SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขแถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโรคโควิด-19 ในประเทศไทย พบป่วยเพิ่ม 109 ราย และเสียชีวิต 1 ราย เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วม พร้อมย้ำมาตรการ “เว้นระยะห่างทางสังคม”

วันที่ 28 มี.ค.2563 นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (โควิด-19) ว่ามีการกระจายตัวไปยังพื้นที่ต่างจังหวัด ดังนั้นสิ่งสำคัญตอนนี้คือการเฝ้าระวัง “กลุ่มเปราะบาง” ทั้งผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัว ซึ่งมีโอกาสป่วยรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

  • สถานการณ์วันนี้
    – ไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่ม 109 ราย (ป่วยสะสม 1,245 ราย)
    – รักษาหายกลับบ้านแล้ว 100 ราย
    – อยู่ระหว่างการรักษา 1,139 ราย

มีเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 55 ปี ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี และมีไขมันในเลือดสูง เข้ารับการรักษาเมื่อ 23 มี.ค. ด้วยอาการหอบ เหนื่อย ตรวจพบว่ามีอาการปอดอักเสบรุนแรง จนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจก่อนที่จะเสียชีวิต

ผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 39 ราย ได้แก่
– กลุ่มสนามมวย 10 ราย ทั้งหมดอยู่ในกรุงเทพฯ
– สถานบันเทิง 8 ราย ทั้งกรุงเทพฯและศรีสะเกษ

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 17 ราย ได้แก่
– กลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ เป็นคนไทย 6 ราย ที่เดินทางกลับมาจากอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย เยอรมัน และญี่ปุ่น ต่างชาติ 2 ราย เป็นชาวยูเครน และโปตุเกตุ
– กลุ่มผู้ทำงานหรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก หรือเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ 7 ราย
– กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย

กลุ่มที่ 3 ผู้ที่ได้รับผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อแต่อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 53 ราย

สรุปสถานการณ์วันนี้มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 100 ราย ยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1,139 ราย เสียชีวิต 6 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 1,136 ราย

นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

นพ.อนุพงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยมีผู้ป่วยเพิ่มวันละ 100 รายโดยประมาณโดยผู้ป่วยที่พบนั้นมียังเป็นคนวัยทำงานเป็นหลัก จากกรณีของสนามมวยและสถานบันเทิงเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้เริ่มมีผู้ป่วยในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า 50 ปี และต่ำกว่า 19 ปี เพิ่มขึ้น จึงยังคงย้ำให้ประชาชนมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกไปที่สาธารณะ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่มีการเดินทางกลับจากพื้นที่ที่มีการระบาด และผู้ที่เดินทางกลับจากกรุงเทฯไปยังภูมิลำเนา ให้สังเกตอากาตนเองจนครบ 14 วัน หากมีอาการป่วยให้รีบพบแพทย์ทันที

ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค ยังคงแสดงความเป็นห่วงกลุ่มผู้สูงอายุและบุคคลที่มีโรคประจำตัวที่ต้องดูแลตัวเองอย่างใกล้ชิด เพราะหากได้รับเชื้ออาจส่งผลให้มีอาการรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แม้ขณะนี้อัตราการป่วยตายของไทยจะยังอยู่ในระดับต่ำที่ประมาณ 0.5 % กลุ่มที่เสียชีวิตมักมีลักษณะที่แตกต่างไป คือ “อายุมาก” อย่างรายอาการรุนแรงกว่าครึ่งหนึ่งมีอายุเกิน 60 ปี และในผู้เสียชีวิตมี 2 รายที่อายุเกิน 70 ปี อีกประการหนึ่งคือ “โรคประจำตัว” ซึ่งขณะนี้ที่พบบ่อยในผู้ป่วยมีทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต และผู้ที่กำลังรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติ

“ใครมีญาติผู้ใหญ่อยู่ในบ้าน สิ่งที่สำคัญมาก ๆ เลย คือการดูแลอย่าให้ญาติผู้ใหญ่ของเราป่วยนะครับ หรือได้รับชื้อ ซึ่งญาติผู้ใหญ่ส่วนใหญ่อยู่บ้านมากกว่าวัยทำงาน คนที่จะพาเชื้อเข้าไปในบ้านก็มักจะเป็นคนที่อายุน้อยในบ้าน ถึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงแนะนำให้คนที่กลับจากกรุงเทพฯ และปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้แยกตัว” นพ.โสภณกล่าว

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค

[คำถามที่น่าสนใจจากสื่อมวลชน]

1.เหตุใดระยะเวลาการตรวจหาเชื้อจึงล่าช้า อย่างกรณีผู้ที่ไปตรวจรักษายังโรงพยาบาลเอกชน แต่ระหว่างรอผลต้องกักตัวอยู่ที่บ้านถึง 6 วัน ก่อนที่จะได้รับยืนยันว่าติดเชื้อและโรงพยาบาลเอกชนส่งไปกักกันตัวยังสถานพยาบาลในพื้นที่เขตบางบอน จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านตื่นตระหนก

นพ.อนุพงค์ กล่าวว่า ขณะนี้ศูนย์ที่จะสามารถตรวจหาเชื้อโรควิด-19 ที่ได้รับการรับรองมีประมาณ 50 แห่ง ซึ่งมีภาระงานเพิ่มขึ้นมาก จากเดิมที่สามารถตรวจแล้วทราบผลภายใน 5 ชม. แต่ด้วยจำนวนที่เข้ามามากขึ้นจึงมีความล่าช้าออกไป ประกอบกับต้องพิจารณาว่าเป็นการตรวจเชื้อแบบใด ตรวจหาสารพันธุกรรม หรือตรวจภูมิคุ้มกัน

ทั้งนี้ตามแนวทางโดยเบื้องต้น เมื่อมีการยืนยันว่าติดเชื้อแล้ว กรมการแพทย์จะเป็นผู้บริหารจัดการเตียงทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดใด ในกรณีโรงพยาบาลเอกชนอาจถูกแนะนำให้สังเกตอาการที่บ้านจนกว่าผลตรวจจะออก ระหว่างรอเขาต้องปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม ถ้าผลออกมาเป็นบวก โรงพยาบาลดังกล่าวสามารถพิจารณาตามความเหมาะสมว่าจะรับเป็นผู้ป่วยในหรือไม่ แต่หากมีอาการแสดงทางปอด เช่น ปิดมีฝ่าขาว ก็จะต้องรับเข้าเป็นผู้ป่วยในอย่างแน่นอน

2. กระทรวงสาธารณสุขยืนยันมาตลอดว่ามีเวชภัณฑ์เพียงพอ แต่ยังมีหลายรพ.ขอรับบริจาค สถานการณ์เรื่องนี้เป็นอย่างไร

นพ.โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีการทำแผนสำรวจผู้ป่วยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้องค์การเภสัช ซึ่งเป็นผู้กระจายเวชภัณฑ์ให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ในทุกสังกัดใช้เป็นข้อมูล เมื่อคณะกรรมพิจารณาเหมาะสมว่าในเวลาที่ขอมาพอดีกับทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งจากการสั่งซื้อและได้รับบริจาค ก็จะทยอยส่งให้ตตามความเหมาะสมทันที
ในเรื่องการบริจาคนั้นก็เข้าใจว่าคนไทยมีจิตกุศล จึงไม่ได้มีการห้ามไม่ให้โรงพยาบาลรับบริจาคอย่างใด แต่เป็นเพียงกับรับบริจาคเพื่อใช้สำรองยามฉุกเฉิน ไม่ได้หมายความว่าขาดแคลนแต่อย่างใด

3. เหตุใดขณะนี้จึงมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ต่างจังหวัด
นพ.โสภณ อธิบายว่า ผู้ป่วยที่พบในต่างจังหวัดนั้นมาจาก 2 ปัจจัย คือ หนึ่งเป็นการพบผู้ป่วยในช่วงแรก จากกรณีการเดินทางมาชมมวย และผู้ที่ทำงานสถานบันเทิง ซึ่งกลุ่มนี้มีบางส่วนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาแล้วแสดงอาการป่วย สองในระยะถัดมาเริ่มมีการติดเชื้อในพื้นที่ คืออยู่ในภูมิลำเนาไม่ได้เดินทางมากรุงเทพฯ จากการสอบสวนน่าจะติดจากคนที่กลับมาจากกรุงเทพ หรือผู้ที่เดินทางจากการระบาด

ขณะเดียวกันในการแถลงข่าว ณ ทำเนียบรัฐบาล โดย นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศอฉ.โควิด-19 ได้มีการแถลงข่าวมาตรการของรัฐบาลที่จะรับมือกับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละจังหวัด ที่กระจายไปใน 57 จังหวัด รวมถึงกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล เมืองท่องเที่ยวทางตะวันออก ภูเก็ต และสามจังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่เหล่านี้จะมีการยกระดับมาตรการเข้มข้นขึ้น ทั้งเรื่องของการปิดสถานที่บางแห่ง การคัดกรอง โดยเรื่องของยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ขาดแคลนนั้น นพ.ทวีศิลป์ชี้แจงว่า นายกฯมีการสั่งการให้กรมบัญชีลาง อย. และองค์การเภสัชกรรม รับผิดชอบในการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสามารถลดขั้นตอนทางกฎหมายบางประการได้เพื่อความสะดวก ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศก็ต้องการไม่ต่างกัน จึงมีความพยายามให้ไทยสามารถผลิตอุปกรณ์เหล่านี้เบื้องต้นในประเทศก่อน

ขณะนี้ยอดการสั่งซื้อหน้ากาก N95 และชุด PPE คาดว่าจะได้รับ 400,000 ชิ้นต่อผลิตภัณฑ์ในเร็ววันนี้ และจะรีบนำเข้าและกระจายไปโรงพยาบาลต่างๆ ส่วนเครื่องช่วยหายใจซึ่งเป็นที่ต้องการของประเทศฝั่งยุโรป ตอนนี้มีหลายประเทศจับมือกันเพื่อให้มีกำลังการผลิตเพียงพอต่อความต้องการ ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า