Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นอกจากกำลังจะเปลี่ยนชื่อจาก ‘airasia Superapp’ เป็น ‘airasia MOVE’ เร็วๆ นี้กับแพลตฟอร์มซูเปอร์แอปด้านการเดินทางและการท่องเที่ยวในเครือ airasia อย่าง ‘airasia Superapp’

‘airasia Superapp’ ยังมีอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ หลังจากได้เปิดตัวแอปพลิเคชันในประเทศไทยพร้อมกับบริการแรกอย่าง ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ เมื่อเดือน ส.ค. 2564 ล่าสุด ‘airasia Superapp’ ได้เลิกทำเดลิเวอรี่เองแล้ว

โดยได้ปรับมาจับมือกับ ‘foodpanda’ แพลตฟอร์มจัดส่งอาหารและของกินของใช้ใน ‘ประเทศไทย’ ตามที่ได้ประกาศมาตั้งแต่เดือน พ.ค. ที่ผ่านมา

‘airasia Superapp’ ให้เหตุผลว่า แพลตฟอร์มมุ่งเน้นในการเป็นแพลตฟอร์มการเดินทางแบบครบวงจร ตั้งแต่การจองเที่ยวบิน จองโรงแรมที่พัก การจองบริการเรียกรถยนต์รับส่ง การช้อปปิ้งสินค้าปลอดภาษี ตลอดจนมอบประสบการณ์การรับประทานอาหาร ดังนั้น การจับมือกับ ‘foodpanda’ จึงเป็นการตอกย้ำจุดแข็งของทั้งสองแพลตฟอร์ม

ถ้าผู้ใช้งาน ‘airasia Superapp’ สามารถกดเลือกไอค่อน ‘foodpanda’ จากบนแพลตฟอร์มของ ‘airasia Superapp’ ได้เลย และแอปพลิเคชันจะย้ายผู้ใช้ไปสู่แพลตฟอร์มของ ‘foodpanda’ เพื่อสั่งอาหารทันที ไม่ได้เป็นการทำรายการบนแพลตฟอร์ม ‘airasia Superapp’ แต่อย่างใด

แต่ผู้ใช้งาน ‘foodpanda’ ก็จะสามารถเข้าถึงบริการอื่นๆ อย่างเช่นเรียกรถโดยสาร airasia ride ของ ‘airasia Superapp’ จาก ‘ไอค่อน’ บนแอปพลิเคชันเลยเช่นกัน

‘เบนจี ลิม’ หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์พันธมิตรทางธุรกิจและพัฒนาตลาดต่างประเทศ airasia Superapp กล่าวว่า เมื่อผู้ใช้งาน foodpanda ใช้บริการเรียกรถยนต์รับส่งจาก airaisa ride ทุก ๆ 15 บาท จะได้รับ 1 คะแนน airasia points ผ่านแอปและสามารถนำมาใช้แทนเงินสดสำหรับใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการบน airasia Superapp ได้

ส่วนอีกฝั่ง ‘ศิริภา จึงสวัสดิ์’ CEO ของ foodpanda ประเทศไทย กล่าวว่า “foodpanda ได้ให้บริการในประเทศไทยมากว่า 11 ปี เรามี 2 เป้าหมายหลักจากการร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้

เรื่องแรกคือมอบประสบการณ์การบริการที่ครบครันและไร้รอยต่อให้กับลูกค้าปัจจุบันของทั้ง airasia Superapp และ foodpanda

เรื่องที่สองคือการขยายฐานลูกค้าใหม่ ซึ่งแน่นอนว่าความร่วมมือครั้งนี้จะทำให้เกิด Ecosystem ทางธุรกิจที่สมบูรณ์และยั่งยืนมากขึ้น โดยความร่วมมือนี้ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้เริ่มต้นที่มาเลเซียในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา”

ทั้งนี้ บริษัท แอร์เอเชีย ซูเปอร์แอพ (ประเทศไทย) จำกัด จดทะเบียนจัดตั้งในเดือน เม.ย. 2561 มีงบย้อนหลัง 3 ปี ดังต่อไปนี้

ปี 2563 รายได้ 235 ล้านบาท ขาดทุน 565 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 130 ล้านบาท ขาดทุน 432 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 10 ล้านบาท ขาดทุน 172 ล้านบาท

เดิมตอนเปิดตัว airasia Superapp ได้เริ่มให้บริการลูกค้าในกรุงเทพก่อน 4 พื้นที่ ได้แก่ ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว และห้วยขวาง โดยตั้งเป้าว่าจะขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วกรุงเทพในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนสมรภูมิ ‘ฟู้ดเดลิเวอรี่’ ในประเทศไทยที่ยังคงดุเดือดท่ามกลางเจ้าตลาดที่คนไทยคุ้นชินจะไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับน้องใหม่ที่อยากจะเข้ามาในตลาด และอาจจะเป็นเช่นเดียวกันกับใน ‘มาเลเซีย’ ที่ airasia Superapp ก็ถอยไปจับมือกับ foodpanda แล้วเช่นกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า