SHARE

คัดลอกแล้ว

[et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย1.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ /][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

“เศรษฐกิจ” เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน รัฐบาลทุกยุคสมัยจึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นอย่างแรก ซึ่งแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละยุคสมัย

หากย้อนไปเมื่อสมัย 30 ปีที่แล้ว ในยุครัฐบาล พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในยุคที่เรียกว่า “โชติช่วงชัชวาล” จากการค้นพบแหล่งน้ำมันในอ่าวไทย นำไปสู่การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและอุตสาหกรรมหนักในเขตอีสเทอร์นซีบอร์ด

มาสมัยรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีกุศโลบายที่แยบยลด้านนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอินโดจีนที่ระอุจากการสู้รบ จึงเป็นที่มาของนโยบาย “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” โดยส่งเสริมการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เปิดตลาดการค้าและการลงทุนใหม่กับประเทศในอินโดจีนและจีนตอนใต้

ส่วนรัฐบาลทักษิณ ใช้ภาคเกษตรและประชาชนระดับรากหญ้าเป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

ภาพจาก pixabay

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย21.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ /][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่รัฐบาลใช้ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ผ่านมา เน้นการพึ่งพาภาคการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติ และอุตสาหกรรมเบาที่ใช้แรงงานเป็นหลัก

แม้ปัจจุบันที่ประเทศอยู่ในยุค 3.0 ซึ่งเป็นยุคที่ใช้อุตสาหกรรมหนัก และการส่งออกเป็นปัจจัยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ไม่ทำให้ GDP หรือความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น ยังคงติดกับประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และความไม่สมดุลของการพัฒนา

จึงนำมาสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจภายใต้นโยบายThailand 4.0 ของรัฐบาลปัจจุบันที่กำลังเป็นประเด็นที่มีการหยิบยกมาพูดถึงในเวทีต่างๆ เนื่องจากเป็นการปฏิรูประบบเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปจากการพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตที่ผ่านมา

นั่นคือ การใช้ “เทคโนโลยี และ นวัตกรรม” ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่เปลี่ยนจากการ “ทำมาก ได้น้อย” ไปสู่การ “ทำน้อย ได้มาก” เปลี่ยนจากสินค้า “โภคภัณฑ์” เป็นสินค้า “นวัตกรรม” เปลี่ยนการ “พึ่งพาอุตสาหกรรม” ไปสู่การ “พึ่งพาเทคโนโลยี” จาก “ภาคการผลิต” ไปสู่ “ภาคบริการ” โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมไปพัฒนาต่อยอดอุตสาหกรรมเดิม หรือ First S – Curve ไปพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ New S – Curve ใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย31.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

โดยให้ “สถาบันอุดมศึกษา” หรือมหาวิทยาลัย ซึ่งผลิตงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผนึกกำลังกับภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมร่วมกันขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อนำพาประเทศก้าวผ่านกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ความ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” ภายใน 3 – 5 ปี

ซึ่งทันทีที่ได้รับมอบหมาย มหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชนต่างขานรับ และพร้อมเดินหน้าทำงานตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมายอย่างแข็งขัน

อย่างเช่น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้นำด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมตอบโจทย์ความต้องการของประเทศมายาวนาน ได้เปิดตัว “เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม” (Siam Innovation District) ตั้งอยู่บริเวณศูนย์การค้าสยามสแควร์วัน โดยงบสนับสนุนจากภาครัฐจำนวน 232.5 ล้านบาท ต่อยอดจาก CU Innovation Hub หรือ โครงการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย61.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

โดยมี 4 พันธกิจที่สำคัญ ได้แก่

Industry liaison – การเชื่อมโยงภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้นวัตกรรมที่เกิดขึ้นตอบโจทย์อุตสาหกรรมอย่างแท้จริง ประกอบด้วย การจัดการสิทธิเทคโนโลยี สร้างงานวิจัยร่วมกันเพื่อนำงานวิจัยไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจ

Marketplace – ตลาดนัดนวัตกรรม นำงานวิจัยจำนวนมากที่ถูกเก็บขึ้นหิ้งออกสู่ห้าง เพื่อให้ผู้คนได้เลือกใช้หรือหยิบไปพัฒนาต่อยอดธุรกิจ นอกจากนี้ ยังเป็นจุดนัดพบของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ และพร้อมลงมือทำที่นำไปสู่การลงทุนและสร้างหุ้นส่วนในนวัตกรรม (Investment and Partnership)

Futurium – ชุมชนนวัตกรรมแห่งอนาคต จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนและนิทรรศการถาวรด้านนวัตกรรม เมืองอัจฉริยะต้นแบบ เพื่อกระตุ้นคนไทยให้มองเห็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและปลุกพลังความคิดสร้างสรรค์ เป็นประตูที่จะนำคนไทยสู่โลกแห่งอนาคต

และสุดท้ายคือ Talent Building – พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสร้างคนดีและคนเก่งของประเทศ ผ่านการบรรยาย การอบรมเชิงปฏิบัติการ การประกวดแข่งขันและการต่อยอด ประชุมสัมมนา

นอกจากนี้ ยังจัดโครงการส่งเสริมนวัตกรรมแห่งสยาม 100 SID เพื่อให้นวัตกรรุ่นใหม่ได้มีพื้นที่จัดแสดงผลงาน ได้แลกเปลี่ยนความรู้ และนำผลงานไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ

ในขณะที่ “กลุ่มราชมงคล” อย่างเช่น “มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” ที่ได้รับงบสนับสนุนการวิจัยจากรัฐบาลปีละกว่า 200 ล้านบาท เพื่อผลิตงานวิจัยและสร้างนวัตกรรม ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีงานวิจัยกว่า 200 ชิ้น ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิจัยทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ไม่รวมผลงานนวัตกรรมที่ยื่นขอจดสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรกว่า 60 ผลงาน/ปี เพื่อรองรับการพัฒนาต่อยอดการผลิตและบริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งอุตสาหกรรม First S – Curve และ New S – Curve เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ หุ่นยนต์ การแปรรูปอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยมีศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางรองรับการวิจัยและสร้างนวัตกรรมร่วมกับภาคอุตสาหกรรม

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย51.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

และล่าสุดได้จัดตั้ง Innovation & Knowledge Center ภายในศูนย์การค้าบางซื่อจังชั่น ย่านจตุจักร เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้นวัตกรรม ให้คำปรึกษา SME และ Startup ที่ต้องการสร้างธุรกิจ การทำวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม มีงานวิจัยให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมซื้อลิขสิทธิ์ไปพัฒนาต่อยอดและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

ภาพจาก pixabay

ด้านกลุ่ม “พระจอม” ซึ่งมีความโดดเด่นด้านการวิจัยในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ต่างมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่ทำร่วมกับภาคอุตสาหกรรม และตอบโจทย์เศรษฐกิจ 4.0

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย41.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

เช่น งานวิจัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่พระจอมเกล้าธนบุรีทำร่วมกับทีโอที เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการให้บริการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ รวมไปถึงการเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจสตาร์ตอัพและ Digital Entrepreneur นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้ง co-working space ซึ่งเป็นศูนย์กลางความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านกระบวนการและแนวทางการประกอบธุรกิจ

สำหรับ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งมีงานวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับการถ่ายทอดทักษะองค์ความรู้จากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรม ผลิตงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จับต้องได้ และใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมได้จริงในคลัสเตอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ อาหาร

นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำของรัฐ และมหาวิทยาลัยเอกชนที่ขานรับและกำลังเดินหน้า สร้างงานวิจัยและนวัตกรรมตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและตามความพร้อม ความเชี่ยวชาญ

ภาพจาก pixabay

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ประเทศผู้นำเศรษฐกิจโลกต่างตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อชิงความเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจในศตวรรษที่ 21 เช่น ปี 2011 ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ประกาศนโยบายส่งเสริมการผลิตขั้นสูง หรือ Advanced Manufacturing Partnership (AMP)

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย7.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

ปี 2012 เยอรมนีประกาศเป็นผู้นำอุตสาหกรรม 4.0 ต่อมาปี 2013 ญี่ปุ่นประกาศ Japan Industrial 4.1 J ปี 2014 เกาหลีใต้เน้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3.0 และปี 2015 จีนประกาศนโยบาย Made in China 2025 และ One Belt, One Road เพื่อชิงธงผู้นำเศรษฐกิจโลก นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

โดยใช้งานวิจัยและนวัตกรรมจากการค้นคิดและพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งนอกจากงานวิจัยและนวัตกรรมแล้ว มหาวิทยาลัยจะต้องปลูกฝังบัณฑิตให้มี Mindset ที่เป็น Growth Mindset โดยเชื่อว่าความคิดสร้างสรรค์สามารถเปลี่ยนโลกได้

ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องสร้าง Innovative Culture ของผู้เรียน เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่สร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้วยตนเองได้ หวังว่าอีก 3 – 5 ปี ข้างหน้า เศรษฐกิจของประเทศจะเติบโตและแข่งขันกับนานาประเทศได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ fullwidth=”on” _builder_version=”3.0.63″][et_pb_oxide_fullwidth_parallax_image src=”https://workpointnews.com/wp-content/uploads/2018/02/ปลดล็อกงานวิจัย8.jpg” _builder_version=”3.0.63″ /][/et_pb_section][et_pb_section bb_built=”1″ _builder_version=”3.0.63″][et_pb_row _builder_version=”3.0.63″][et_pb_column type=”4_4″][et_pb_text _builder_version=”3.0.63″]

บทความโดย: สิริลักษณ์ เล่า

ผู้สื่อข่าวอาวุโส เชี่ยวชาญด้านการศึกษา, อดีต บก.ฉบับพิเศษ บมจ.มติชน

[/et_pb_text][/et_pb_column][/et_pb_row][/et_pb_section]

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า