SHARE

คัดลอกแล้ว

ศาลปกครองสูงสุดพิพากษา เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงาน ที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 มกราคม 2552 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ลงโทษปลดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากราชการ และคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม โดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่คำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลบังคับ

Thailand’s acting prime minister, Somchai Wongsawat (R), gestures next to Army Chief General Anupong Paojinda (L) during a press conference at Thai Royal Armed Force headquarters in Bangkok on September 14, 2008. Thailand’s caretaker government lifted a state of emergency in the capital, nearly two weeks after it was declared following clashes between pro and anti-government protesters. AFP PHOTO/PORNCHAI KITTIWONGSAKUL (Photo by PORNCHAI KITTIWONGSAKUL / AFP)

ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา เพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงานที่ 39/2552 ลงวันที่ 21ม.ค. 52 ที่ลงโทษปลดนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดกระทรวงแรงงานในขณะนั้นออกจากราชการ รวมทั้งเพิกถอนมติการประชุม อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 9/2551 เมื่อวันที่ 19ธ.ค. 51 เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม เรื่องดำ 5210006 เรื่องแดงที่ 0012155 และเพิกถอนมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 ที่ลงมติว่านายสมชายกระทำผิด

คดีนี้นายสมชาย ยื่นฟ้องกระทรวงแรงงาน, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน, คณะอนุกรรมการสามัญประจำกระทรวงแรงงาน (อ.ก.พ. กระทรวงแรงงาน),คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-5 กรณีกระทรวงแรงงานมีคำสั่งที่ 39/2552 ลงวันที่ 21 ม.ค. 2552 ลงโทษปลดนายสมชายออกจากราชการ โดยอ้างว่าเหตุปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง จากเหตุขณะดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงยุติธรรมพิจารณาสั่งระงับเรื่องไม่ดำเนินคดีกับ นายประมาณ ตียะไพบูลย์สิน อดีตอธิบดีกรมบังคับคดี และนายมานิตย์ สุธาพร อดีตรองอธิบดีกรมบังคับคดี ที่ไม่เรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม 70 ล้านบาท จากการขายทอดตลาดที่ดินของศาลจังหวัดธัญบุรี ทั้งที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเห็นว่าการคืนเงินดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้ทางราชการเสียหาย

ส่วนที่ศาลมีคำสั่งเพิกถอนให้เหตุผลว่า ตามพ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตบัญญัติว่า คณะกรรมการป.ป.ช. มีอำนาจหน้าที่ไต่สวนและวินิจฉัยเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดการทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อหน้าที่ราชการ หรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเท่านั้น ไม่รวมถึงการกระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นความผิดทางวินัยตามพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 อีกทั้ง พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 มิใช่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และเป็นกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ การที่ป.ป.ช.ใช้อำนาจตาม พ.ร.ป ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 2542 ชี้มูลว่านายสมชาย กระทำความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงจึงไม่มีอำนาจกระทำได้ เมื่อป.ป.ช.ไม่มีอำนาจไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลความผิดของนายสมชาย

ดังนั้น มติของป.ป.ช.ในการประชุมครั้งที่ 61/2551 ลงวันที่ 16 ต.ค.2551 จึงมิชอบด้วยกฎหมายและไม่มีผลผูกพันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่จะถือเอารายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงและความเห็นของป.ป.ช. มาเป็นสำนวนสอบสวนทางวินัย ของคณะกรรมการสอบสวนวินัย ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนตามมาตรา 92 วรรคหนึ่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 2542 หากแต่จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนนายสมชาย ตามที่ป.ป.ช.มีมติว่ากระทำความผิดถามประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เพื่อให้นายสมชาย เป็นผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาและมีโอกาสชี้แจงและมีโอกาสชี้แจง แก้ข้อกล่าวหาตามขั้นตอน

แต่เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีคำสั่งกระทรวงแรงงานลงโทษปลดนายสมชาย ออกจากราชการ ตามมติป.ป.ช.ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง คำสั่งทางวินัยดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนวิธีการที่เป็นสาระสำคัญในการลงโทษทางวินัยอย่างร้ายแรงแก่ข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 102 ของพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน 2535 จึงย่อมมีผลทำให้การที่คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมมีคำวินิจฉัยยกอุทธรณ์ของนายสมชาย ด้วยเหตุเดียวกันไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จึงมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกระทรวงแรงงาน และคำสั่งอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้มีผลย้อนหลังนับแต่วันที่คำสั่ง และคำวินิจฉัยดังกล่าวมีผลบังคับ

รายละเอียดคำวินิจฉัย คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า