าคนที่ไม่เห็นด้วยจะบอกว่า นี่เป็นการบ่มเพาะนิสัย วัฒนธรรมเป็นหนี้ ไม่หนี้ อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจความจริงของชีวิตในเศรษฐกิจแบบนี้ว่า การเป็นหนี้เสีย ถูกตามหนี้เข้มข้น ถูกดำเนินคดี กู้เงินไม่ได้ คือการลงโทษในหลายปีมานี้

ไม่นับว่าช่วงโรคระบาด (โควิด-19) ก็ไม่มีการรอลงอาญา ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนกับความผิดหลงที่ไม่จ่ายหนี้ของมูลหนี้ต่ำกว่าแสนบาทหรือไม่​

ขณะที่เจ้าหนี้ เชื่อว่าหากตัดหนี้สูญ ก็ไม่น่าจะกระทบกำไรของบริษัทมากแล้ว​ อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการสำรองหนี้สูญก็น่าจะได้ประโยชน์​ทางภาษีอากรไปแล้วหรือไม่​ อัตราเปอร์เซ็นต์​ในการขายทิ้งให้กับบริษัทบริหารหนี้​ (AMC) ก็ไม่ได้อยู่ในระดับที่สูงหรือไม่

สำหรับหนี้กำลังจะเสีย (SM) อยู่ในระดับ 5.75 แสนล้านบาท เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 6.44 แสนล้านบาท ลดลงมา 10.8% YoY

การเร่งปรับโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสีย (TDR) มียอดคงค้าง 1.08 ล้านล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 1.07 ล้านล้านบาท หรือ YoY แทบไม่เปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม การทำ DR หรือปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกัน การปรับโครงสร้างหนี้ก่อนไหลมาเป็น NPL นั้น ตอนนี้ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 1.12 ล้านล้านบาทแล้ว เพิ่มสูงถึง 31.7% QoQ

สิ่งนี้สะท้อนว่า คนเป็นหนี้ไปไม่ไหว ผ่อนติดขัด เจ้าหนี้ถูกกติกาบังคับให้ต้องยื่นข้อเสนอให้ลูกหนี้ทำ DR ตัวเลขจึงเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว จากการรายงานครั้งแรกเมื่อเดือน เม.ย. 2567

ประเด็นเล็กๆ คือ ลูกหนี้ที่ทำ DR แล้ว ยังผ่อนได้ตามสัญญา DR คือคนที่มีแผล รบกับหนี้แล้วไม่ค่อยชนะ จึงควรได้ยาสมานแผลช่วย ยี่ห้อ ‘คุณสู้ เราช่วย’ เพราะเขาสู้ เขาไม่ยอมแพ้จนไหลไปเป็น NPL โดยตั้งคำถามต่อว่า ทำไมเราไปมองว่า เขาผ่อนได้ดีแล้ว จึงไม่ให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า