SHARE

คัดลอกแล้ว

‘ทันตแพทย์ 1 คน ต่อ ประชากรบัตรทอง 9,150 คน’ คำอธิบายโดย ทันตแพทยสภา คล้ายเป็นคำตอบปิดจบ ของเหตุที่ผู้ป่วยคนหนึ่ง อาจต้องรอคิวทำฟันเทียมในโรงพยาบาลภาครัฐนานถึง 8 ปี

 

เรื่องราวขยายใหญ่ ว่าคิวรักษามีจำนวนจำกัด บางคนต้องไปรอรับบัตรคิว ตั้งแต่เที่ยงคืนวันก่อนหน้า โรงพยาบาลที่ถูกกล่าวถึงจึงต้องขยับตัว ไม่เท่านั้น ผู้ช่วย รมว.สาธารณสุข ยังลุยเคลียร์ทาง Fast track เอง เพียงข้ามวัน ผู้ป่วยได้เริ่มรักษาทันที แต่จะมีกี่คนที่ได้รับสิทธิลักษณะเช่นนี้

[พกบัตรประชาชนใบเดียว แต่ไม่ได้ใช้?]

ทราบกันดีว่า ตามสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือที่เรียกติดปากว่า บัตรทอง 30 บาท บริการทางด้านช่องปาก และทันตกรรม นับเป็นสิทธิประโยชน์หนึ่ง

ตัวอย่าง การตรวจช่องปาก ขัด และทำความสะอาดฟัน คือเรื่องพื้นฐานสำหรับทุกคน ก่อนจะมีการเพิ่มรายละเอียดตามช่วงวัย รวมถึงในกลุ่มผู้ใหญ่ ยังให้บริการคัดกรองรอยโรคเสี่ยงมะเร็งช่องปาก และช่องปาก

มากขึ้นหน่อย การรักษาทางทันตกรรม เช่น ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด รวมถึงการทำฟันปลอมพลาสติก ใส่รากฟันเทียม และจัดฟันในผู้มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่  ก็นับว่าเป็นสิทธิบัตรทองคุ้มครอง เว้นเพียง การเตรียมช่องปากเพื่อจัดฟัน หรือทำสิ่งที่ทันตแพทย์ประเมินแล้วว่าเกินจำเป็น ถึงจะไม่ได้รับการคุ้มครองถ้าไม่เข้าข่ายเหล่านี้ เพียงแสดงบัตรประชาชน ในสถานพยาบาลตามสิทธิ ก็เข้ารับบริการได้เลย

ทั้งนี้ การสำรวจของกรมอนามัย ปี 2566 พบว่า เด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี ที่เคยฟันไม่ผุอยู่ 55% เมื่ออายุเกิน 5 ปีไปแล้วกลับลดลงเหลือ 28% ส่วนเด็กนักเรียน อายุ 12 ปี มีเด็กที่ได้ทำฟันจริงเพียง 40.9% เท่านั้น

ดูเหมือนสถานการณ์ จะไม่เปลี่ยนไปจากปี 2561 เสียเท่าไหร่ ที่ทันตแพทยสภา เปิดเผย ข้อมูลด้านทันตกรรมคนไทย ที่ว่ามีคนไทยจำนวนมากที่เป็นโรคในช่องปาก ถึง 70-80% ส่วนเด็ก มีฟันผุถึง 50% แต่อัตราการเข้ารับบริการมีแค่ 8% เท่านั้น

[ทันตแพทย์ 1 คน ต่อ ประชากร 3,000 คน]

เมื่อเกิดกรณีผู้ป่วยที่ต้องรอคิวทำฟันเทียม นานถึง 8 ปี ทางทันตแพทยสภา จึงได้แสดงความกังวล และให้ข้อมูลไว้น่าสนใจ ระบุ การทำฟันเทียม จำเป็นต้องผ่านการเตรียมช่องปาก บางคนถึงขั้นผ่าตัดแต่งกระดูกร่วมด้วย ดังนั้นจะต้องใช้เวลานานพอสมควร

ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอน ส่งแล็บทันตกรรมผลิตฟันเทียมให้ผู้ป่วยแต่ละคน จึงต้องใช้ระยะเวลา และต้องนัดมาพบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่องกว่าจะมีฟันเทียมใช้งานได้ ดังนั้น จึงมีข้อจำกัดในการจัดสรรคิว ยังไม่ได้นับว่า โรงพยาบาลจัดสรรคิวในการให้บริการทันตกรรมอื่นๆ อีกด้วย เมื่อประกอบกับ ข้อมูลปัจจุบันประเทศไทยมีทันตแพทย์อยู่ประมาณ 22,000 คน หรือคิดเป็น ทันตแพทย์ 1 คน ต่อ ประชากร 3,000 คน ที่ดูเหมือนจะเหมาะสม แต่เมื่อคิดเฉพาะสัดส่วนของผู้ป่วยที่มีสิทธิบัตรทองต่อทันตแพทย์ ที่อยู่ในสังกัดของโรงพยาบาลของรัฐ สถานการณ์ไม่ได้เป็นเช่นนั้น

“ทันตแพทย์จะต้องดูแลผู้ป่วยบัตรทองในสัดส่วนที่สูงมาก เช่น ในจังหวัดที่เป็นข่าวดังกล่าว สัดส่วนจะอยู่ที่ ทันตแพทย์ 1 คน ต่อ ประชากรบัตรทอง 9,150 คน หรือมากกว่าสัดส่วนที่ควรจะเป็นอยู่ที่ประมาณ 3 เท่า”

ทันตแพทยสภา ชี้ว่า ตัวเลขเหล่านี้ บ่งบอกถึงการมีจำนวนทันตแพทย์ สำหรับรองรับผู้ป่วยสิทธิบัตรทองที่ยังมีไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดปัญหาการรอคิวในการทำฟันในระยะเวลาที่นาน การใช้บริการคลินิกทันตกรรมเอกชน จึงเป็นคำแนะนำและทางเลือกหนึ่ง

[50% ทำฟันที่คลินิกเอกชน]

ต้นปี 2568 นี้เอง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงหัตถการช่องปากที่คนไทย ที่นิยมเข้ารับการรักษาที่คลินิกเอกชน ราว 50% รองลงมา คือ โรงพยาบาลรัฐ 20% และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) อีก 10%

หากลองเปรียบเทียบอัตราค่าบริการ อย่างการถอนฟัน ที่โรงพยาบาลรัฐคิดอัตรา 200-350 บาท เอกชนจะอยู่ที่ 600-2,000 บาท หรือการผ่าตัดฟันคุด 380-1,000 บาท เอกชน ก็อาจคิดอัตราราว 2,500-5,000 บ.

อย่างไรก็ดี ด้วยข้อจำกัดที่เข้าไม่ถึง เนื่องจากการไปโรงพยาบาลรัฐมีคิวบริการนาน สิทธิรับบริการบางอย่างไม่ครอบคลุม จนต้องร่วมจ่าย และเวลาทำการก็จำกัด โดยค่าใช้จ่ายต่อครั้งอยู่ที่ประมาณ 909 บาท 

ทำให้หลายคนมองว่า หากต้องเข้ารับบริการสักครั้ง คลินิกหรือโรงพยาบาลเอกชน ยังเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าอยู่ดี

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า