Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประเด็นคือ – ผลวิจัยเผย ‘เสือดำ’ สัตว์นักล่าแห่งพงไพร ที่ถูกยิงถลกหนังกลางป่าทุ่งใหญ่ พบว่าปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่ร้อยตัวในไทย และถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ระดับโลก

วันที่ 7 ก.พ. 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณี จนท.ทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เข้าจับกุม นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) พร้อมพวก เข้าตั้งเต็นท์ล่าสัตว์ป่าคุ้มครอง ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกหลังตรวจสอบพบซากไก่ฟ้าหลังเทา เนื้อเก้ง และเสือดำถูกชำแหละ-ถลกหนัง พร้อมปืนและเครื่องกระสุนจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ 6 ก.พ.ที่ผ่านมา ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด เพจเฟซบุ๊ก Sunshine Sketcher ได้โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับ เสือดำ สัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์ ที่เพิ่งถูกล่า ถลกหนัง ชำแหละเนื้อในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ว่าเป็นชนิดเดียวกับเสือดาวอินโดจีน หรือ Indo-chinese leopard ซึ่งเป็นเสือดาวชนิดย่อยที่เคยกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปเฉพาะในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ปัจจุบันมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ระดับโลก ซึ่งปัจจุบันทั้งโลกเหลือแค่ราว 2,000 ตัว ส่วนในประเทศไทยคาดว่าเหลืออยู่ไม่กี่ร้อยตัวเท่านั้น

ข้อมูลนี้ได้หยิบยกมาจากงานวิจัยงานวิจัยในวารวิทยาศาสตร์ชื่อดัง ฉบับหนึ่งเมื่อปี 2016 พบว่าเสือดาวชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้วจากสิงคโปร์ และคาดว่าน่าจะหมดไปแล้วจากลาวและเวียดนาม ส่วนในจีนและกัมพูชา ก็ถูกล่าจนแทบจะสูญพันธุ์แล้วเช่นกัน เหลือแค่ประเทศไทย มาเลเซียและพม่าที่น่าจะยังมีประชากรเสือดาวชนิดนี้เหลืออยู่ให้เพียงพอต่อการขยายพันธ์ุ

ผืนป่าที่ยังเป็นความหวังสำคัญที่สุดในการอนุรักษ์เสือดาวชนิดนี้ คือผืนป่าตะวันตกโดยเฉพาะเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยเขาแข้ง และกลุ่มป่าแก่งกระจานในประเทศไทย และป่าอนุรักษ์ในคาบสมุทรมาเลเซีย ซึ่งภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดคือขบวนการล่าเพื่อการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย ส่วนปัจจัยคุกคามอื่นๆได้แก่ การลดลงของเหยื่อเนื่องจากปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ การทำลายและรบกวนแหล่งที่อยู่อาศัย และโรคระบาด

สำหรับ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง มีเนื้อที่กว่า 4 ล้านไร่ ครอบคลุม จ.อุทัยธานี กาญจนบุรี และตาก ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรตะวันตก ตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ถือเป็นป่าอนุรักษ์ในกลุ่มป่าตะวันตก ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุด ทำให้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งแรกของไทยในปี 2534

โดยสัตว์ป่าที่พบในเขตรักษาป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ประกอบไปด้วยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย 120 ชนิด นก 400 ชนิด สัตว์เลี้อยคลาน 96 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 43 ชนิด และปลาน้ำจืด 113 ชนิด อาจมีสัตว์หลายชนิดมากกว่านี้ที่ยังรอการสำรวจและยืนยันอย่างเป็นทางการ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ฯ นับว่าเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เพียงพอที่จะรองรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ใกล้สูญพันธุ์ของโลกหลายชนิด เช่น ช้างป่า กระทิง วัวแดง เสือโคร่งประมาณ 100 ตัว เสือดำ เสือดาว ประมาณ 100-130 ตัว เสือลายเมฆ สมเสร็จ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง : Rostro-Garcia et al. 2016 Endangered leopards: Range collapse of the Indochinese leopard (Panthera pardus delacouri) in Southeast Asia. Biological Conservation Volume 201, September 2016, Pages 293-300

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า