SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ผนึกกำลังภาคประชาสังคมแถลงข่าววันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล เป้าหมายหลังมีการแก้กฎหมายแล้วคือการขยายให้ผู้ตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์เข้าถึงทางเลือกการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยได้เสมอ

วันจันทร์ที่ 27 กันยายน มีการแถลงข่าวจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานเรื่องการยุติการตั้งครรภ์สากล ทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งแต่เวลา 13.00-15.30 น. ผ่านช่องทางออนไลน์

การแถลงข่าวนี้เริ่มจากการกล่าวถึงความพยายามถึงสามปีเต็ม ในการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการทำแท้งในประเทศไทยที่ใช้มานานกว่า 60 ปี ซึ่งได้ได้สำเร็จในปี 2564 ความพยายามดังกล่าวเกิดขึ้นโดนเริ่มจากพญ.ศรีสมัย เชื้อชาติ แพทย์อาสา RSA ที่ตัดสินใจร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความว่ากฎหมายอาญาที่ห้ามทำแท้งนั้นขัดต่อเสรีภาพทางร่างกายและความเท่าเทียมทางเพศหรือไม่ ซึ่งนำไปสู่การพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญในที่สุด

ในระหว่างการแถลงข่าว พญ.ศรีสมัย เชื้อชาติ แพทย์อาสา ได้ร่วมพูดคุยกับ สมวงศ์ อุไรวัฒนา จากสายปรึกษาเอดส์และท้องไม่พร้อม 1663 ที่ได้ให้บริการปรึกษาท้องไม่พร้อมมากกว่าหมื่นรายหลังการแก้ไขกฎหมายในปีนี้ และพบว่ากฎหมายที่มีการปรับแก้นั้น ยังไม่ครอบคลุมมิติด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะในช่วงวิกฤตโควิด19 ที่ส่งผลให้ทางเลือกของผู้หญิงคือยุติการตั้งครรภ์  สอกคล้องกับข้อเท็จจริงในประเทศอื่น ๆ ที่ปรากฎว่าแม้ว่าจะมีการปรับแก้กฎหมาย แต่ปัญหาหาและอุปสรรคในการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยยังคงดำรงอยู่ โดยเฉพาะทัศนคติของบุคคลและสังคม รวมทั้งระบบบริการสุขภาพที่เอื้ออำนวยยังไม่เต็มที่

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม กล่าวถึงความสำคัญของวันยุติการตั้งครรภ์สากล 2564 และการทำงานร่วมกันของภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาครัฐ ที่ทำให้บริการยุติการตั้งครรภ์ได้ยกระดับขึ้นเป็นบริการสุขภาพที่จำเป็นได้

ในลำดับถัดมา เป็นการแถลงข่าวพันธสัญญาต่อการพัฒนาสิทธิและการเข้าถึงบริการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย โดย นพ.พรเพชร ปัญจปิยะกุล จากกองบริหารการสาธารณสุข สำนักปลัด กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงบทบาทของศูนย์พึ่งได้ที่ให้บริการผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ความรุนแรงทางเพศ ท้องไม่พร้อม และการส่งต่อช่วยเหลือตามทางเลือกที่รวมถึงการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่าการสิทธิของยุติการตั้งครรภ์เป็นหนึ่งในสิทธิอนามัยการเจริญพันธุ์ที่นานาชาติให้การรับรอง คุณชาติวุฒิ วังวล ตัวแทนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงการสนับสนุนจากกองทุนฯ เพื่อพัฒนาระบบปรึกษา ดูแลท้องไม่พร้อม รวมทั้งบริการยุติการตั้งครรภ์ในประเทศไทย

สำหรับข้อท้าทายในอนาคต นพ.นิรันดร์ ชัยศรีสุขอำพร ตัวแทนจากสมาคมพัฒนาเครือข่ายอาสา RSA กล่าวถึงอุปสรรคในระบบบริการสุขภาพที่ไม่เอื้ออำนวย และแนวทางการพัฒนาบริการยุติการตั้งครรภ์แบบ New normal ในยุคหลังโควิด19 คุณปิยนุช โคตรสาร ตัวแทนจากแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย พูดถึงการต่อสู้เรื่องสิทธิทำแท้งของแอมเนสตี้ในระดับนานาชาติ ที่นำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในหลายๆ ประเทศ ข้อเรียกร้องและมุมมองต่อการขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิการทำแท้งในประเทศไทย และคุณสุไลพร ชลวิไล ตัวแทนจากกลุ่มทำทาง ได้ชี้ให้เห็นช่องว่างการเข้าถึงบริการ และข้อท้าทายในด้านทัศนคติของสังคมและบุคลากรในระบบบริการ ที่ยังคงต้องพัฒนาความเข้าใจเพื่อให้สิทธิการยุติการตั้งครรภ์เป็นไปได้อย่างแท้จริง

ในตอนท้าย รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงท้องไม่พร้อม ได้สรุปสาระสำคัญของการแถลงข่าวเนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล รวมทั้งก้าวต่อไปของประเทศไทยในการพัฒนางานเพื่อยุติการตายและบาดเจ็บจากการแท้งที่ไม่ปลอดภัยให้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไป พร้อมรับชมคลิป “ร่วมมือร่วมใจ #ให้การทำแท้งไม่ปลอดภัยจบที่รุ่นเรา” จากบุคคลของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมไทย

วันที่ 28 กันยายน ของทุกปี นานาชาติจัดให้เป็นวันยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัยสากล เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้สังคมโลกตระหนักต่อสิทธิของผู้หญิงในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ด้วยการกำจัดอุปสรรคต่างๆ ทั้งในด้านกฎหมาย ระบบบริการ และทัศนคติของสังคม ที่ทำให้ผู้หญิงเข้าไม่ถึงบริการจนเกิดการบาดเจ็บและตายจากการทำแท้งไม่ปลอดภัย ในปีที่ผ่านมาพบว่ามีความก้าวหน้าของการปรับแก้กฎหมายที่สำเร็จในหลายประเทศ เช่น อาเจนติน่า เกาหลีใต้ เอควาดอร์ ออสเตรเลีย รวมทั้งประเทศไทย

คำขวัญสำหรับการรณรงค์ในปี 2564 นี้ คือ Safe Abortion Is Essential Healthcare (ยุติการตั้งครรภ์คือบริการสุขภาพที่จำเป็น) โดยใช้แฮชแท็กในการรณรงค์ว่า #MakeUnsafeAbortionHistory (#ให้การแท้งไม่ปลอดภัยจบที่รุ่นเรา) เครือข่ายที่ทำงานเรื่องการเข้าถึงการทำแท้งปลอดภัยในประเทศไทย ได้จัดสัปดาห์เฉลิมฉลองสิทธิการทำแท้งระหว่างวันที่ 18 – 30 กันยายนนี้ โดยมีกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ การสัมมนาวิชาการ การเสวนาในประเด็นทำแท้ง และ การสื่อสารผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย รวมทั้งการแถลงข่าวเนื่องในวันยุติการตั้งครรภ์สากล

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า