SHARE

คัดลอกแล้ว

การเปลี่ยนแปลงด้านภาษีของสหรัฐฯ กำลังกระทบห่วงโซ่เศรษฐกิจทั่วโลก รวมถึงไทยด้วย ตั้งแต่ต้นทุนการผลิต การส่งออก ไปจนถึงแรงกดดันต่อธุรกิจข้ามชาติที่อยู่ในไทย
.
แต่นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของบริษัทใหญ่หรือภาคธุรกิจ เพราะผลกระทบได้ส่งถึง ‘เรา’ ทุกคน ตั้งแต่ผู้ประกอบการ รายย่อย คนทำงาน ไปจนถึงผู้บริโภค นี่จึงไม่ใช่เรื่องของใครบางคน แต่คือความจำเป็นที่พวกเราทุกคนต้องปรับตัวให้ทัน

‘ชญาวดี ชัยอนันต์’ ผู้อำนวยการสายองค์กรสัมพันธ์และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พูดถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ภายใต้งาน MONEY EXPO 2025 บนเวทีสัมมนา ในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทย เมื่อโลกเปลี่ยน ไทยต้องปรับ“ ว่าตอนนี้พวกเราทุกคนกำลังอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน หลังจากสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้า

แม้จะอยู่ระหว่างเลื่อนเก็บภาษีออกไป 90 วัน โดยหลายๆ ประเทศกำลังเดินหน้าเจรจาเพื่อหวังว่าภาษีที่ต้องจ่ายจะถูกปรับลดลงจากในตอนแรก หรือลดลงอยู่ในเรทเดียวกับประเทศอื่นๆ

เพราะการที่ต้องโดนเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ จะทำให้สินค้าไทยที่ส่งไปสหรัฐฯ มีราคาที่แพงขึ้นมาก และพอแพงคนในสหรัฐฯ ก็จะซื้อสินค้าไทยน้อยลงแน่นอน

บริษัทต่างๆ ก็จะส่งออกสินค้าได้น้อยลง ถ้าเป็นบริษัทต่างชาติเขาก็อาจจะใช้วิธีย้ายไปประเทศอื่นที่โดนภาษีน้อยกว่า แต่ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็คือการจ้างงานในไทยจะลดลง เพราะถึงแม้จะเป็นบริษัทต่างชาติแต่เขาจ้างคนไทย แปลว่าคนไทยจะ ‘ตกงาน’ ถ้าเขาย้ายประเทศไป

“ ดังนั้นสิ่งที่เรามองว่าไกล มันไม่ได้ไกล มันกำลังใกล้เขามาเรื่อยๆ เพราะ 1 บริษัทต่างชาติ อาจจ้างซัพพลายเออร์ (Supplier) เยอะแยะไปหมด แม่บ้านก็จ้าง คนงานก็จ้างเรากำลังพูดถึงคนเป็นแสนล้านคนในบางอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบต่อเนื่องกัน“ ผู้อำนวยการแบงก์ชาติ กล่าว

ผลกระทบอีกหนึ่งอย่างก็คือสินค้าจากประเทศอื่นอาจล้นทะลักเข้ามาในไทยมากขึ้นอย่างมหาศาล ก็จะเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในไทย ผู้ประกอบการก็จะต้องเดือดร้อน การแข่งขันจะสูงขึ้นอีกจากเดิมที่ผู้ประกอบการต้องแบกรับทั้งเรื่องต้นทุนและการบริโภคที่ลดลงอยู่แล้ว

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของความเชื่อมั่นและการลงทุนอีก สมมติไทยโดนเก็บภาษีเต็มที่ 34% บริษัทที่เคยคิดจะมาตั้งฐาน ตั้งโรงงานในไทยเขาก็จะไม่มาแล้ว การลงทุนในไทยก็จะหยุดชะงักลง

ทีนี้คนทั่วไปที่ดูข่าวอาจจะรู้สึกว่า มันไกลตัวมาก มันเป็นเรื่องของคนที่ไปเจรจา แต่ความจริงแล้วในที่สุดผลกระทบเหล่านี้มันจะมาเคาะประตูบ้านเรา และมันจะมีตั้งแต่ผลกระทบระยะสั้นไปจนถึงระยะยาว และทั้งหมดนี้มันจะส่งผลมาที่เรา ‘ประชาชน’ ทุกคน

[ ควรรับมืออย่างไร? ]

ในส่วนของรัฐบาลสิ่งที่ควรทำเพื่อรับมือ คือเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบคัดกรองสินค้าให้มากขึ้น เพราะสินค้าอาจจะเข้ามาไทยเยอะจากชายแดนหรือช่องทางอื่นๆ เพราะสินค้าที่เข้ามาได้จะต้องได้มาตรฐานและมาแข่งขันกันที่ต้นทุน

แล้วในส่วนของประชาชนควรจะต้องปรับยังไง ตอนนี้ถ้ามองไปข้างหน้ามีความไม่แน่นอนอยู่ตรงหน้าเต็มไปหมด มี 2 เรื่องที่อยากแนะนำให้ทุกคนทำ ก็คือ

1.เริ่มออมได้แล้ว ในสถานการณ์แบบนี้เราไม่รู้เลยว่าวันพรุ่งนี้จะยังมีงานทำอยู่ไหม บริษัทที่เราทำจะยังเปิดทำการหรือเปล่า เพราะฉะนั้น ‘มีรายได้วันนี้ ออมวันนี้’ ออมให้ได้มากที่สุด และใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

2.คนเป็นหนี้ ให้รีบจัดการ บางคนคงจะพูดว่า อย่าเพิ่งพูดถึงเก็บเงินเลย พูดถึงหนี้ก่อน เพราะฉะนั้นก่อนจะไปถึงเงินเก็บ ถ้ามีหนี้ให้จัดการเคลียร์หนี้ก่อน โดยเฉพาะลูกหนี้หลายคนที่กำลังมีปัญหาอยากให้รีบเข้าไปติดต่อธนาคารเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จะได้ลดภาระให้ตัวเบาแล้วค่อยๆ เริ่มเก็บ

โดยสรุปก็คือ จากสถานการณ์ความไม่แน่นอน ต้องเก็บออมให้ได้มากที่สุด โดยเอารายได้ – เงินออม แล้วค่อยใช้จ่าย และถ้าใครเป็นหนี้ใครรีบแก้ไข อย่าหนีหนี้

ปัจจุบัน ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีมาตรการ ‘คุณสู้เราช่วย’ ที่จะช่วยทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ และสินเชื่อส่วนบุคคล รวมถึง ’คลินิกแก้หนี้’ จะเหมาะกับคนที่เป็นหนี้เสียอย่างบัตรเครดิตกับบัตรกดเงินสดสามารถรวมหนี้ได้แล้วค่อยๆผ่อนจ่าย จากหนี้เสียก็จะเป็นหนี้ที่ดีขึ้นได้

ในท้ายที่สุดนอกจากความไม่แน่นอนในเรื่องของเศรษฐกิจ ภาษีสหรัฐฯ แล้ว อีกเรื่องคือเรื่องเงินเฟ้อ เดี๋ยวนี้ 100 บาท ซื้อของได้แค่นิดเดียว สิ่งที่เราต้องทำก็วนกลับมาที่เดิมคือ การออม การรู้จักใช้ การวางแผนการใช้เงินของตนเองให้ดีขึ้นและเตือนตัวเองเสมอว่าให้ใช้เท่าที่จำเป็น

“ภายใต้สถานการณ์แบบนี้ ไม่ใช่แค่ประเทศเราที่เจอ ทุกคนเจอ แค่ใครหนักมากหนักน้อย และสถานการณ์มันต่างจากตอนโควิดที่ทุกคนอยู่ในบ้าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจหายหมด รายได้หยุดชะงัก มาตรการที่ออกมาจึงเป็นการ ‘พักหนี้’ แต่ครั้งนี้มันยากกว่าโควิดเพราะมีหลายคนคิดว่าตัวเราไม่โดนหรอก แต่ความจริงแล้วถ้าดูให้ดีก็โดนกันทุกคน ทุกอุตสาหกรรม ไม่ใช่แค่กลุ่มนั้นหรือกลุ่มนี้อีกแล้ว”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า