SHARE

คัดลอกแล้ว
จากกรณีที่รัฐบาลเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกร เดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่ พ.ค.-ก.ค. 63 ตั้งงบประมาณไว้ 150,000 ล้านบาท เพื่อเยียวยาเกษตรกรไม่เกิน 10 ล้านราย โดยใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท
 
 
หลังจากตรวจสอบข้อมูลและการลงทะเบียนแล้ว มีจำนวน 8.33 ล้านราย หักลงทะเบียนซ้ำซ้อนแล้วเหลือ 6,773,517 ราย
 
 
อย่างไรก็ตาม ในส่วนที่ลงทะเบียนซ้ำซ้อนพบว่า เป็นกรณีของข้าราชการที่ทำอาชีพเกษตรกรรมด้วย โดยเป็นข้าราชการที่ยังทำงานอยู่ในปัจจุบัน 91,426 ราย และข้าราชการบำนาญ 84,471 ราย
 
 
คำถามคือ คนกลุ่มนี้จะเข้าข่ายได้รับเงินเยียวยา 5 พันบาทด้วยหรือไม่ เพราะตอนที่เริ่มโครงการ “เราไม่ทิ้งกัน” ซึ่งเยียวยาให้กับผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีการย้ำอยู่ตลอดว่า กลุ่มข้าราชการทั้งที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่และที่รับเงินบำนาญจะไม่ได้สิทธิ์ด้วย
 
 
แต่สำหรับกรณีของข้าราชการที่ยังทำงานอยู่และทำเกษตรไปด้วยมีการระบุว่า ได้ 5,000 บาทด้วย แต่ข้าราชการบำนาญจะไม่ได้
 
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ เมื่อวันที่ 20 พ.ค.ว่า มีการสอบถามมาว่าข้าราชบำนาญไปทำการเกษตรเข้าเกณฑ์เยียวยาหรือไม่ ตนได้สอบถามไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้คำตอบว่า ข้าราชการบำนาญ มีระบบรองรับดูแลช่วยเหลือแล้ว ดังนั้นจะไม่ได้เงินจากโครงการเยียวยา ซึ่งนายอลงกรณ์แนะนำให้ใช้สิทธิ์อุทธรณ์
 
 
“ผมได้ให้คำแนะนำว่าให้ท่านได้ยื่นอุทธรณ์ เพราะว่ามันมีประเด็นเหมือนกันว่า ในส่วนของข้าราชการประจำแล้วเป็นเกษตรกรด้วย แต่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกร มี Farmbook แล้วทำเกษตรจริงอันนี้ได้ เพราะฉะนั้นก็จะมีคำถามว่าแล้วถ้าเป็นข้าราชการบำนาญแล้วทำเกษตรจริง ขึ้นทะเบียนจริง ทำไมไม่ได้ อันนี้ผมคิดว่าถ้าท่านประสงค์จะทวงสิทธิ์ก็ขอให้ยื่นอุทธรณ์”
 
 
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเช่นกัน โดยโพสต์ในเฟซบุ๊ก เมื่อวันที่ 21 พ.ค.ว่า ได้รับการร้องเรียนจากข้าราชการบำนาญที่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และได้ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรด้วยว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงขอทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการเรียกร้องให้คณะรัฐมนตรีได้ทบทวนมติ เพื่อเห็นชอบให้ข้าราชการบำนาญที่เป็นเกษตรกร มีสิทธิ์เช่นเดียวกับข้าราชการประจำที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกร
 
 
เพราะจากข้อเท็จจริงข้าราชการบำนาญที่ประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ควรจะมีสิทธิ์ได้รับการเยียวยาจากโครงการการเยียวยาเกษตรกรของรัฐบาลมากกว่าด้วยซ้ำไป เพราะประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรได้เต็มเวลา ส่วนข้าราชการประจำใช้เวลาทำเกษตรกรรมเป็นงานอดิเรกหรืออาชีพเสริม
 
 
ข้าราชการบำนาญ ได้รับเงินเดือนบำนาญน้อยไม่พอเลี้ยงชีพถ้าหากไม่ทำอาชีพเป็นเกษตรกรด้วย ส่วนข้าราชการประจำได้รับเงินเดือนประจำแล้ว ยังมีเงินประจำตำแหน่ง ค่ารับรอง และสวัสดิการอื่นๆ
 
 
และข้าราชการบำนาญ ส่วนใหญ่จะอยู่ในวัยชรา ไม่สามารถที่จะช่วยเหลือตัวเองได้มากนัก ส่วนข้าราชการประจำ ยังอยู่ในวัยสามารถทำงานและช่วยเหลือตัวเองได้เต็มที่
 
 
นายเทพไท กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการเยียวยาผู้ได้รับเงินเดือนจากรัฐบาล แต่เมื่อรัฐบาล มีมติ ครม.เยียวยาให้ข้าราชการที่ลงทะเบียนเป็นเกษตรกรได้ ก็ควรจะเยียวยาให้กับข้าราชการบำนาญที่ลงทะเบียนเป็นเกษตรกรด้วย
ฟังนายอลงกรณ์ ตอบคำถาม ช่วงนาทีที่ 52

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า