Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

‘สนธิ คชวัฒน์’ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมของไทย เตือน ‘ภาวะโลกร้อน’ ส่งผล เครื่องบินตกหลุมอากาศถี่ขึ้น ในปี 2050 เพิ่ม 2 เท่า อาจรุนแรงขึ้น 40%

จากกรณี เครื่องบินของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ เที่ยวบิน SQ 321 ขอลงจอดฉุกเฉินที่ สนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจาก มีผู้โดยสารบาดเจ็บจากเหตุเครื่องบินตกหลุมอากาศ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 67 ที่ผ่านมา ซึ่งต่อมาทาง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ยืนยันข้อมูล ณ เวลา 21.00 น. มีผู้โดยสารชาวต่างชาติ จำนวน 1 ราย เสียชีวิตบนเครื่อง และมีผู้โดยสารและลูกเรือที่ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 83 ราย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ในเฟซบุ๊กที่ใช้ชื่อว่า ‘Sonthi Kotchawat’ เมื่อวันที่ 21 พ.ค. 67 ระบุว่า โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไร ?

1. เครื่องบินที่บินในบริเวณซีกโลกตะวันตกหรือบินจากโลกตะวันตกมายังซีกโลกตะวันออก มีโอกาสที่จะตกหลุมออากาศบ่อยขึ้น เนื่องจากอุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น ทำให้ลมกรด หรือJet stream ซึ่งเป็นลมที่ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมการบินแปรปรวน

2. Jet Streams หรือลมกรด เป็นกระแสลมที่ไหลเวียนในระดับความสูงประมาณ 7.0 ถึง 16กม. เหนือจากพื้นโลกมีความเร็วสูงมากถึง 200-400 กม./ชม. เป็นลมที่พัดจากทิศตะวันตกมายังทิศตะวันออกของโลก ดังนั้นถ้าเครื่องบิน บินจากซีกตะวันตกมาทางซีกตะวันออก ก็ควรวางแผนการบินให้บินตามกระแสของ Jet stream จะทำให้มีความเร็วเพิ่มขึ้นช่วยประหยัดพลังงานและลดเวลาในการบินสั้นลง แต่หากจะบินจากตะวันออก มาทางตะวันตกก็ควรบินหลบ Jet stream ให้มากที่สุด เพราะจะสวนกระแสลมทำให้ใช้เวลาการบินมากขึ้น

3. อุณหภูมิในบรรยากาศของโลกที่สูงขึ้น เนื่องจากโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น ทำให้ลมกรด หรือ Jet stream ลดความเร็วลงในบางช่วง

มีงานวิจัยระบุว่า อุณหภูมิในบรรยากาศที่สูงขึ้นในแถบทวีปอาร์กติก ซึ่งร้อนขึ้นเกือบสี่เท่าของค่าเฉลี่ยทั่วโลก กำลังส่งผลให้กระแสลมกรด (jet stream) ซึ่งเป็นลมที่มีกำลังแรงพัดอยู่บนชั้นบรรยากาศในบางช่วงมีความเร็วลดลง ทำให้เกิดอากาศแปรปรวนในขณะที่อากาศปลอดโปร่ง (Clear Air Turbulance) มากขึ้น(ทั้งที่ไม่ได้บินผ่านเมฆหรือพายุ) เนื่องจากช่วงที่ความเร็วของลมกรดลดลง จะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศในช่วงบริเวณดังกล่าวบางลง ซึ่งทำให้เกิด “หลุมอากาศ” ขึ้น ในขณะที่เครื่องบินได้บินผ่านหลุมอากาศ แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้ตัวเครื่องตกลงไปในหลุมอากาศ ซึ่งจะตกมากหรือน้อยอยู่ที่ขนาดของความหนาแน่นของมวลอากาศ

4. นักวิจัย ชี้ว่าอัตราการเกิดหลุมอากาศจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าภายในปี 2050 และอาจมีเครื่องบินต้องเผชิญกับหลุมอากาศที่รุนแรงมากขึ้นถึง 40%

 

และในวันนี้ (22 พ.ค. 67) ดร.สนธิ ได้โพสต์ข้อความอีกครั้ง ระบุว่า เครื่องบินอาจตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น แม้บินอยู่ในท้องฟ้าที่ปลอดโปร่ง.. สัมพันธ์กับการที่โลกเข้าสูภาวะ “โลกเดือด”

1. โลกร้อนทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น 1.2 ถึง 1.4 องศาจากยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม ยิ่งระดับความสูงจากผิวโลกขึ้นไปเกือบ 20 กม. อุณหภูมิบรรยากาศยิ่งร้อนขึ้น จึงไปทำให้ลมระดับบนที่ระยะความสูงระหว่าง 7.0 ถึง 16 กม. จากผิวโลกที่เรียกว่าลมกรด หรือJet stream ซึ่งมีความเร็วเฉลี่ย 200 ถึง 400 กม.ต่อชม. และเคลื่อนที่จากซีกโลกตะวันตกไปยังตะวันออกมีความเร็วลดลงในบางช่วงบางขณะ ซึ่งจะทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณนั้นลดลงด้วย ทำให้เกิดความแปรปรวนของอากาศทั้งที่อากาศช่วงนั้นปลอดโปร่งไม่มีพายุหรือเมฆฝนใดๆ เรียกว่า Clear Air Turbulance หรือ CAT หากมีเครื่องบินบินผ่าน แรงยกจากปีกของเครื่องบินจะลดลงอย่างกะทันหันและเครื่องจะตกลงไปในมวลอากาศที่บางลง ซึ่งเรียกว่าการตกหลุมอากาศ (Air Pocket)

2.โลกร้อนขึ้น อุณหภูมิในบรรยากาศโลกสูงขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะเครื่องบินตกหลุมอากาศมากขึ้น ทั้งๆ ที่เครื่องบินบินอยู่ในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งได้ ซึ่งเรื่องนี้เกิดบ่อยขึ้น นักวิจัยในสหรัฐอเมริกาค้นพบว่า ตั้งแต่ปี 1979 ถึงปี 2020 มีเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น จากก่อนหน้านั้นถึงร้อยละ 55 และมีความสัมพันธ์โดยตรง กับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกบนพื้นโลกสู่บรรยากาศ ทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ

“…หากไม่ดำเนินการใดๆ ในปี 2050 อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะสูงขึ้นถึง 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งเรียกว่า “สภาวะโลกเดือด” อาจจะทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงมากขึ้นถึง 40% จากปี 2023 แม้ในขณะที่บินผ่านในบรรยากาศที่ปลอดโปร่งก็ตาม” ดร.สนธิ ระบุทิ้งท้าย

 

ภาพปก : เฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เที่ยวบิน SQ321 ‘สิงคโปร์แอร์ไลน์’ ขอลงจอดฉุกเฉินสุวรรณภูมิ ดับ 1 บาดเจ็บจำนวนมาก

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า