Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาของการพัฒนาเมือง เป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาถกเถียงทั้งในเวทีสาธารณะและเวทีระดับประเทศ การพัฒนาเมืองถือเป็นเรื่องสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงการก้าวสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และเป็นตัวชี้วัดว่าประเทศนั้นมีแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต การสร้างนวัตกรรม การลดปัญหาประชากรว่างงาน และเป็นเมืองที่ดึงดูดการลงทุนในอนาคต

รวมถึงมิติเชิงสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาเมืองที่ดีและมีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นตามไปด้วย การเข้าใจความหลากหลายของเมืองในแต่ละพื้นที่เป็นเรื่องที่ท้าทายของการบริหารจัดการเป็นอย่างมาก เพราะบริบทปัญหาของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน การบูรณาการข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยใช้ฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (Big Geo-Spatial Data) จึงเป็นหัวใจสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาเมืองได้อย่างยั่งยืน

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ จุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมือง

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมีบทบาทในด้านการพัฒนาพื้นที่ในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ความหลากหลายซับซ้อนของพื้นที่ถูกรวบรวมเป็นข้อมูลและจัดวางให้อยู่ในรูปแบบของแผนที่ ครอบคลุมด้านต่างๆ ตั้งแต่ขอบเขตการปกครอง ผังเมือง โครงข่ายสาธารณูปโภค เส้นทางการคมนาคม แหล่งชุมชน แหล่งท่องเที่ยว พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่สาธารณะ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ไปจนถึงเส้นทางระบายน้ำและระบบป้องกันน้ำท่วม ให้สามารถเห็นรูปแบบความสัมพันธ์ของแต่ละปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้

พร้อมทั้งเห็นความเชื่อมโยงของปัญหา เพื่อการวางแผนบริหารจัดการพื้นที่เมืองที่มีความซับซ้อนและแตกต่าง วิเคราะห์การจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และวางผังเมืองแบบองค์รวมได้อย่างเหมาะสม ซึ่งหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญโดยตรงในฐานะต้นทางของแหล่งข้อมูลสำคัญอย่าง GISTDA หรือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) มีคลังข้อมูลเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่ (Big Geo-Spatial Data)ซึ่งได้จากเทคโนโลยีจากภาพถ่ายดาวเทียมมาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางแผนและจัดทำแนวนโยบาย การบริหารจัดการเชิงพื้นที่หรือการพัฒนาให้สอดรับกับพื้นที่นั้นๆ ต่อไป

AIP นวัตกรรมภูมิสารสนเทศ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่

Actionable Intelligence Policy หรือ AIP Platform ที่ GISTDA กำลังมุ่งมั่นพัฒนา เป็นนวัตกรรมเชิงนโยบายในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ โดยหลอมรวมข้อมูลจากหลายแหล่ง มาประมวลผล วิเคราะห์ และคาดการณ์แนวโน้ม ร่วมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทั้ง Artificial Intelligence (AI) และ Machine Learning เพื่อค้นหาและสกัดข้อมูลเชิงลึกบนพื้นที่และประชากรเป้าหมาย สร้างการตัดสินใจเชิงนโยบายบนหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-Based Decision Making) เพื่อออกแบบแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม ตอบโจทย์การแก้ปัญหาเชิงพื้นที่ และนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

ปัจจุบัน AIP Platform ได้ดำเนินการในพื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ต่างกันไป ประกอบไปด้วย การแก้ไขปัญหาความยากจน เหลื่อมล้ำ ขาดแคลนที่ดินทำกิน และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของจังหวัดน่าน และการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ รวมทั้งการจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ EEC โดยจะขยายการประยุกต์ใช้ประโยชน์ไปยังพื้นที่อื่นๆ ในอนาคต

EEC พื้นที่นำร่องใช้เทคโนโลยี AIP สู่การพัฒนาเมือง

พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นับว่าเป็นหนึ่งพื้นที่ศักยภาพสูงของประเทศ และถูกกำหนดให้เป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่เชิงยุทธศาสตร์ ทั้งในด้านของการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการพัฒนาพื้นที่ชุมชน และเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและสมดุลกันในการพัฒนาทุกมิติ นวัตกรรม AIP จึงถูกนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากหลายแหล่งที่มีความซับซ้อน สกัดเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีความน่าเชื่อถือ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจที่จะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติได้จริง

GISTDA และหน่วยงานพันธมิตรได้ร่วมออกแบบกรอบแนวคิดในการพัฒนาที่เรียกว่า ‘Land of 5 Zero’s’ เพื่อขจัด 5 ปัญหาอุปสรรคในพื้นที่ให้หมดไป หรือเบาบางลงจนไม่ส่งผลกระทบ อันประกอบด้วย ความยากจนของประชาชน (Zero Poverty) การขาดทรัพยากรน้ำ (Zero Water Shortage/Conflict) ปัญหาขยะ (Zero Waste) ปัญหามลพิษ (Zero Emission/Pollution) และ การกัดเซาะชายฝั่ง (Zero Loss of Shoreline) โดยมุ่งเน้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน บนพื้นฐานของความยั่งยืน

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า