
ไร่ข้าวฟ่าง รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา ( AFP)
ประเด็นคือ – ศึกการค้าสองชาติมหาอำนาจ ยกล่าสุด จีน ประกาศสอบสวน การทุ่มตลาดข้าวฟ่างจากสหรัฐฯ หลังพบราคาถูกผิดปกติ
สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ของจีน ได้ออกแถลงการณ์ จะดำเนินการสอบสวนข้าวฟ่าง ที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 1 พ.ย. 2559 ถึง 31 ต.ค. 2560 ว่า มีการทุ่มตลาดหรือไม่ และการสอบสวนเรื่องการอุดหนุนราคาอย่างไม่เป็นธรรม จะรวมไปถึงข้าวฟ่างจากสหรัฐฯที่จีนนำเข้าระหว่างวันที่ 1 ม.ค.2556 จนถึงวันที่ 31 ต.ค.2560 ขณะที่ผลการสอบสวน ทั้งหมด ต้องเสร็จสิ้น ภายในวันที่ 4 ก.พ.ปีหน้า (พ.ศ.2562)
มีรายงานข่าวระบุว่า จีนพบความผิดปกติ ที่ราคาข้าวฟ่างจากสหรัฐ ต่ำกว่าปกติ เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยในตลาดโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของผู้ประกอบการท้องถิ่น และตั้งแต่ปี 2556 สหรัฐฯ ส่งออกข้าวฟ่างถึง 50 % ของปริมาณที่ผลิตได้ในประเทศ

AFP
ทั้งนี้ ข้อมูลด้านศุลกากรของจีน พบว่า ปีที่แล้ว ได้นำเข้าข้าวฟ่างของสหรัฐฯ 4.8 ล้านตัน เป็นมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นเกือบ 2 เท่าของมูลค่า แผ่นอลูมิเนียมรีดเย็นที่จีนส่งออกไปสหรัฐฯ ซึ่งทางรัฐบาลสหรัฐฯ เอง ก็มีการสอบสวน เรื่องการทุ่มตลาดอลูมิเนียมรีดเย็น จากจีนเช่นเดียวกัน
ทุ่มตลาด ในทางเศรษฐศาสตร์ คือการกำหนดราคาเพื่อขจัดคู่แข่งรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะในการค้าระหว่างประเทศ การทุ่มตลาดเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตส่งผลิตภัณฑ์ออกไปยังอีกประเทศหนึ่งที่ราคาต่ำกว่าราคาที่ตั้งในตลาดในประเทศ หรือในปริมาณที่ไม่สามารถอธิบายได้ในการแข่งขันตลาดตามปกติ
ข้าวฟ่าง เป็นธัญพืชสำคัญ ประเทศในเขตร้อนและเขตกึ่งร้อน และเขตอบอุ่นของโลกนิยมปลูก เพื่อใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ข้าวฟ่ามีคุณค่าทางอาหาร เทียบเท่าข้าวโพด แต่ราคาถูกกว่ามาก จึงถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์
China has launched an anti-dumping investigation into sorghum imports from the US, spurring worries of a brewing tit-for-tat trade war https://t.co/z5cQE1Y4hf pic.twitter.com/rE2rXpgFMo
— AFP news agency (@AFP) 5 กุมภาพันธ์ 2561
ขณะที่ สหรัฐฯ มีผู้นำข้าวฟ่างหวานจากฝรั่งเศส และแอฟริกาใต้ เข้าไปปลูกเพื่อทำน้ำตาล และเป็นพืชอาหารสัตว์ เมื่อ พ.ศ.2396 – 2400 ต่อมามีการพัฒนาเป็นข้าวฟ่างเมล็ด โดยแบนจามิน แฟรงคลิน นักวิทยาศาสตร์ ชื่อดัง ได้ชื่อว่า เป็นผู้นำข้าวฟ่างไม้กวาด เข้าไปเผยแพร่ให้สหรัฐฯ เป็นคนแรก ขณะที่ไทยเองก็มีการปลูกข้าวฟ่าง ส่วนใหญ่ส่งออกไป ไต้หวัน ไนจีเรีย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศแถบตะวันออกกลาง
China launches anti-dumping and anti-subsidy investigation into US sorghum imports, Ministry of Commerce announces pic.twitter.com/7ucCY48PBe
— CGTN (@CGTNOfficial) February 4, 2018
ที่มา AFP
ขอบคุณข้อมูล สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน