SHARE

คัดลอกแล้ว

รู้ไหมว่า 99.7% ของครัวเรือนไทยมีหนี้ และหนึ่งในหนี้ที่พบมากที่สุดก็คือ ‘หนี้บัตรเครดิต’ ที่มักจะเริ่มจากการใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ แต่สะสมไปเรื่อยๆ 

จนกลายเป็นภาระก้อนใหญ่ โดยเฉพาะถ้าใช้บัตรเครดิตแบบไม่ระวัง เช่น จ่ายขั้นต่ำบ่อยๆ หรือจ่ายช้าแม้เพียงเดือนเดียว ก็อาจทำให้ประวัติทางการเงินหรือ ‘เครดิตบูโร’ ของคุณเสียได้โดยไม่รู้ตัว

เมื่อเครดิตบูโรเสีย ผลกระทบจะตามมาแทบทุกมิติของชีวิตทางการเงิน ไม่ว่าจะเป็นการกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือแม้แต่สมัครบัตรเครดิตใหม่ ก็มีโอกาสถูกปฏิเสธ เพราะธนาคารจะตรวจสอบเครดิตบูโรเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือก่อนอนุมัติสินเชื่อเสมอ

ซึ่งเครดิตบูโรคือฐานข้อมูลที่รวบรวมประวัติการกู้เงินและการชำระหนี้จากทุกสถาบันการเงิน หากค้างชำระเกิน 90 วัน ข้อมูลนี้จะถูกบันทึกไว้ในระบบ และแม้จะเคลียร์หนี้หมดแล้ว ข้อมูลก็ยังคงอยู่ในระบบต่อไปอีก 3–5 ปี ซึ่งส่งผลต่อการขอสินเชื่อใหม่ในอนาคตได้

คู่มือ CardX Fin Book : เพื่อคนฉลาดใช้บัตรเครดิตให้คุ้มค่า ไม่เป็นหนี้ ตอนที่ 2 ได้ให้แนวทางในการใช้บัตรอย่างมีสติ พร้อมวิธีรีเช็กตัวเองแบบง่ายๆ  

[ เช็คลิสต์ 10 ข้อไม่ให้เกิดหนี้  ]

1.วางแผนค่าใช้จ่ายรายเดือน จดรายรับ รายจ่าย และยอดหนี้ของตัวเองไว้ทั้งหมด

 2 ชำระหนี้บัตรเครดิตตรงวันครบกำหนดชำระ

  1. ชำระเต็มจำนวนตามยอดเรียกเก็บอย่างสม่ำเสมอ

4. ไม่เคยชำระค่าบัตรเครเครดิตแบบขั้นต่ำเลย

  1. ไม่กดเงินสดจากบัตรเครดิต
  1. เลือกใช้บัตรที่มีไลฟ์สไตล์ และโปรโมชันเหมาะสมกับตัวเอง

7.ตรวจสอบโปรโมชันจากบัตรเครดิตก่อนใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

  1. มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน
  1. ยอดหนี้ไม่เกิน 45% ของรายได้ในแต่ละเดือน
  1. มีสติทุกครั้งที่รูดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต

[ จุดสังเกตตัวเองก่อนเป็นหนี้เสีย ]

สัญญาณอันตรายของคนที่กำลังเสี่ยงเป็นหนี้เสียมักมาแบบเงียบๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

หนี้เสีย คือ หนี้ที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ตามกำหนด โดยเฉพาะหนี้ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน ทำให้ถูกบันทึกว่า ‘ผิดนัดชำระ’ และส่งผลเสียต่อประวัติเครดิต

ถ้าใครเริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังเสี่ยงจะเป็นหนี้เสียหรือเปล่าให้ลองสังเกตตัวเองจาก 5 ข้อ ดังนี้

  1. จำยอดหนี้ของตัวเองไม่ได้ เน้นรูดบัตรไม่เน้นจำยอดหนี้ พอรู้ตัวอีกทียอดบัตรเครดิตก็พุ่งสูงเกินงบประมาณไปไกลแล้ว
  1. ไม่มีเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน เงินเข้าไว ออกไว ไม่มีเงินสำรองในบัญชี เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแล้วกลับมาดูในบัญชีกลับไม่มีเงินสำรองเพียงพอในการใช้จ่าย 
  1. ยอดหนี้สูงเกิน 45% ของรายได้ นี่เป็นสัญญาณอันตรายที่แสดงว่ากำลังมีปัญหาชักหน้าไม่ถึงหลัง
  1. กู้หนี้ใหม่เพื่อโปะหนี้เก่า เมื่อเริ่มกู้เงินมาใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า หนี้ก็จะพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
  1. เริ่มเครียด นอนไม่หลับ หากมีความเครียดจากการเงินทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน นอนไม่ค่อยหลับจนส่งผลต่อชีวิตประจำวัน 

ทั้งหมดนี้ถือเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องใช้เงินอย่างระวังที่สุด ต้องรีบปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายทันที ใช้บัตรเครดิตให้เป็น ‘ผู้ช่วย’ ไม่ใช่ ‘ผู้สร้างปัญหา’ แค่มีวินัยและสติทุกครั้งที่รูด ก็สามารถใช้บัตรได้อย่างคุ้มค่าและไม่ตกเป็นเหยื่อของหนี้บัตรเครดิต

อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นหนี้เสียแล้ว อย่าปล่อยทิ้งไว้ โดยเริ่มจากการรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ หยุดสร้างหนี้ใหม่ และเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะกับความสามารถในการจ่ายของตัวเอง 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า