Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ก่อนหน้านี้ ‘ไมโครซอฟท์’ ได้เผยแผนความร่วมมือกับประเทศไทย หนึ่ง คือ เตรียมพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ อีกหนึ่ง คือ พัฒนาทักษะ AI ให้คนไทย ตั้งเป้าช่วยอัปสกิลรีสกิลคนไทย 10 ล้านคน โดยวางแผนนำร่อง 1 แสนคนก่อนในช่วงแรก และตอนนี้ไมโครซอฟท์ก็มีความคืบหน้ามาเล่าแล้ว

อุตสาหกรรมแรกที่ ‘ไมโครซอฟท์’ ปักหมุดสนับสนุน คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการ ‘AI Skills for AI-enabled Tourism’ เน้นยกระดับทักษะ-แนะนำแนวทางการประยุกต์ใช้นวัตกรรม AI อย่างเช่น Microsoft Copilot, Microsoft Designer หรือแอปตัดต่อวิดีโอ Clipchamp เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยว

ตั้งแต่ช่วยพัฒนาชิ้นงานประชาสัมพันธ์ ช่วยสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ช่วยนำเสนอไอเดียใหม่ๆ ช่วยออกแบบคอนเท้นต์สนับสนุนการท่องเที่ยวที่เหมาะกับกลุ่มนักท่องเที่ยวที่หลากหลายแตกต่างกัน

ไมโครซอฟท์ได้เริ่มนำร่องหลักสูตรแรกของโครงการให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่แรกอย่าง ‘ตำบลอู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี’ ร่วมกับองค์กรอย่างองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.)

เบื้องต้น ‘ดรุณี วิริยะเอี่ยมพิกุล’ เจ้าหน้าที่พัฒนาพื้นที่พิเศษ อพท. อู่ทอง ให้ข้อมูลว่า ‘เมืองโบราณอู่ทอง’ เป็นพื้นที่ส่งเสริมที่เล็กที่สุดของ อพท. แต่เป็นพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์นับพันปีและมีชุมชนที่ตั้งรกรากกันมานานกว่าร้อยปี มีอัตลักษณ์และวัฒนธรรมเฉพาะถิ่นที่น่าสนใจและมีแหล่งท่องเที่ยวโบราณที่น่าสนใจ พร้อมพัฒนาให้สามารถต้อนรับนักท่องเที่ยวอยู่แล้ว

‘ประยูร อสัมภินพงศ์’ ประธานชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองโบราณทวารวดี เล่าว่า ชมรมเกิดจากการรวมตัวของ 25 ชุมชนที่มีความสามารถในการทำการท่องเที่ยวในอำเภออู่ทองในปี 2556 ด้วยการนำของ อพท. โดยชมรมทำหน้าที่บริหารจัดการและช่วยแบ่งรายได้ให้กับชุมชนที่มีความสามารถในการสร้างรายได้ในการท่องเที่ยว โดยการเข้ามาของไมโครซอฟท์ช่วยเปิดทางให้ชมรมเห็นโอกาสที่ไม่เคยรู้มาก่อน

สำหรับผู้เรียนตัวจริง ‘ษรณารินทร์ บุญอำไพไชยกุล’ เหรัญญิกชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเมืองโบราณทวารวดีอู่ทอง อธิบายว่า ก่อนหน้านี้ชมรมเคยพยายามจะสร้างเว็บไซต์นำเสนอโปรแกรมการท่องเที่ยวมาแล้ว แต่ที่ผ่านมาแค่เริ่มก็รู้สึกว่ามันยากมาก ทำให้รู้สึกท้อและไม่อยากทำต่อ ถ้าต้องจ้างก็เสียเงินจำนวนมากและสื่อสารกันไม่เข้าใจ

แต่เนื้อหลักสูตร AI ของไมโครซอฟท์ที่ร่วมกับมูลนิธิคีนันแห่งเอเชียใช้ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 1 วันในการเรียน ทำให้ทุกคนในชมรมสามารถทำความเข้าใจกับการ ‘เจน AI’ สร้างคอนเท้นต์และกราฟิก จนถึงขั้นใช้ Sway ทำเว็บไซต์ ทำให้ชมรมมีตัวตนในโลกออนไลน์อีกครั้ง

‘ครองขวัญ แสวงหา’ ตัวแทนวิสาหกิจชุมชนบ้านตำนานดิน ก็แบ่งปันประสบการณ์การใช้ AI สร้างวิดีโอประชาสัมพันธ์ว่า สามารถสร้างคอนเท้นต์วิดีโอได้ง่าย ตั้งแต่สคริปต์วิดีโอ ภาพประกอบ เสียงประกอบ เพลงประกอบ และสร้างออกมาเป็นวิดีโอพร้อมกับการประชาสัมพันธ์

[ เนื้อหาการเสริมทักษะทางด้าน AI ของไมโครซอฟท์ ] ประกอบด้วย
– Microsoft Copilot ช่วยงาน AI เบื้องต้น
– Microsoft Designer ช่วยงานกราฟิกดีไซน์และคอนเท้นต์
– Clipchamp ช่วยงานตัดต่อวิดีโอ
– Sway ช่วยสร้างเว็บไซต์และเอกสารการตลาดต่างๆ

แผนต่อไปของไมโครซอฟท์ คือ นำเนื้อหาจากการเรียนการสอนไปเผยแพร่และขยายขอบเขตของโครงการออกไปผ่านเครือข่ายพันธมิตรด้านการเสริมสร้างทักษะของไมโครซอฟท์ทั่วไทย

โดยตั้งเป้าทักษะให้แก่ผู้ประกอบการรุ่นใหม่จำนวน 70,000 รายที่เกี่ยวข้องอยู่ในธุรกิจท่องเที่ยวในเมืองรองทั่วทั้ง 5 ภูมิภาคของประเทศไทย

[ เครือข่ายพันธมิตรด้านการเสริมสร้างทักษะ ] ได้แก่

– สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
– กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
– สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล
– กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
– สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
– องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
– การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
– สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
– โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
– สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

‘สุภารัตน์ จูระมงคล’ ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมเพื่อสังคมประจำภูมิภาคอาเซียนของไมโครซอฟท์ กล่าวว่า “ไมโครซอฟท์เชื่อมั่นในพลังของเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงและสร้างโอกาสให้กับทุกคนผ่านแผนยกระดับทักษะด้าน AI ให้บุคลากรในภูมิภาคอาเซียน

สำหรับประเทศไทยชูโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry ช่วยปลดล็อกความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้ธุรกิจด้านบริการและการท่องเที่ยว ให้สามารถก้าวข้ามข้อจำกัดที่มีอยู่เดิม และสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นให้กับนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ”

ด้านภาพใหญ่ของโครงการ ‘โอม ศิวะดิตถ์’ National Technology Officer ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ให้ภาพว่า ไมโครซอฟท์ไม่ได้มีแค่หลักสูตรนำร่องอย่าง AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry เท่านั้น แต่ยังมีเว็บไซต์เปิดให้คนทั่วไปดูเนื้อหาจากการเรียนการสอนได้ด้วยตัวเอง รวมถึงเตรียมขยายออกไปสู่ชุมชนท่องเที่ยวอื่นๆ และกลุ่มสถานศึกษาอาชีวะด้วย

ตอนนี้ ไมโครซอฟท์เปิดให้ผู้สนใจในโครงการ AI Skills for the AI-enabled Tourism Industry สามารถค้นหาข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดของโครงการได้ที่ AI Teach: AI Skills for AI-enabled Tourism Industry in Thailand และยังเปิดให้คนทั่วไปดูเนื้อหาจากการเรียนการสอนในโครงการผ่านทางเครือข่ายพันธมิตรด้านการเสริมทักษะทั่วไทยของไมโครซอฟท์ ได้แก่

– สถาบันพัฒนาบุคลากรดิจิทัล (DiSDA) สังกัดกรมพัฒนาฝีมือแรงงานภายใต้กระทรวงแรงงาน
– สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ภายใต้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
– สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า